ชำแหละนโยบายเพื่อไทย ของใหม่ หรือ ลอกการบ้านบิ๊กตู่

ชำแหละนโยบายเพื่อไทย ของใหม่ หรือ ลอกการบ้านบิ๊กตู่

หลังจากวานนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ประกาศแคมเปญรณรงค์การเลือกตั้ง “คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน” ที่กำลังจะเกิดขึ้นปี2565 หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลในปี 2570 จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศภายใต้ 10 นโยบาย ซึ่งปรากฏว่าบางนโยบายได้ถูกสังคมและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องวิจารณ์อย่างหนัก ว่าเป็นการหาเสียงที่ไม่มีตรรกะ สร้างหายนะทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2571 เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาทขึ้นไป ขณะเดียวกันก็พบว่าหลายนโยบายที่นางสาวแพทองธารประกาศออกมา เป็นสิ่งที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ดำเนินอยู่แล้ว บางโครงการก็เพิ่งเริ่ม ทำให้นางสาวแพทองธารถูกวิจารณ์ว่าเตรียมเคลมผลงานลุงตู่อีกแล้ว ยังไม่นับบางนโยบายที่เคยนำมาหาเสียง แต่รัฐบาลเพื่อไทยก็ทำไม่สำเร็จ แต่ก็ยังนำเป็นโยบายหาเสียงอีก โดยรายละเอียดมีดังนี้

-นโยบายด้านการเกษตร พรรคเพื่อไทยจะนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ หรือ Agritech เช่น เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ , ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยในการเกษตร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น แต่เหนื่อยน้อยลง
ประเด็นนี้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ได้มีนโยบายส่งเสริมและผลักดันเกษตรกรให้นำเทคโนโลมาใช้นานแล้ว เพื่อยกระดับให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยหนึ่งในพัฒนาการที่สำคัญ คือ นำเทคโนโลยีมายกระดับการวางแผนการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ในรูปแบบของ Agri-Map ซี่งใช้ได้ทั้งในอินเทอร์เน็ตและเป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยเครื่องมือนี้จะช่วยให้เกษตรกรรู้ข้อมูลว่า ในที่ดินของตนเองเหมาะสำหรับการปลูกพืชชนิดใด ทำอย่างไรจึงจะได้ผลผลิตสูงสุด มีแหล่งน้ำ มีสภาพอากาศเหมาะสมจริงหรือไม่ หรือจะสามารถปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชทดแทนชนิดใดได้บ้าง เพื่อให้มีรายได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ Agri-Map ยังช่วยแสดงแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรในบริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

-นโยบายด้านนวัตกรรม ประชาชนทุกคนมีบัญชีธนาคาร และมีกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือ Digital Wallet รวมถึงใช้เงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางแทนเงินสด ป้องกันการคอร์รัปชั่นในการเมืองแบบลิงกินกล้วย และรัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ประเด็นกระเป๋าเงินดิจิทัลนั้น ปัจจุบันประเทศแทบจะอยู่ในยุคสังคมไร้เงินสดแล้ว เพราะประชาชนสามารถใช้จ่ายเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล ทั้งแอปพลิเคชันธนาคารบนโทรศัพท์ ,พร้อมเพย์ รวมถึงแอปพลิชั่นเป๋าตังที่พัฒนาโดยธนาคารกรุงไทย แล้วรัฐบาลได้ต่อยอดนำมาใช้ในมาตรการต่างๆของรัฐ รวมถึงพัฒนาให้สามารถชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ซื้อสลาก 80 บาท และอีกมากมาย ปัจจุบันแอปพลิเคชั่น มีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 34 ล้านราย
ส่วนประเด็นใช้เงินสกุลดิจิทัล Central Bank Digital Currency หรือ CBDC ที่ออกโดยธนาคารกลางแทนเงินสดนั้น เรื่องนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ศึกษามาตั้งแต่ปี 2560 แล้ว เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ของการใช้ CBDC ในภาคสถาบันการเงิน รวมถึงภาคธุรกิจเอกชน
และประเด็นใช้เงินสกุลดิจิทัลเพื่อป้องการทุจริต ปัจจุบันมาตรการสนับสนุนประชาชนของรัฐก็ไม่ได้ถูกครหาว่ามีการหักหัวคิวเหมือนในอดีต เพราะรัฐบาลได้ช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือการเยียวยาช่วงโควิด-19 ก็มีการจ่ายเงินผ่านแอปเป๋าตัง

-นโยบายด้านสาธารณสุข 30 บาทรักษาทุกโรค จะถูกอัพเกรดให้สามารถรักษาได้ทั่วประเทศ ไม่มีค่าใช้จ่าย และประชาชนสามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว
ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับบริการ 30 บาทให้ครอบคลุมในหลายด้าน เช่น ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิเข้ารักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ จะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต ,โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ ,ย้ายหน่วยบริการ ได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน , เพิ่มสิทธิการรักษาโรคต่างๆมากขึ้น ทั้งฟอกไตฟรี เพิ่มการเข้าถึงบัญชียา โรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลือง โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การป้องกันและรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส HIV ฯลฯ และช่วงที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤตโควิด-19 ระบบสาธารณสุขของไทยก็ได้รับชื่นชมจากนานาชาติ ถึงขั้นที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยกย่องไทยเป็นประเทศต้นแบบในการรับมือโรคโควิด-19 อันดับ 3 ของโลก

-นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง จะถูกแก้ไขทั้งระบบทั่วประเทศ
ประชาชนยังฝังใจไม่ลืมกับมหาอุทภัยปี 2554 ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารจัดการน้ำผิดพลาด เพราะมัวแต่ให้ความสนใจในเรื่องการเมือง ทำให้ประเทศเสียหายมหาศาล แม้ต่อมารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะออกพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แส้นล้านบาท เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ แต่ก็เป็นไปอย่างเร่งรัด บางแผนโครงการยังไม่มีการศึกษาข้อดีข้อเสีย หรือ ศึกษา EHIA และยังถูกวิจารณ์ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนเกาหลีใต้ด้วย จนถูกยกเลิกไปในทีสุดเ ดังนั้นนโยบายนี้ต้องบอกตรงๆว่าประชาชนส่วนใหญ่ย่อมไม่เชื่อมั่นกับสิ่งที่นางสาวแพทองธารประกาศออกมา

-นโยบายด้านการคมนาคมและขนส่งมวลชน ในปี 2570 ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค มีการลงทุนในระบบรางครั้งใหญ่ สร้างรถไฟรางคู่ในทุกเส้นทาง ทำให้รถไฟวิ่งได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางรถไฟสายใหม่ถูกสร้างขึ้นไปถึงจุดหมายสำคัญ เช่น เชียงราย เชียงของ มุกดาหาร นครพนม ภูเก็ต ส่วนรถไฟความเร็วสูงสร้างจากจีนลงมาถึงไทยแล้วต่อยาวไปถึงสิงคโปร์ เกิดขึ้นแน่นอน รถไฟฟ้าสายต่างๆในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้ระบบตั๋วร่วม 20 บาทตลอดสายได้ก่อนปี 2570
ประเด็นนี้ต้องบอกว่าพรรคเพื่อไทย เหมือนไม่ได้ทำการบ้าน เพราะในยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์ 1 ต่อเนื่องถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ 2 หนึ่งในผลงานเด่นก็คือ ระบบคมนาคมทางราง ได้รับการพัฒนามากที่สุด โดยในส่วนของรถไฟทางคู่ รัฐบาลได้แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 เฟส ครอบคลุมเหนือ-ใต้-อีสาน-ตะวันออก-ตะวันตก เฟสแรก 7 เส้นทาง เส้นทาง ระยะทาง 993 กิโลเมตร เฟสสอง 7 เส้นทาง ระยะทางรวมกันประมาณ 1,483 กิโลเมตร โดยเฟสแรก ก่อสร้างเสร็จแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางคลองสิบเก้า – ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2562 และ รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2563
ส่วนเส้นทางช่วง แด่นชัย-เชียงรายเชียงของ อยู่ในแผนเฟสสอง รัฐบาลพลเอกประยุทธ์อนุมัติตั้งแต่ปี 61 ระยะทาง 323 กิโลเมตร หลังรอคอยมากกว่า 60 ปี ปัจจุบันเริ่มปรับพื้นที่และการเวนคืนที่ดิน มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการในปี 2571 ขณะที่เส้นทางมุกดาหาร นครพนมนั้น ก็อยู่ในแผนการช่วงสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงานในขั้นตอนการเวนคืน โดยจะเปิดบริการปี 2569
อีกประเด็นคือ รถไฟฟ้าในกทม.และริมณฑลใช้ระบบตั๋วร่วม 20 บาทตลอดสายได้ก่อนปี 2570 เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียงมานานตั้งแต่ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ การหาเสียยงเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขตหลักสี่ หรือกระทั่งการหาเสียงของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ชู 25-30 บาทตลอดสาย แต่ทั้งหมดทั้งมวลพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถทำตามที่หาเสียงได้ แต่ก็ยังมาใช้หาเสียงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้าอีก

-นโยบายด้านพลังงาน โครงสร้างราคาพลังงาน ถูกปรับรื้อตั้งแต่ปี 2566 ค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส ค่าไฟ ลดลงทันที
ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งปี 2554 พรรคเพื่อไทยหาเสียงว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะลดราคาน้ำมันทันที และยกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่แล้วเมื่อพรรคเพื่อไทยได้เข้ามาเป็นรัฐบาล ก็ไม่ได้ยกเลิกกองทุนน้ำมัน และถึงแม้จะลดราคาน้ำมันทันที โดยใช้วิธีชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน แต่ก็ทำให้กองทุนน้ำมันติดลบ 2 หมื่นล้าน ท้ายที่สุดราคาน้ำมันก็ดีดตัวกลับมาเหมือนเดิม มากไปกว่านั้นในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เช่นกัน เกือบลิตรละ 50 บาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น