"โควิด-19" เกิดจากการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับไวรัส research related activities มากกว่าที่จะเกิดจากธรรมชาติ
ข่าวที่น่าสนใจ
- จุดแรกที่เกิดในคน อยู่ใกล้ Wuhan institute of Virology ตั้งแต่ตุลาคม 2019
- COVID ยังไม่พบ intermediate host หรือสัตว์ตัวกลางใด ๆ สำหรับค้างคาวมงกุฎ พบไวรัสใกล้ COVID แต่ไม่ใช่ COVID และไม่เข้าคน
ปกติแล้ว ไวรัสจากค้างคาวต้องผ่านสัตว์ตัวกลาง เพื่อเพาะบ่มวิวัฒนาการระยะหนึ่ง จึงจะมีความสามารถเข้ามนุษย์ได้ แต่ค้างคาวในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ผ่านการสำรวจใน Yunnan ลาว มีแต่คล้าย COVID และถ้ามีการผ่านตัวกลางจริงที่กลายเป็นโควิดบริเวณพื้นที่กว้างขวางเหล่านี้น่าจะมีคนที่ติดโควิดตั้งแต่ต้นในพื้นที่ต่าง ๆ และระยะเวลาต่าง ๆ เช่น ตัวอย่างที่เห็นใน ไข้หวัดนก avian flu H7N9 ในจีน ที่มีการกระจายทั่วไปในนกทั่วพื้นที่ก่อน จนมีการกระจายเข้าคนในพื้นที่ต่าง ๆ ณ เวลาต่าง ๆ หรือ MERS ก็ตาม หรือ SARS เบื้องต้น มีการเกิดการกระจายอย่างเป็นอิสระเข้าในมนุษย์ อย่างน้อย 5 เหตุการณ์ (at least 5 independent of SARS virus into humans) โดยในแต่ละครั้งที่เกิด อยู่ในพื้นที่ที่ห่างกันเป็น 10 เป็น 100 กิโลเมตร ในปี 2002 – 3 และมีตัวกลาง civet cats ที่มีกระจายอยู่ในพื้นที่ก่อน และไวรัส SARS มีหลาย strains ตั้งแต่ต้น ซึ่งแสดงว่ามีการวิวัฒนาการผ่านมาก่อนหน้านี้หลายครั้งในสัตว์ต้นตอจนกระทั่งถึงผ่านตัวกลาง
“ใน โควิด-19 เป็นการเกิดในเวลาเดียว ที่เดียว single time single place พื้นที่เล็ก ๆ ตั้งแต่ต้น และหลักฐานของไวรัสไม่เป็น เช่น SARS ก่อนหน้า โดยไม่มี multiple spillover โควิดที่เกิดที่ Wuhan เป็นตัวที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ในการแพร่จากคนสู่คน (well-adapted for human-to-human transmission)”
โควิด-19 ตัวตั้งต้นมีความหลากหลายของรหัสพันธุกรรม (genetic diversity) น้อยมาก 2 นิวคลีโอไทด์ จาก 29,900 และรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่เก็บตัวอย่างจากพื้นในตลาด Wuhan ก็ไม่ต่างกันกับที่พบในคนที่ติดเชื้อ (genetic similarity between the environmental samples and human viral examples) แสดงว่า โควิด-19 เป็นโควิดที่แพร่จากคนตั้งแต่ต้น และที่พบในจุดที่เกิดแต่แรกใกล้สถาบัน Wuhan institute of virology ไม่ใช่ที่ตลาด
สถาบันมีความตั้งใจที่จะทำการศึกษาโคโรนาไวรัสที่เกี่ยวโยงกับ SARS ว่าจะมีความสามารถที่จะใช้ตัวรับในมนุษย์ ACE2 receptor เพื่อเข้าคนได้หรือไม่ โดยร่วมกับองค์กร EcoHealth Alliance ของสหรัฐฯ ในปี 2018 โดยในโครงการ มีจุดประสงค์ที่หาไวรัสที่คล้าย SARS และมี furin cleavage site ตามธรรมชาติ แต่ในการเก็บรวบรวมตัวอย่างนั้น ไม่มีไวรัสที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ทำให้นำไปสู่ความตั้งใจที่จะทำการทดลองให้ไวรัสมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการติดเข้ามนุษย์ (genetic recombina tion experiments)
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2015 มหาวิทยาลัย Huazhong Agricultural University ที่ Wuhan ได้ทำการใส่ furin cleavage site ที่สังเคราะห์ขึ้น เข้าไปในไวรัสในกลุ่ม อัลฟาโคโรนาไวรัส คือ porcine epidemic diarrhea virus และในปี 2019 นักวิจัยในประเทศจีนทำการใส่ furin cleavage site กรดอะมิโน 4 ตัว เข้าใน Infectious Bronchitis corona virus ที่ก่อโรคใน เป็ด ไก่ การศึกษาวิจัยเหล่านี้เพื่อที่จะประเมินว่าไวรัสโคโรนาที่คล้าย SARS จะมีความสามารถเข้ามนุษย์ได้เพียงใด…
ในการให้สัมภาษณ์วารสาร Science Shi Zhengli นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่สถาบันไวรัสอู่ฮั่นและเชี่ยวชาญในไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวกับ SARS ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความสำเร็จที่ใช้ไวรัสที่ตกแต่งพันธุกรรม chimeric SARS-related corona viruses ในการติดเชื้อและก่อโรครุนแรงแก่หนูและตัว civets ที่ปรับแต่งให้มี ACE2 receptor ของมนุษย์
