วันที่ 9 ธ.ค. 2565 ที่ศาลาชุมชนบ้านรำเบอะ ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ สถาบันลูกโลกสีเขียว รวมพลังคนลำน้ำชี เรียนรู้การอนุรักษ์สายน้ำแห่งชีวิตกสีเขียว ร่วมกับเครือข่ายคนลำน้ำชี ได้จัดเวทีเสวนาเครือข่ายลำน้ำชี โดยผู้ร่วมงานประกอบด้วย นางวรุตม์สุรางค์ ธรรมอารี ผู้อำนวยการสถาบันลูกโลกสีเขียว , ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร , ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้งศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า ร่วมถึงชุมชน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา พร้อมทั้งผู้เกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์ใน 8 พื้นที่ตลอดสองฝั่งลำน้ำชีในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ประกอบด้วยกลุ่มต้นน้ำและปลายน้ำที่ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ในแต่ปี ร่วมวงเสวนาในครั้งนี้ด้วย
นางวรุตม์สุรางค์ ธรรมอารี ผอ.สถาบันลูกโลกสีเขียว กล่าวว่า “การจัดงานเสวนาเครือข่ายลำน้ำชีนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งบทบาทของสถาบันฯ ในการเชื่อมประสานและสร้างความร่วมมือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับชุมชน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม”ภายในงานเป็นการเสวนาสร้างความเข้าใจนิเวศสายน้ำ ป่าริมน้ำ และการใช้ประโยชน์ สถานการณ์ และภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน เพื่อร่วมหาทางแก้ไขปัญหา ป้องกัน และพร้อมปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้เรียนรู้ความสำเร็จในการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าของชุมชนและบุคคลที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว
ต้นแบบด้านการอนุรักษ์ใน 8 พื้นที่ตลอดสองฝั่งลำน้ำชี ในจังหวัดสุรินทร์และจ.บุรีรัมย์ ประกอบด้วยกลุ่มต้นน้ำที่มี นางประมวล มาลัย จ.บุรีรัมย์ รางวัลประเภทบุคคล (ครั้งที่ 6 ปี 2547 ชุมชนบ้านพลวง อ.ปนราสาท จ.สุรินทร์ รางวัลประเภทชุมชน (ครั้งที่ 18 ปี 2561) และชุมชนตำบลเชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ รางวัลประเภทสิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน (ครั้งที่ 19 ปี 2561-62) กลุ่มกลางน้ำ ได้แก่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมป่าชุมชนลำน้ำชี จ.บุรีรัมย์ รางวัลประเภทสิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน (ครั้งที่ 20 ปี 2562-63) และหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ รางวัลเกียรติยศ ประเภทบุคคล (ครั้งที่ 3 ปี 2544)กลุ่มปลายน้ำ ประกอบด้วย ชุมชนบ้านอาล อ- โดนแบน ต.นาดี อ.เมือง จ.สุรินทร์ รางวัลประเภทสิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน(ครั้งที่ 11 ปี 2552) นายวิเชียร สัตตธารา จ.สุรินทร์ รางวัลประเภทบุคคล (ครั้งที่ 15 ปี 2556) และกลุ่มเยาวชน ชาวสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนลำดวนพิทยาคม อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ รางวัลประเภทกลุ่มเยาวชน (ครั้งที่ 18 ปี 2561)
โดยดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตรที่มาร่วมงานการเสวนาด้วย ได้กล่าวปาฐกถา
พิเศษ ในหัวข้อ “ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรน้ำ” ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากร
น้ำให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของชุมชน ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้งศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า กล่าวสรุปและสะท้อนผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ความสำคัญของระบบนิเวศลำน้ำชีกับป่า”ที่ระบุถึงแนวโน้มและทิศทางการจัดการสายน้ำและระบบนิเวศลำน้ำชี”ประสบการณ์ ความสำเร็จ และการเรียนรู้ที่ชุมชนได้แลกเปลี่ยนในงานเสวนาครั้งนี้ ทั้งการเตรียมความพร้อมตั้งรับ ปรับตัวต่อภัยคุกคามทางธรรมชาติและการพัฒนา การหาทางป้องกัน แก้ไขสภาพความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กระทั่งพลังงานทางเลือก จะเป็น “หมุดหมาย” สำคัญต่อการอนุรักษ์และพัฒนาการจัดการทรัพยากรเชิงภูมิทัศน์ เชื่อมโยงดิน น้ำ ป่า พลังงาน และผู้คนตลอดทั้งสายน้ำ ให้เข้ามาทำงาน และร่วมสร้างพลังแห่งอนาคตเพื่อส่งต่อธรรมชาติที่ยังคงอุดมสมบูรณ์สู่คนรุ่นต่อไป ”
ภาพ/ข่าว กฤษดากร กีรติธำรงค์เจริญ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.สุรินทร์