เช็ค 7 สัญญาณ “ไขมันพอกตับ” จุดเริ่มต้นตับแข็ง – มะเร็งตับ

ไขมันพอกตับ, ภาวะไขมันพอกตับ, มะเร็งตับ, ตับแข็ง, ไขมัน พอก ตับ ห้าม กิน อะไร, ไขมัน พอก ตับ เกิด จาก อะไร, ไขมัน พอก ตับ การ รักษา, ดื้อต่ออินซูลิน, อ้วนลงพุง, เมตาบอลิกซินโดรม, น้ำหนักตัวเกิน, เบาหวาน, สะสมไขมันในตับ, การอักเสบของตับ, ผังผืดในตับ,

"ไขมันพอกตับ" ภัยเงียบตัวร้าย จุดเริ่มต้นของตับแข็งและมะเร็งตับ แพทย์เผย 7 สัญญาณเตือนเบื้องต้น รู้ก่อนรักษาได้

ไขมัน พอก ตับ ห้าม กิน อะไร ไขมัน พอก ตับ เกิด จาก อะไร ไขมัน พอก ตับ การ รักษา “ไขมันพอกตับ” โรคร้ายใกล้ตัวที่คิบคลานมาโดยไม่รู้ตัว เช็ค 7 สัญญาณเบื้องต้น ก่อนสาย ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

“ไขมันพอกตับ” สัญญาณเตือนโรคร้าย จุดเริ่มต้นของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ หลายคนมีสัญญาณเตือนเบื้องต้นแล้วแต่ยังไม่รู้ รู้อีกทีก็สายเกินแก้ แพทย์แนะเช็คอาการตามลิสต์นี้ รู้ก่อนรักษาได้

ภาวะไขมัน พอกตับ คืออะไร

  • นพ. จารุทัศน์ กาญจนะพันธ์ อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหารและตับ เผยว่า เป็นการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ
  • ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์มากกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อตับ เป็นภาวะที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน
  • เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง การเกิดผังพืดในตับ กลายเป็นภาวะตับแข็ง และอาจนำไปสู่การเกิดเป็นมะเร็งตับในที่สุด

 

 

 

ไขมันพอกตับ, ภาวะไขมันพอกตับ, มะเร็งตับ, ตับแข็ง, ไขมัน พอก ตับ ห้าม กิน อะไร, ไขมัน พอก ตับ เกิด จาก อะไร, ไขมัน พอก ตับ การ รักษา, ดื้อต่ออินซูลิน, อ้วนลงพุง, เมตาบอลิกซินโดรม, น้ำหนักตัวเกิน, เบาหวาน, สะสมไขมันในตับ, การอักเสบของตับ, ผังผืดในตับ,

 

 

 

สาเหตุของภาวะไขมัน พอกตับ

1. ผู้ที่มีไขมัน พอกตับปฐมภูมิ (primary)

  • ผู้ที่มีภาวะไขมัน พอกตับที่ไม่มีสาเหตุ เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นกลไกที่พบในผู้ป่วยกลุ่มโรคอ้วนลงพุงหรือเมตาบอลิกซินโดรม (metabolic syndrome)

2. ผู้ที่มีไขมัน พอกตับทุติยภูมิ (secondary)

  • คือ ผู้ที่มีไขมัน พอกตับที่มีสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คือ

ภาวะไขมัน พอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ (มากกว่า 30 กรัมต่อวันในผู้ชาย และมากกว่า 20 กรัมต่อวันในผู้หญิง)

– นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะไขมัน พอกตับที่พบได้แต่ไม่บ่อย เช่น การใช้ยาบางชนิด (prednisolone, amiodarone, tamoxifen or methotrexate), การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี, โรคตับ อักเสบจากภูมิคุ้มกัน, โรคทางพันธุกรรมบางชนิด, ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือการได้สารอาหารทดแทนทางเส้นเลือดเป็นระยะเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมัน พอกตับที่ไม่ได้เกิดจากดื่มแอลกอฮอล์

  • ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน
  • เบาหวานหรือมีภาวะดื้ออินซูลิน
  • ผู้ที่มีโรคอ้วนลงพุงหรือภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
  • พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารพลังงานสูงเกินความจำเป็น โดยเฉพาะ แป้ง ไขมัน น้ำตาล