ในรายงานยังได้ระบุถึงระบบการรักษาความปลอดภัย Biosafety and Biosecurity ที่สถาบันอู่ฮั่นในช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่ 2018 จนกระทั่งในปี 2019 โดยมีเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในระบบการรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และมีการประกาศอย่างเข้มงวดจากรัฐบาลจีน ในข้อปฏิบัติที่ต้องทำอย่างเคร่งครัดตามมาตรฐาน แต่ทั้งนี้ ยังทำตามเงื่อนไขให้เกิดความสมบูรณ์และปลอดภัยอย่างเคร่งครัดไม่ได้นัก
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของระบบชีวนิรภัยที่สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการทดลองไวรัสตระกูล COVID และเป็นระบบเกี่ยวข้องกับการควบคุมอากาศในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับสี่… ในวันที่ 24 เมษายน 2019 วันที่ 14 สิงหาคม วันที่ 16 กันยายน วันที่ 19 พฤศจิกายน วันที่ 11 ธันวาคม ทั้งหมดในปี 2019 และวันที่ 13 พฤศจิกายน ในปี 2020
ในระหว่างเวลาสองถึง 03.00 น. ของวันที่ 12 เดือน กันยายน ปี 2019 ทางสถาบันได้ปิดระบบ ออนไลน์ข้อมูลรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่เรียกว่า wildfire-borne viral pathogen database และมีการเปิดใหม่เป็นระยะจากเดือน ธันวาคม 2019 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2020 หลังจากที่มีการปิดถาวรในเดือน ธันวาคม 2020
ข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้โดยปกติจะเปิดให้แก่สาธารณชนโดยมีพาสเวิร์ดที่ชัดเจน แต่จะมีข้อมูลปกปิดซึ่งเข้าได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของสถาบันโดยจะมีคลังข้อมูลของรหัสพันธุกรรมที่ไม่เปิดเผยของไวรัส
ทั้งนี้ สถาบันได้รวบรวมตัวอย่างจากค้างคาวเป็นจำนวนมากกว่า 15,000 ตัวอย่าง โดยที่ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้มีการค้นพบไวรัสในค้างคาวมากกว่า 1,400 ตัว และมีรหัสพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาที่ใกล้เคียงกับ SARS อยู่ประมาณ 100 ตัวอย่าง
ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2019 ผู้นำจากปักกิ่งได้มีข้อความสื่อสารถึงสถาบันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาความปลอดภัย “complex and grave situation facing biosecurity work” รวมทั้งรองผู้อำนวยการสถาบันในด้านความปลอดภัยแจ้งให้เห็นถึงผลกระทบร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นจากอันตรายเหล่านี้และต้องมีการรักษามาตรฐานความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้อย่างเข้มงวด
(ข้อมูลเพิ่มเติม)
ความร่วมมือของสหรัฐและอู่ฮั่นตั้งแต่ก่อน โควิด-19 และเกิด โควิด-19 ไปแล้ว
ข้อสรุป จากวุฒิสภาของสหรัฐฯ ข้างต้นคล้ายคลึง Lancet commission ที่ตีพิมพ์เปิดเผยทั่วไป ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 14 กันยายน 2022 ที่น่าจะมีต้นตอจากหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาทดลองวิจัยในห้องปฏิบัติการ และโควิดอาจเป็นผลจากการศึกษาวิจัยร่วมของสหรัฐฯ และสถาบันไวรัสอู่ฮั่น
สถาบันแห่งชาติสหรัฐฯ NIAID ยังได้ให้ทุนเป็นจำนวนหลายพันล้านเหรียญในปี 2020 แก่ EcoHealth alliance ในการเก็บรวบรวมตัวอย่างจากค้างคาวและสัตว์ป่าทั่วโลก เพื่อหาไวรัสและศึกษาความสามารถในการเข้ามนุษย์และรวมถึงการสร้างไวรัสที่มีการปรับแต่งพันธุกรรมเพื่อให้เข้ามนุษย์ได้ดีขึ้น ทั้งจากไวรัสโควิด ไวรัสนี้ป้า และตัวอื่น ๆ โดยยังคงมีความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นกับสถาบันไวรัสที่อู่ฮั่นตามเดิม
An analysis of the origin of SARS-CoV2. US Senate. October 2022 Based on the analysis of the publicly available information, it appears reasonable to conclude that the COVID-19 pandemic was, more likely than not, the result of a research-related incident. New informa tion, made publicly available and independently verifiable, could change this assessment. However, the hypothesis of a natural zoonotic origin no longer deserves the benefit of the doubt, or the presumption of accuracy.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง