ออร่าระดับโลก “นายกฯลุงตู่” ร่วมเวทีผู้บริหารระดับสูง EU โชว์วิสัยทัศน์ ถึงเวลาผนึกอาเซียน พัฒนาการค้า-ลงทุนอุตสาหกรรม

ออร่าระดับโลก "นายกฯลุงตู่" ร่วมเวทีผู้บริหารระดับสูง EU โชว์วิสัยทัศน์ ถึงเวลาผนึกอาเซียน พัฒนาการค้า-ลงทุนอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 65 ณ โรงแรมโซฟิเทล บรัสเซลส์ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมผู้บริหารระดับสูงในช่วงอาหารกลางวัน (C-Suite Roundtable Luncheon) ซึ่งจัดโดยสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC) พร้อม นายฝั่ม มิญ จิ๊ญ (H.E. Mr. Pham Minh Chinh) นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และนายแฟร์ดีนันด์ โรมูอัลเดซ มาร์โคส จูเนียร์ (Mr. Ferdinand Romualdez Marcos Jr.) ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เข้าร่วมด้วย ซึ่งนายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

 

นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้พบกับผู้บริหารของสหภาพยุโรปและผู้บริหารจากภาคเอกชนชั้นนำของยุโรปในวันนี้ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน ระหว่างภูมิภาคอาเซียน-ยุโรป และฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ บริบทโลกในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายในหลายมิติ ทั้งปัญหาความไม่เท่าเทียม สภาวะเงินเฟ้อ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และวิกฤตด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานการณ์ความขัดแย้ง สะท้อนถึงความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในทุกมิติ โดยเน้นความสมดุล ซึ่งรวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและต่อโลก เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ครอบคลุม และเอื้อประโยชน์ให้ทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

 

 

ประเทศไทยเดินหน้าสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยขับเคลื่อนผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งไทยในฐานะประธานเอเปคปีนี้ได้ผลักดันเรื่องนี้ในกรอบเอเปคจนบรรลุ “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG” นายกรัฐมนตรีจึงยินดีที่สหภาพยุโรปมีข้อริเริ่ม Global Gateway ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจ BCG และสามารถสนับสนุนกับกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนได้ ซึ่งสหภาพยุโรปมีความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่จะช่วยสนับสนุนอาเซียนในเรื่องการผลิตและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การขนส่ง พลังงานทดแทน และการจัดการของเสีย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เสนอความร่วมมือหลัก 3 ด้าน เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียนและสหภาพยุโรปควบคู่ไปกับความยั่งยืน ดังนี้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและยั่งยืน โดยอาศัยการเงินสีเขียวหรือการลงทุนเพื่อความยั่งยืนควบคู่ไปด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่หลายองค์กรและธนาคารในสหภาพยุโรปร่วมสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เชื่อว่า สหภาพยุโรปยังสามารถสนับสนุนอาเซียนในการพัฒนา และสร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและคุ้มค่าในระยะยาว รวมทั้งสอดคล้องกับหลัก ESG ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) พร้อมหวังว่า ข้อริเริ่ม “Global Gateway” จะนำไปสู่การลงทุนของสหภาพยุโรปในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนในอาเซียนและในไทยมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้อาเซียนมีเครือข่ายพลังงาน คมนาคม และดิจิทัล ที่ทันสมัย สะอาด และยั่งยืนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการค้า การลงทุน และการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนยุโรปในอาเซียนด้วย

นายกรัฐมนตรีเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปร่วมกับเขตเศรษฐกิจในเอเชียที่มีพึ่งพาการนำเข้าก๊าซ LNG สูง พิจารณาความร่วมมือในการจัดทำ LNG ในตลาดโลก รวมทั้งบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการนำเข้า LNG เช่น ท่าเรือ และคลังเก็บ LNG เพื่อช่วยลดความผันผวนด้านราคา และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของทั้งสองภูมิภาค

 

2) การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อาเซียนมีเป้าหมายสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน เป็นร้อยละ 23 ของสัดส่วนพลังงานในอาเซียน ภายในปี 2568 และเพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว ไทยได้เริ่มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศให้ผลิตสินค้าจากพลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการใช้และการส่งออกสินค้าเหล่านี้ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรม EV โดยไทยยังมุ่งพัฒนาพลังงานกรีนไฮโดรเจน และยินดีร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการพัฒนาพลังงงานสะอาดนี้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในอาเซียน

นายกรัฐมนตรีหวังว่า สหภาพยุโรปจะพิจารณาสนับสนุนความพยายามดังกล่าว ผ่านการอํานวยความสะดวกและลดภาษีสําหรับการนําเข้าและส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป รวมถึงพิจารณาให้สิทธิ “ช่องทางพิเศษสําหรับสินค้าสีเขียวหรือ GreenLane” ด้วย

 

สุดท้าย 3) การยกระดับมาตรฐานของอาเซียนไปสู่การค้าที่ยั่งยืน นายกรัฐมนตรีชื่นชมสหภาพยุโรปในเรื่องการมีมาตรฐานทางการค้าที่สูง ทั้งในด้านกฎระเบียบ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน แรงงาน รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่อาเซียนกำลังพยายามพัฒนา หวังว่า สหภาพยุโรปจะร่วมมือกับอาเซียนและไทยในการส่งเสริมศักยภาพในเรื่องนี้ เพื่อยกระดับมาตรฐานของอาเซียนให้ทัดเทียมกับสหภาพยุโรปมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการจัดทำ FTA ที่มีคุณภาพสูงและครอบคลุม และเป็นแนวทางสําหรับการเจรจา FTA อาเซียน-EU ในอนาคต ทั้งนี้ ไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือด้านวิชาการของภูมิภาค ในการเสริมสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยินดีร่วมมือกับสหภาพยุโรปในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งสอดคล้องกับสปิริตของความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน-สหภาพยุโรป

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น