“กรมวิทย์ฯ” เผยสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลาน กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศ ย้ำวัคซีนเข็มกระตุ้นช่วยลดโอกาสติดเชื้อและความรุนแรงได้

กรมวิทย์ฯ เผยสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลาน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 76% กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศ ย้ำวัคซีนเข็มกระตุ้นช่วยลดโอกาสติดเชื้อและความรุนแรงได้

วันนี้ (7 ธันวาคม 2565) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อก่อโรคโควิด-19 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 26 พ.ย. – 2 ธ.ค. 65 จากผลการตรวจแบบ SNP/Deletion จำนวน 435 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของสายพันธุ์ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 75.9% จากสัปดาห์ก่อนที่มีสัดส่วน 58.9% และเมื่อแยกตามกลุ่มพบว่าในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 60.1% เป็น 75.4% ทำให้ขณะนี้สายพันธุ์ BA.2.75 กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศ แทนที่สายพันธุ์ BA.5

จากการถอดรหัสพันธุกรรมแบบทั้งตัว (Whole genome sequencing) ของตัวอย่างในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันพบสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานของ BA.2.75 เช่น BA.2.75.2, BA.2.75.5.1 (BN.1), BA.2.75.1.2 (BL.2), BA.2.75.3.4.1.1.1.1 (CH.1.1) มากกว่า 856 ราย

นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์ BQ.1 ที่ระบาดในอเมริกาและยุโรปจำนวน 13 ราย ส่วนสายพันธุ์ XBB และลูกหลาน ที่ระบาดมากในสิงคโปร์ พบจำนวน 30 ราย

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนสายพันธุ์ XBC ซึ่งเป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตา และโอมิครอน BA.2 ที่มีข่าวระบาดในประเทศฟิลิปปินส์ พบเพียง 1 ราย และเนื่องจากในปัจจุบันสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศเกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ไม่พบสายพันธุ์เดลตาแล้ว จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดการผสมกันเป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอมิครอนขึ้นภายในประเทศ และหากไม่พบว่าแพร่ได้เร็วก็จะหายไปในที่สุด

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับสายพันธุ์ BA.2.75 มีการกลายพันธุ์อย่างหนึ่งที่สำคัญคือ G446S บนโปรตีนหนาม ซึ่งจับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์ และ เกี่ยวข้องกับการหลบภูมิคุ้มกัน สถานการณ์ในประเทศที่มีสัดส่วนของสายพันธุ์ BA.2.75 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่ BA.5 บ่งชี้ว่ามีข้อได้เปรียบในการแพร่ระบาด เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้พบผู้ติดเชื้อในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ และทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้าสามารถป่วยซ้ำได้อีก แต่ทั้งนี้ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID อย่างสม่ำเสมอ และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเพาะเชื้อสายพันธุ์ที่พบใหม่ เพื่อการทดสอบกับภูมิคุ้มกันของคนไทยว่าสามารถลบล้างเชื้อ (Neutralize) ได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้การปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันโรค ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ รวมถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังจำเป็น โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน ขอให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น สามารถลดโอกาสติดเชื้อ และลดอาการรุนแรงเมื่อมีการติดเชื้อได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มแจ้งจับผู้ใหญ่บ้านคนดังใช้ปืนตบบ้องหูชายหนุ่มลูกบ้านศีรษะเลือดไหลโชคก่อนบังคับ"กราบตีนกู"-เปิดคลิปเหตุการณ์เป็นหลักฐานชัดเจนในขณะที่ผู้ว่าฯ เมืองคอน สั่งนายอำเภอตั้งคณะกรรมการสอบวินัยควบคู่กับการดำเนินคดีทางอาญาแล้ว
กลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันตั้งเวทีแจงปัญหาเกาะกูดย้ำเป็นของไทย แต่เส้นแบ่งเขตต้องชี้แจง ชาวตราดกว่า 150 ร่วมเวที
"ทนายสายหยุด" แจง 3 ประเด็น ที่มาของเงินเจ๊อ้อย ยันมีหลักฐานเด็ดพิสูจน์ "ษิทรา" ไม่เข้าข่ายความผิดฉ้อโกง
เจ้าของห้องเช่าร้องสื่อ รถกระบะคอก ขับชนหลังคาพังยับก่อนซิ่งรถหนี
รอดปาฏิหาริย์ ! เด็ก 9 ขวบ ลื้อกระเป๋าเก่า เจองูเห่า
“ภูมิธรรม” รมว.กห.ตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญทหารเรือ สอ.รฝ. หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด
เจ็ทสกี แปดริ้ว ดุเดือด ระดับโลกและมือใหม่ลงสนามประลองความเร็ว
อยุธยา เตรียมจัดคอนเสิร์ต AYUTTHAYA concert fest 2024 อย่างยิ่งใหญ่ กระตุ้นเศรษฐกิจภายในจังหวัด
"ทนายเดชา" ลั่น "ผกก.บางซื่อ" คนคุ้นเคย เหตุทนายตั้มเลือกแจ้งคดีเงิน 39 ล้าน
"ธรรมนัส" แจงชัดเจนไม่รู้จัก "ทนายตั้ม" เป็นการส่วนตัว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น