ก่อนสอด “บัตร ATM” กด Cancel 2 ครั้งป้องกันมิจฉาชีพจริงหรือ

บัตร ATM

ก่อนสอด "บัตร ATM" โซเชียลแห่เตือนภัยให้กด Cancel 2 ครั้ง เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ยืนยันเป็นข้อมูลเท็จ

“บัตร ATM” บัตรเอทีเอ็มเตือนภัย 2565 มิจฉาชีพ ธนาคาร มิจฉาชีพได้ข้อมูลส่วนตัว แฮก บัตรเอทีเอ็ม หยุดส่งต่อความเชื่อผิด ๆ หลังชาวเน็ตแห่แชร์ข้อมูลว่า กด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตรเอทีเอ็มจะได้ป้องกันมิจฉาชีพ งานนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ยืนยันเป็นข้อมูลเท็จ การกด Cancel ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาปลอดภัยแต่อย่างใด ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand ของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้ระบุข้อความว่า ตามที่มีข้อความเผยแพร่ในประเด็นเรื่องกด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตร ATM เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

 

กรณีเตือนภัยเรื่องการเงินโดยระบุแนะนำว่าให้กด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตรเอทีเอ็มเพื่อป้องกันการสกิมเมอร์ของมิจฉาชีพ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงประเด็นนี้ว่าข้อมูลดังกล่าวมีการเผยแพร่มาก่อนหน้านี้หลายปีและถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำเพื่อสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนอีกครั้ง

 

 

บัตร ATM

 

 

โดยจากการตรวจสอบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่ง พบว่าไม่เป็นความจริง การกด Cancel 2 ครั้งก่อนสอดบัตร ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของกระบวนการทำงานบนระบบเอทีเอ็มแต่อย่างใด 

 

เนื่องจากสกิมเมอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จากภายนอก มีกระบวนการหลัก ๆ 2 อย่าง คือ ดักข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม และดักรหัสบัตร โดยการทำปุ่มกดปลอม และเครื่องอ่านบัตรปลอมขึ้นมา แล้วนำไปประกบทับกับอุปกรณ์ของจริงบนตู้เอทีเอ็ม โดยเครื่องอ่านบัตรปลอมจะอ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็กบนตัวบัตร แล้วคัดลอกข้อมูลลงในหน่วยความจำ

 

 

บัตร ATM

 

 

 

และเมื่อผู้ถือบัตรเอทีเอ็ม ใช้เครื่องกดเงินที่มีการติดตั้งสกิมเมอร์ เพื่อทำรายการถอนเงิน ข้อมูลของบัตรนั้นจะถูกบันทึกไว้ และถูกส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของมิจฉาชีพทันที ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลที่ขโมยได้ไปใช้ทำเอทีเอ็มปลอม เพื่อทำรายการถอนเงิน โดยวิธีป้องกันมิจฉาชีพที่ได้ผลคือ หมั่นสังเกตบริเวณช่องสอดบัตร และแป้นกดตัวเลขว่ามีอะไรแปลกปลอมมาครอบทับหรือไม่ หากมีสิ่งผิดปกติไปจากเดิมควรหลีกเลี่ยงและแจ้งหน่วยงานธนาคารนั้น ๆ

 

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 1213

 

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การกด Cancel 2 ครั้งก่อนสอดบัตร ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ กระบวนการทำงานบนระบบ ATM แต่อย่างใด

 

 

บัตร ATM

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Anti-Fake News Center Thailand

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

TikTok กลับมาให้บริการในสหรัฐฯแต่อนาคตยังอึมครึม
ทรัมป์ประกาศจะหยุดความตกต่ำของอเมริกา
"ทบ.โดยขกท." ประสานร่วมมือหน่วยงานปราบยาเสพติด เร่งจับกุมผู้ค้ายาเสพติด
เหวอทั้งเวที “ทักษิณ” หาเสียงมหาสารคาม สาวอดีตเสื้อแดงเขวี้ยงขยะใส่ อ้างทำชีวิตพัง
ปธน.ยุนถูกส่งเข้าห้องขังที่เรือนจำเกาหลีใต้
“รัฐบาล” โอนเงินเยียวยาน้ำท่วมพุธนี้อีก 6.7 หมื่นครัวเรือน ด้าน ศปช. รายงานลมหนาวปีนี้อยู่ยาวถึงกุมภาพันธ์
CPF จัดเต็มของไหว้ตรุษจีน 'ปีมะเส็ง เฮง รวย ปัง' เสิร์ฟผลิตภัณฑ์คุณภาพ เสริมมงคลตามธาตุประจำ 12 นักษัตร
จับโกหก “แสตมป์” อ้างนายพลขู่ยัดคดี 112 พบสารภาพเอง มีหลักฐานเป็นแชท
“สิรภพ” ผู้ช่วยฯรมว.แรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการ "ซ่อม สร้าง สุข กรมพัฒน์จัดให้" ฟื้นฟูช่วยผู้ประสบอุทกภัย ฝึกอบรมหลักสูตร ผู้ประกอบอาหารไทยฮาลาล
"ทักษิณ" ย้ำว่าตามกม.เพิกถอนสิทธ์ "อัลไพน์" มั่นใจได้ที่ดินมาโดยสุจริต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น