จับตา “ไข้กาฬหลังแอ่น” กระบี่พบผู้ป่วย 6 ราย เสียชีวิต 1 ราย

จับตา โรค "ไข้กาฬหลังแอ่น" หลังสสจ.กระบี่ เผยพบผู้ติดเชื้อเข้าข่าย 6 ราย และพบผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย

ไข้กาฬ หลังแอ่น อาการ ไข้กาฬ หลังแอ่น คือ ไข้กาฬ หลังแอ่น สาเหตุ จับตาโรค “ไข้กาฬหลังแอ่น” ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขกระบี่ แถลงพบ ผู้ป่วยเข้าข่ายโรค “ไข้กาฬหลังแอ่น” ในปอเนาะ 6 ราย และเสียชีวิต 1 ราย ขณะนี้ อยู่ระหว่างรอผลตรวจห้องแล็บว่าเสียชีวิตจากโรคนี้หรือไม่

 

 

 

จากการสอบสวนพบผู้ต้องสงสัยในโรงเรียนปอเนาะแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อเข้าข่าย จำนวน 6 ราย เสียชีวิต 1 ราย อีก 5 ราย อยู่ในระยะปลอดภัย โดยผู้ป่วยทั้ง 6 ราย อยู่ระหว่างการเพาะเชื้อและรอผลตรวจทางห้องแล็บ  เบื้องต้นยังไม่พบผู้ป่วยเข้าข่ายเพิ่ม ขณะนี้ทางอำเภอคลองท่อมได้ประกาศให้พื้นที่โรงเรียนปอเนาะดังกล่าว เป็นพื้นที่ห้ามบุคคลภายนอกเข้าหรือออก

 

 

 

ยาต้านจุลชีพ, โรคกาฬหลังแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น, ฉีดวัคซีน, ปอเนาะ, ผู้ติดเชื้อ, ไข้กาฬ หลังแอ่น อาการ, ไข้กาฬ หลังแอ่น คือ, ไข้กาฬ หลังแอ่น สาเหตุ

 

 

 

ทั้งนี้ โรงเรียนดังกล่าวมีนักเรียนทั้งหมด 436 คน เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจหาเชื้อบริเวณลำคอ และให้ยาฆ่าเชื้อในการป้องกันโรคทั้งหมด พร้อมให้คำแนะนำในการป้องกันโรคให้กับโรงเรียน ทั้งการให้สวมหน้ากากอนามัย ความสะอาด และลดความแออัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น

 

 

 

โรคไข้กาฬ หลังแอ่น มีอาการเด่น ๆ 3 อย่าง ได้แก่

  • มีไข้
  • เป็นผื่น
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ผู้ป่วยอาจมีอาการครบทั้ง 3 อย่าง หรือ 2 จาก 3 อย่างนี้ ความรุนแรงของโรคแตกต่างกันได้ อาจมีอาการค่อยเป็นค่อยไป จนถึงรุนแรงรวดเร็ว ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตในเวลาอันสั้น

 

 

 

ยาต้านจุลชีพ, โรคกาฬหลังแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น, ฉีดวัคซีน, ปอเนาะ, ผู้ติดเชื้อ, ไข้กาฬ หลังแอ่น อาการ, ไข้กาฬ หลังแอ่น คือ, ไข้กาฬ หลังแอ่น สาเหตุ

 

 

 

 

 

 

โดยอาการที่พบบ่อย คือ

  • ผู้ป่วยมักจะมีไข้มาก่อนประมาณ 2-3 วัน
  • มีผื่นขึ้น ลักษณะเป็นจ้ำเลือดเหมือนฟกช้ำ ผื่นอาจมีรูปร่างคล้ายดาวกระจาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ มักเป็นบริเวณลำตัวส่วนล่าง ขา เท้า และบริเวณที่มีแรงกดบ่อยๆ เช่น ขอบกางเกง ขอบถุงเท้า อาจเป็นที่เยื่อบุตา หรือมือได้
  • หากมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะมีอาการ ได้แก่

– ปวดศีรษะรุนแรง

– อาเจียน

– คอแข็ง

– อาจซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือสับสนได้

– ไม่ค่อยมีชักหรืออัมพาตบ่อยเท่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอื่น อัตราการเสียชีวิตขึ้นอยู่กับความรุนแรง

 

 

 

ยาต้านจุลชีพ, โรคกาฬหลังแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น, ฉีดวัคซีน, ปอเนาะ, ผู้ติดเชื้อ, ไข้กาฬ หลังแอ่น อาการ, ไข้กาฬ หลังแอ่น คือ, ไข้กาฬ หลังแอ่น สาเหตุ

 

 

 

วิธีป้องกันโรคไข้ กาฬหลังแอ่นมี 2 วิธี ได้แก่

1. ฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค

  • วัคซีนไข้ กาฬหลังแอ่นป้องกันโรคได้เพียงบางสายพันธุ์
  • การให้วัคซีนจะได้ผลในบางพื้นที่ที่ทราบสายพันธุ์ของเชื้อ
  • ในกรณีให้วัคซีนไม่ครอบคลุมสายพันธุ์ก่อโรคจะไม่ได้ผลในการสร้างภูมิคุ้มกัน ในประเทศไทย
  • สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ A และ B

2. การกินหรือฉีดยาต้านจุลชีพ

  • ยาต้านจุลชีพมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคโดยไม่ขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อ
  • ผู้ที่สมควรได้รับยา เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้ กาฬหลังแอ่น คือ ผู้ที่สัมผัสโรคใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นเวลานาน เช่น

– สมาชิกในครัวเรือนเดียวกัน ร่วมห้องนอนเดียวกัน

– เด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็ก

– ห้องเรียนเดียวกับผู้ป่วย

– ทหารในค่ายเดียวกัน

– ผู้สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิดในชุมชน

ดังนั้น ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดข้างต้นควรแจ้งแก่แพทย์โดยเร็ว แพทย์จะสามารถให้คำปรึกษาแนะนำได้ว่า ผู้สัมผัสโรคสมควรได้รับยาต้านจุลชีพป้องกันหรือไม่ โดยในกรณีทั่วไป ยาต้านจุลชีพป้องกันโรคไข้กาฬ หลังแอ่นได้ผลดี

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น