เจมส์ เว็บบ์ ปล่อยภาพ "ดาวฤกษ์" แรกเกิดใหม่ เป็นรูปนาฬิกาทรายเพลิง ที่เกิดจากเมฆฝุ่นมหาศาลของดาวฤกษ์ที่กำลังเกิดใหม่
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา NASA เผยข่าวดี! ปล่อยภาพใหม่ของปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) เป็นภาพการก่อกำเนิดของ “ดาวฤกษ์” ดวงใหม่ ทำให้เกิดเมฆฝุ่นสีสันสวยงามและฟุ้งกระจายตัวออก คล้ายกับนาฬิกาทรายเพลิง
นาฬิกาทรายเพลิงที่ว่านี้จะสามารถมองเห็นได้เฉพาะในแสงอินฟราเรดเท่านั้น นี่จึงเป็นครั้งแรกของโลก! ที่มนุษย์สามารถถ่ายภาพในลักษณะนี้ไว้ได้ด้วยกล้องอินฟราเรดระยะใกล้ (Nircam) ของเจมส์ เว็บบ์
ภาพนี้เป็นภาพของดาว ฤกษ์ก่อนเกิด (Protostar) L1527 โดยตัวของดาว ฤกษ์ที่กำลังก่อเกิดจะเห็นเป็นจุดแสงอยู่บริเวณตรงกลางที่เป็นเหมือนคอขวดของนาฬิกาทราย ส่วนเมฆฝุ่นสีส้มและสีน้ำเงินที่ปรากฏนั้น เกิดจากวัตถุและองค์ประกอบของดาว ฤกษ์ที่พุ่งออกมา แล้วปะทะเข้ากับสสารอื่น ๆ โดยรอบ
NASA ระบุว่า บริเวณที่เป็นสีน้ำเงินจะมีฝุ่นเบาบางที่สุด ส่วนบริเวณที่เป็นสีส้มจะมีฝุ่นหนาแน่นที่สุด โดยดาว ฤกษ์ก่อนเกิด L1527 ดวงนี้มีอายุประมาณ 100,000 ปีเท่านั้น ซึ่งอยู่ในระยะแรกสุดของการก่อตัวดาว ฤกษ์ ยังไม่สามารถสร้างพลังงานของตัวเองได้ จึงถือว่าเป็นเพียงดาว ฤกษ์เด็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับอายุขัยของดาว ฤกษ์ เฉพาะดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาลของเราเองก็มีอายุมากถึง 4.6 พันล้านปีเข้าไปแล้ว
โดยทั่วไป ดาว ฤกษ์จะมีคุณสมบัติสำคัญ อย่าง
- ต้องสามารถสร้างพลังงานของตัวเองได้ผ่านปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของไฮโดรเจน
แต่ดาว ฤกษ์ก่อนเกิด L1527 ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะไปถึงขั้นนั้น
รูปร่างส่วนใหญ่เป็นทรงกลม แต่ก็ไม่เสถียรเช่นกัน โดยมักอยู่ในรูปของกองก๊าซขนาดเล็กที่ร้อนและพองตัว มีมวลประมาณ 20-40% ของมวลดวงอาทิตย์
กระบวนการพัฒนาเป็นดาว ฤกษ์เต็มตัว ดาว ฤกษ์ก่อนเกิดจะต้องสะสมมวล แกนกลางของมันจะค่อย ๆ บีบอัดและค่อย ๆ เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่เสถียรมากขึ้น ซึ่งจากในภาพ L1527 ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนดังกล่าวนี้
ฝุ่นและก๊าซหนาแน่นกำลังถูกดึงไปยังศูนย์กลาง แล้ววัตถุเหล่านี้จะหมุนไปรอบ ๆ ศูนย์กลาง เปรียบเสมือนอาหารที่คอยป้อนให้กับดาว ฤกษ์ก่อนเกิด เมื่อได้รับมวลมากขึ้นและบีบอัดไปเรื่อย ๆ อุณหภูมิที่แกนกลางของก็จะเพิ่มขึ้น ในที่สุดก็ถึงเกณฑ์ที่จะเกิดเป็นปฏิกิรยานิวเคลียร์ฟิวชั่น และกลายเป็นดาว ฤกษ์เต็มตัว
ทั้งนี้ NASA ยังได้เผยว่า “ภาพของ L1527 ทำให้เราเห็นว่า ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะของเรามีลักษณะอย่างไรในช่วงวัยที่เป็นเด็กน้อย” โดย “ดาวฤกษ์” ก่อนเกิด L1527 อยู่ในกลุ่มเมฆของกลุ่มดาววัว (Taurus) ซึ่งเป็นพื้นที่อนุบาลดาว ฤกษ์ (Stellar Nursery) หลายร้อยดวง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 430 ปีแสง
ข้อมูล : nasa
ข่าวที่เกี่ยวข้อง