ผู้นำ EU และอาเซียน จัดประชุมสุดยอดร่วมกัน

EU ประกาศลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในอาเซียน ขณะที่บรรดาผู้นำในการประชุมสุดยอด ต่างพยายามกระชับความสัมพันธ์กัน ท่ามกลางสงครามยูเครนและการท้าทายจากจีน

สหภาพยุโรปจัดการประชุมสุดยอดเต็มรูปแบบครั้งแรก กับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อผลักดันความสัมพันธ์ทางการค้า กับประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ และได้มีการร่วมลงนามในข้อตกลงการค้า เพื่อเกื้อหนุนความสัมพันธ์กันและกัน เมื่อเผชิญกับสงครามยูเครน และการท้าทายจากจีน   ซึ่งทางนางเออร์ซูล่า ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวไว้ว่า อาจมีเส้นทางที่มาแบ่งแยกระหว่างเรา แต่จะมีค่ามากมาย หากมีการรวมเราเข้าด้วยกัน

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปพยายามที่จะผลักดันเส้นทางทางการทูต เพื่อกระตุ้นแนวรบระดับสากล ในการต่อต้านรัสเซีย หลังจากที่การรุกราน ได้สร้างความตื่นตระหนกทางเศรษฐกิจและการเมืองไปทั่วโลก โดย 9 ชาติอาเซียน (ยกเว้นเมียนมาร์ ที่ไม่ได้รับเชิญ) ที่เข้าร่วมประชุมนั้น ต่างมีความเห็นที่แตกต่างกัน ในสงครามรัสเซียและยูเครน

สำหรับสิงคโปร์นั้น ได้ดำเนินการตามมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของตะวันตก ขณะที่เวียดนามและลาว ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางทหารใกล้ชิดกับรัสเซีย ต่างพยายามรักษาสถานะความเป็นกลางให้ได้มากที่สุด ส่วนประเทศไทย ก็มีการสงวนท่าทีกับการงดออกเสียงประณามรัสเซีย ในสหประชาชาติ ซึ่งมุมมองที่แตกต่างกันเหล่านี้ ได้นำไปสู่ความขัดแย้งเกี่ยวกับการประกาศของการประชุมสุดยอด ที่สหภาพยุโรปต้องการใช้ถ้อยคำรุนแรงประณามรัสเซีย แต่ในที่สุด สมาชิกส่วนใหญ่ ได้ระบุให้ประณามรัสเซีย ภายใต้มุมมองและการประเมินที่แตกต่างกันออกไป

นอกจากนี้ ในการประชุมสุดยอด ยังมีเรื่องของจีน ที่เป็นความหวาดหวั่นของยุโรป โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียน และหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ก็ยังระมัดระวังกับการถอยห่างออกจากจีน ความท้าทายนี้ ทำให้สหภาพยุโรปกระตือรือร้นที่จะเสนอตัวเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือได้ สำหรับเศรษฐกิจที่มีพลวัตของอาเซียน ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐด้วย

ทั้งนี้ อาเซียนและสหภาพยุโรประงับการผลักดันข้อตกลงการค้าร่วมกันเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว แต่ขณะนี้ ได้เริ่มมีความหวังว่า จะเริ่มความพยายามอีกครั้งสำหรับข้อตกลงแบบกว้างๆ เนื่องจากประเทศในสหภาพยุโรป กำลังผลักดันให้มีการกระจายห่วงโซ่อุปทานหลัก ออกจากจีน โดยทางฟอน เดอร์ เลเยน ได้มีการเสนอแพ็คเกจการลงทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่า 1 หมื่นล้านยูโร ภายใต้กลยุทธ์โกลบอล เกตเวย์ (Global Gateway) ของสหภาพยุโรป ที่ออกแบบมาเพื่อถ่วงดุลกับจีน และจนถึงตอนนี้ สหภาพยุโรปได้มีข้อตกลงกับเวียดนามและสิงคโปร์แล้ว และกำลังเดินหน้ากับอินโดนีเซีย ประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน รวมถึงกลับมาเจรจากับมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สหรัฐฯถล่มเป้าหมายฮูตีในเมืองหลวงเยเมน
ยูเครนเสียดินแดนปี 67 เพิ่ม 7 เท่าจากปี 66
ฝรั่งเศสถล่มไอเอสในซีเรีย
ผู้นำรัสเซียบอกประชาชน ปีใหม่มีแต่ก้าวหน้า
ราชกิจจาฯ ประกาศค่าแรงขั้นต่ำ 337-400 บาท มีผลทันที เริ่ม 1 ม.ค.68
ช็อตเดือด นทท.ญี่ปุ่น ปะทะตำรวจ ฉุนถูกห้ามปล่อยโคมคืนเคาต์ดาวน์ คูเมืองเชียงใหม่
บขส.เตรียมพร้อม คาดวันนี้ผู้โดยสารเดินทางกลับกรุงเทพฯ 9 หมื่นคน
"หนุ่ม" สุดผวา "พลุฉลองปีใหม่" พุ่งทะลุหลังคาเฉียดมุ้งลูกสาว หวิดทำไฟไหม้บ้าน
“สมศักดิ์” เปิดสถิติอุบัติเหตุทางถนน 10 วันอันตราย เข้าสู่วันที่ 5 ตาย 215 ราย
ดีเดย์ ! 1ม.ค.68 รัฐบาลลุยแก้ปัญหาบัญชีม้านิติบุคคล สกัดกั้นการเปิดบัญชีผิดกฎหมาย ป้องกันฟอกเงิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น