“ดุสิตโพล” เผยคนไทยส่วนใหญ่มองนักการเมือง ผ่านไป 5 ปี ยังเหมือนเดิม

ดุสิตโพล คนไทยเปรียบเทียบ 5 ปีผ่านไป นักการเมืองยังเหมือนเดิมร้อยละ 47.02 และแย่ลง 44.68 เบื่อนักการเมืองดีแต่พูด

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,157 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 11-14 ธันวาคม 2565 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่านักการเมืองไทย ณ วันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 47.02 และแย่ลง ร้อยละ 44.68 โดยนักการเมืองที่ประชาชนอยากได้ คือ มีความรับผิดชอบ มีผลงาน ทำงานเร็ว แก้ปัญหาเร็ว ร้อยละ 79.22 พฤติกรรมนักการเมืองแบบที่เบื่อหน่ายหรืออยากให้หมดไป คือ การพูดแต่ทำไม่ได้ ไม่รักษาสัญญา พูดให้ร้าย ใส่ร้ายป้ายสี ร้อยละ 87.50 ทั้งนี้คิดว่านักการเมืองทุกคนควรสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 40.71 และจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ ร้อยละ 39.07 ส่วน “พรรคการเมือง” ที่ประชาชนต้องการ คือ เป็นพรรคการเมืองที่โปร่งใส ดำเนินกิจการของพรรคอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 91.57 ปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้นักการเมืองช่วยแก้ไข คือ ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ร้อยละ 76.78 รองลงมาคือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 68.17 สุดท้ายแนวทางที่คิดว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่ผ่านมา คือ ต้องมีการเลือกตั้งที่โปร่งใส ยุติธรรม มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 76.65

ข่าวที่น่าสนใจ

จากผลการสำรวจเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มเจนเนเรชั่น พบว่า กลุ่มคนเจน Z หรือ New Voter ในการเลือกตั้งครั้งหน้ามองว่านักการเมืองที่ต้องการต้องเป็นนักบริหาร มีประสบการณ์ และเบื่อหน่ายนักการเมืองที่ “ดีแต่พูด” ทั้งนี้นักการเมืองจะสังกัดพรรคหรือไม่ก็ได้ ส่วนกลุ่มบูมเมอร์มองว่านักการเมืองต้องเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต และควรต้องสังกัดพรรคการเมือง ถึงแม้ทั้งสองเจนจะมีมุมมองต่อนักการเมืองที่ต่างกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าต่างก็ต้องการนักเมืองที่มีคุณภาพและเน้นการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศเหมือนกัน ไม่ใช่นักการเมืองที่เล่นการเมืองไปวัน ๆ

ดร.พัชราพรรณ นาคพงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผลจากการเสวนากลุ่มเรื่อง “นักการเมืองไทยไปทางไหนดี กับ 91 ปีของประเทศที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย” พบว่า การเมืองไทยยังยึดติดอยู่กับผลประโยชน์ที่มีผลต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน นักการเมืองยังมีบทบาทในภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม เช่น สังคมเมืองประชาชนคาดหวังการทำหน้าที่ในสภาเพื่อสนองตอบตามนโยบายพรรคที่ได้หาเสียงไว้ ในสังคมที่ห่างจากสังคมเมือง ประชาชนต้องการให้นักการเมืองเข้ามาดูแลทุกข์สุขทุกเรื่อง

สำหรับประเทศไทยอาจกล่าวไม่ได้ว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบนัก และก็ไม่เคยมีประเทศใดกล่าวอ้างเรียกว่าตนเองเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยหาใช่เพียงนิยาม แต่ต้องทำให้เป็นจึงจะเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ประชาธิปไตยของประเทศไทยยังคงให้สิทธิประชาชนได้เลือกตั้ง แต่ประชาชนจะได้ในสิ่งที่ตอบสนองกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ก็ไม่เป็นที่แน่ใจได้ และหากประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ใช่ ก็คงไม่ต้องมาสงสัยว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“พาณิชย์” ชี้เป้าผู้ประกอบการไทยลงทุน ทำการค้า ร่วมมืออาหารฮาลาลกับมาเลเซีย
ตั้งกรรมการสอบ 2 สห. นำขบวน "ไฮโซเก๊" รับสารภาพแล้วถูกจ้างไป อ้างดัดแปลงรถ ไม่ใช่ของหลวง
"ไฮโซเก๊" โดนแฉอีก มีรถนำขบวน แต่ขากลับนั่งวิน พบประวัติสุดฉาว คดีติดตัวเพียบ
จนท.พบเพิ่ม 4 ผู้สูญหาย ใต้ซากตึก สตง.โซน C เตรียมนำเครนยกแผ่นปูนเปิดทาง
จนท.ดีเอสไอ คุมตัวโบรกเกอร์แก๊ง “หมอบุญ” สอบเข้ม คาดส่งฟ้องในสัปดาห์นี้
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) รถบรรทุกหนักไร้คนขับของจีนทดสอบวิ่งในซินเจียง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน)\ หมอกขาวห่มแสงอรุณส่อง 'ภูเขาอูเหมิง' ในยูนนาน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนขุดพบ 'ภาพวาดในเปลือกหอย' เก่าแก่ 2,000 ปี
“นายกฯ อิ๊งค์” บี้ผลสอบข้อเท็จจริงตึก สตง.ถล่ม ลั่นต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด
"อิหร่าน" ตอกหน้า ไล่ "มะกัน" ไปคุยอ้อม หลัง "ทรัมป์" โวเจรจาตรงเสาร์นี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น