“ไอเอฟ IF” พิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดความรุนแรงเสียชีวิต โควิด-19

ไอเอฟ IF, ไอเอฟ, IF, โควิด-19, COVID-19, หมอธีระวัฒน์, intermittent fasting, โรคคาร์ดิโอเมตาบอลิก, cardio metabolic

"ไอเอฟ IF" หมอธีระวัฒน์ แนะ ตั้งแต่เช้า ดีกว่าเริ่มตอนบ่าย เย็น มีรายงานพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดความรุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากการติด โควิด-19

“ไอเอฟ IF” ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 TOP News รายงาน ล่าสุด หมอธีระวัฒน์ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุ กิน 6 อด 18 ชั่วโมง หรือกิน 8 อด 16 ชั่วโมง พิสูจน์แล้วว่าทำให้สุขภาพแข็งแรง ช่วยลดความรุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากการติด COVID-19

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ไอเอฟ IF, ไอเอฟ, IF, โควิด-19, COVID-19, หมอธีระวัฒน์, intermittent fasting, โรคคาร์ดิโอเมตาบอลิก, cardio metabolic

 

 

 

 

หมอธีระวัฒน์ โพสต์ ระบุ “ไอเอฟ IF” หรือ intermittent fasting โดย กิน 6 อด 18 ชั่วโมง หรือกิน 8 อด 16 ชั่วโมง พิสูจน์แล้วว่า ทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดจากโรคคาร์ดิโอเมตาบอลิก (cardio metabolic) รวมทั้งมีรายงานพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดความรุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากการติด โควิด-19

 

“ช่วงเวลาที่ให้กิน (time window) ตื่นขึ้นมาปุ๊บแล้วกินเลย จะดีกว่า IF ที่กินหลังเที่ยงไปจนบ่ายหรือเย็นไปถึงกลางคืนที่จะทำให้มีความรู้สึกหิวมากกว่า คล้องจองไปกับการที่มีฮอร์โมนที่เพิ่มการหิวข้าว และมีระยะตื่น (wake time) มากกว่า มีระบบการเผาผลาญใช้พลังงานลดลง”

 

 

หมอธีระวัฒน์ บอกต่อว่า มื้อเช้าอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องเป็นมื้อใหญ่เสมอไป ผักผลไม้มากมายมหาศาลตามฤดูกาลอยู่แล้ว ส้มตำ เคียงผักนานาชนิด อย่าให้เค็ม ลดข้าวเหนียว ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ทั้งหลาย พยายามหลีกเลี่ยง แต่ได้โปรตีนจากถั่ว จากพืช และปลา ปู กุ้ง หอย

 

“ประเพณี ประพฤติ ปฏิบัติของการกินมื้อเย็น ดินเนอร์ ตอน 5 โมงเย็น หรือล่าช้าไปถึงทุ่มหรือสามทุ่ม หรือการกินตอนเที่ยง จนไปถึงบ่าย เย็น กลับจะเพิ่มความตะกละ อยากกิน จนอาจจะต้องลุกขึ้นมาหาอะไรกินตอนกลางคืน หรือตอนดึกไปอีก”

 

 

 

 

ไอเอฟ IF, ไอเอฟ, IF, โควิด-19, COVID-19, หมอธีระวัฒน์, intermittent fasting, โรคคาร์ดิโอเมตาบอลิก, cardio metabolic

 

 

 

 

 

การวิเคราะห์ยีน พบว่า ยีนที่ควบคุมความเสถียรของเซลล์ และการคุมการคงมีชีวิตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ ในระบบ autophagy เป็นในทิศทางที่แย่ลง รวมทั้งมีการเผาผลาญไขมันลดลงและมีการเพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้น ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้บ่งบอกถึงการมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน และโรคที่ตามติดมาจากผลพวงดังกล่าว

 

เวลาและระยะเวลาของการกิน ชนิดของอาหาร จะมีผลต่อเนื่องไปจนถึงสุขภาพของร่างกายโดยรวม และคุณภาพของการนอน และส่งผลไปถึงสมองทำให้เสื่อมช้าลง (resistance) หรือแม้แต่เสื่อมแล้วก็ยังไม่แสดงอาการออกมาได้ (resilience)

 

“ชีวิตของเราเองเลือกได้ ที่จะไม่เป็นภาระต่อครอบครัว สังคม และทำให้ประเทศไทยของเรามั่งคั่งครับ” หมอธีระวัฒน์ ระบุทิ้งท้าย

 

 

 

 

ไอเอฟ IF, ไอเอฟ, IF, โควิด-19, COVID-19, หมอธีระวัฒน์, intermittent fasting, โรคคาร์ดิโอเมตาบอลิก, cardio metabolic

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น