“โควิดเดลตาครอน” หมอยง ไขข้อเท็จจริง หลังไทยพบรายแรก

โควิดเดลตาครอน เด ล ตา ค รอน คือ อะไร

"โควิดเดลตาครอน" หมอยง ภู่วรวรรณ ไขข้อเท็จจริง หลังไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดเดลตาครอน XBC รายแรก ย้ำโอกาสเกิดน้อย WHO ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญ

“โควิดเดลตาครอน” เด ล ตา ค รอน คือ อะไร โควิดสายพันธุ์ใหม่ โควิดในไทย โดยล่าสุดทางด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ได้ออกมาให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเด็นของ โควิดเดลตาครอน หลังมีรายงานว่าไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาครอน XBC รายแรก ซึ่งผู้ป่วยหายดีแล้ว ไม่พบประวัติเดินทางต่างประเทศ และยังไม่พบสัญญาณความรุนแรง เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ โควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไขข้อเท็จจริง เดลตาครอน โดยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส เกิดขึ้นได้จากการค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย ด้วยการเปลี่ยนพันธุกรรม และทำให้สร้างกรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงไป

 

อย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จากแอลฟา เบตา เดลตา โอมิครอน เปลี่ยนแปลงบนยีนของหนามแหลม spike ทำให้ระบบภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง โอมิครอนยังเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยไปเป็นลูกหลาน BA.1 BA.2…BA.5.. เปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย ก็ยังเป็นโอมิครอนอยู่ สายพันธุ์โอมิครอน อยู่นานมากอยู่มา 1 ปีแล้ว การแยกสายพันธุ์ ดังแสดงในรูป

 

 

โควิดเดลตาครอน เด ล ตา ค รอน คือ อะไร

 

 

ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มของสายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อความอยู่รอดของไวรัส ที่ผ่านมาตัวที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว ความรุนแรงน้อย ก็จะอยู่รอด และเกิดสายพันธุ์ใหม่ เรื่อยมา อัตราการเสียชีวิตก็ลดลงมาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงชนิดที่ 2 เป็นการแลกชิ้นส่วนต่างสายพันธุ์ หรือผสมส่วน ที่เรียกว่า recombination

 

เราพบได้เห็นในไวรัสหลายชนิด เช่น ไวรัสที่ทําให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไวรัสท้องเสีย norovirus เกิดได้จากการที่มีไวรัส 2 สายพันธุ์ติดเชื้อในผู้ป่วยคนคนเดียวกันแล้วไปแลกชิ้นส่วนกัน เกิดเป็นลูกผสม หัวเป็นสายพันธุ์หนึ่ง หางเป็นสายพันธุ์หนึ่ง

 

 

 

ดังนั้น เดลตาครอน จะเกิดได้ จะต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ร่วมกับ โอมิครอน จึงจะเกิดลูกผสมเดลตาครอน แต่ขณะนี้แทบจะไม่พบสายพันธุ์เดลต้า จะเกิดลูกผสมเดลตาครอนได้อย่างไรเมื่อไม่มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ คิดแบบง่าย ๆ มีการพูดถึงเดลตาครอนจะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของสายพันธุ์เดลต้าที่มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนคล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา

 

 

โควิดเดลตาครอน เด ล ตา ค รอน คือ อะไร

 

 

ในสายพันธุ์โอมิครอนเชื่อว่าไม่ได้เป็นการแลกชิ้นส่วนกัน และตั้งชื่อเป็น XBC และทางองค์การอนามัยโลกก็ไม่ได้มีการกำหนดชื่อใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่ว่าเป็นเดลตาครอนหรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด ตอนนี้ก็ยังมีแต่แอลฟา เดลตา โอมิครอน และมีสายพันธุ์ย่อยการที่เราคุ้นหูกัน ใครจะเรียกเดลตาครอนขณะนี้ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไร

 

การรายงานเข้าไปในธนาคารรหัสพันธุกรรม GISAID สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เด่นอะไรเลย และไม่มีความสำคัญในขณะนี้ไม่ว่าในอัตราการแพร่กระจายที่พบ หรือความรุนแรงที่พบ สายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลกขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2.75 และ BQ.1.1 บ้านเราขณะนี้เป็น BA.2.75 และก็คงจะตามมาด้วย BQ.1.1 ในอนาคตอันใกล้ ดังแสดงในรูปของ GISAID

 

 

โควิดเดลตาครอน เด ล ตา ค รอน คือ อะไร

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : Yong Poovorawan

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“แม่สามารถ” เครียดจัด ผูกคอคาห้องขังดีเอสไอ จนท.ช่วยระทึก ห่วงลูกจะอดข้าวประท้วง ขอความเป็นธรรม
เคราะห์ร้าย ! หนุ่มวัย 18 ปี ขี่จยย. ถูกกันสาดหล่นใส่หัวเจ็บสาหัส
ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่
เมืองคอนน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ หากผลไม่หยุดตกคืนนี้ตัวเมืองอ่วมอรทัยแน่นอน-ในเบื้องต้นนายอำเภอ,นายกเล็กฯจับมือศูนย์ข่าวนคร 24 ชั่วโมงสมาคมสื่อมวลชนและชมรมรถจิ๊ปลุยช่วยชาวบ้านแล้ว-เรียกร้องเจ้าพนักงานที่ดินเด้งตรวจสอบนายทุนถมลำคลองปิดกั้นทางน้ำว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โซเชียลถามกลับ “พรรคส้ม” รู้ยังมีทหารไว้ทำไม? หลังเกิดเหตุการณ์ "กลุ่มว้าแดงและทหารไทย"
ผบ.สอ.รฝ.ประดับเครื่องหมายเลื่อนยศ นักรบต่อสู้อากาศยาน 46 นาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น