 

 

 

ไขมันพอกตับ, ภาวะไขมันพอกตับ, มะเร็งตับ, ตับแข็ง, ไขมัน พอก ตับ ห้าม กิน อะไร, ไขมัน พอก ตับ เกิด จาก อะไร, ไขมัน พอก ตับ การ รักษา, ดื้อต่ออินซูลิน, อ้วนลงพุง, เมตาบอลิกซินโดรม, น้ำหนักตัวเกิน, เบาหวาน, สะสมไขมันในตับ, การอักเสบของตับ, ผังผืดในตับ,

 

 

 

 

 

 

7 สัญญาณเตือนภาวะไขมัน พอกตับ

  • เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • คลื่นไส้เล็กน้อย
  • รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • รู้สึกไม่สบายท้อง
  • น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง
  • มึนงง การตัดสินใจและสมาธิลดลง
  • ไขมัน พอกตับอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ตับโต ที่จะเกิดอาการปวดที่บริเวณท้องด้านบนขวา หรือกลางท้อง และอาจพบรอยปื้นคล้ำที่ผิวหนังบริเวณ คอ หรือใต้รักแร้ ได้

ลักษณอาการป่วยของภาวะไขมัน พอกตับ

1.ระยะเริ่มต้น

  • เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันในตับ โดยที่ยังไม่มีหรือมีการอักเสบเพียงเล็กน้อย และไม่มีผังผืด

2. ระยะที่สอง

  • เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของผังผืดในเนื้อตับ

3.ระยะที่สาม

  • เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ
  • มีการสะสมของผังผืดในตับอย่างชัดเจน

4.ระยะที่สี่

  • เป็นระยะที่ตับมีผังผืดอยู่มาก มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นตับแข็ง ที่อาจจะปรากฏภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น

– ตาเหลือง

– ท้องโตจากภาวะมีน้ำในช่องท้อง

– มีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร

– และการเกิดเป็นมะเร็งตับในที่สุด

 

 

 

ไขมันพอกตับ, ภาวะไขมันพอกตับ, มะเร็งตับ, ตับแข็ง, ไขมัน พอก ตับ ห้าม กิน อะไร, ไขมัน พอก ตับ เกิด จาก อะไร, ไขมัน พอก ตับ การ รักษา, ดื้อต่ออินซูลิน, อ้วนลงพุง, เมตาบอลิกซินโดรม, น้ำหนักตัวเกิน, เบาหวาน, สะสมไขมันในตับ, การอักเสบของตับ, ผังผืดในตับ,

 

 

 

การดูแลรักษาและคำแนะนำในผู้ที่มีภาวะไขมัน พอกตับ

1. การลดน้ำหนัก

  • คนที่มีน้ำหนักตัวเกิน การลดน้ำหนักลงได้ร้อยละ 7 ถึง 10 ของน้ำหนักตัว จะช่วยลดเรื่องของภาวะไขมัน พอกตับ ลดการอักเสบในเนื้อตับ ไปจนถึงช่วยทำให้ผังผืดในตับดีขึ้น
  • โดยเกณฑ์การลดน้ำหนักควรอยู่ที่ 1 กิโลกรัม ถึง 2 กิโลกรัมต่อ 1 เดือน

2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

  • ลดปริมาณแคลอรี่ ลดปริมาณไขมัน แป้ง อาหารหรือเครื่องดื่มที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส (ในปัจจุบันอยู่รูปสารให้ความหวานจากการสังเคราะห์ข้าวโพด, high fructose corn syrup)
  • ซึ่งมักจะเป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่ม น้ำผลไม้บรรจุ ไอศครีม อาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ ชานม ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ

3. การออกกำลังกาย

  • สัปดาห์ละ 150 นาที ถึง 200 นาที

4. ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5. ตรวจหาโรคร่วมหรือโรคที่มีควมเสี่ยงร่วมต่อภาวะ “ไขมันพอกตับ”

6. ในปัจจุบันมียาที่เชื่อว่ามีผลช่วยลดประมาณไขมันในตับ

  • หรือช่วยลดการอักเสบในตับ แต่ควรปรึกษาและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อประเมินถึงผลดีและผลเสียโดยละเอียดต่อไป
  • ไม่ใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพรต่าง ๆ โดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์

 

 

 

ข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น