วันนี้ “วัน เหมายัน” 2565 พบกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี

ตะวันอ้อมข้าว, วัน เหมายัน, วัน เหยายัน 2565, ดวงอาทิตย์, ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ, เวลากลางคืนยาวนานที่สุด, เหมา ยัน คือ วัน เหมายัน คือ อะไร, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์

วันนี้ "วัน เหมายัน" กลางวันสั้นที่สุด และกลางคืนยาวนานสุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า ตะวันอ้อมข้าว

“วัน เหมายัน” 2565 เหมายัน คือ วัน เหมา ยัน คือ อะไร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เผยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่จะเกิดในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ วันเหมายัน หรือที่คนไทยเรียกว่า ตะวันอ้อมข้าว เวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ติตตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เผยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติรับลมหนาวส่งท้ายปี ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ เป็น “วัน เหมายัน” (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ทำให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า ตะวันอ้อมข้าว

 

 

 

ตะวันอ้อมข้าว, วัน เหมายัน, วัน เหยายัน 2565, ดวงอาทิตย์, ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ, เวลากลางคืนยาวนานที่สุด, เหมา ยัน คือ วัน เหมายัน คือ อะไร, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์

 

 

 

ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่แตกต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกลงมาทางใต้ สังเกตได้จากท้องฟ้าในช่วงนี้จะมืดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

 

จนกระทั่งดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งเฉียงไปทางทิศใต้มากที่สุดในวันเหมายันของแต่ละปี วันดังกล่าวจึงมีเวลากลางวันที่สั้นที่สุด และเวลากลางคืนยาวนานที่สุด สำหรับวันเหมายันในปีนี้

  • ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06:36 น.
  • และตกเวลาประมาณ 17:55 น.

รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาทีเท่านั้น

 

 

 

ตะวันอ้อมข้าว, วัน เหมายัน, วัน เหยายัน 2565, ดวงอาทิตย์, ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ, เวลากลางคืนยาวนานที่สุด, เหมา ยัน คือ วัน เหมายัน คือ อะไร, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์

 

 

 

นอกจากนี้ วันเหมายันยังเป็นวันแรกของการเข้าสู่ฤดูหนาวสำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ แต่สำหรับประเทศทางซีกโลกใต้นั้นจะนับเป็นวันแรกที่เข้าสู่ฤดูร้อน

 

 

สำหรับฤดูกาล เกิดจากแกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วย จึงทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง

 

 

 

ตะวันอ้อมข้าว, วัน เหมายัน, วัน เหยายัน 2565, ดวงอาทิตย์, ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ, เวลากลางคืนยาวนานที่สุด, เหมา ยัน คือ วัน เหมายัน คือ อะไร, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์

 

 

 

จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า เวลากลางวันจะมีระยะเวลายาวนานกว่ากลางคืน แตกต่างกับฤดูหนาวที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว เวลากลางคืนจะมีระยะเวลายาวนานกว่ากลางวัน

 

 

 

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่

  • วันครีษมายัน : วันที่กลางวันยาวนานที่สุด
  • วันเหมายัน : วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด
  • วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต : วันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

 

 

 

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มาเลเซียเรียกร้องอาเซียนผนีกกำลังต้านภาษีทรัมป์
โดนหนักแน่ “เอกนัฏ” จ่อฟัน “ซินเคอหยวน” เป็นคดีพิเศษเพิ่ม ลุยสอบซุกฝุ่นแดงมหาศาล
ทรัมป์พร้อมเจรจานานาชาติปมภาษีตอบโต้
สิงคโปร์ส่งแมลงสาบไซบอร์กกู้ภัยแผ่นดินไหวเมียนมา
UNEX EV เปิดตัว'ระบบสลับแบตเตอรี่'ในไทยใช้เวลา 3 นาที
นักวิชาการแนะนำเข้าเนื้อหมูสหรัฐ ควรพิจารณารอบด้าน หวั่นเจอผลกระทบระยาว ย้ำไทยมีการเลี้ยงได้มาตรฐานสากล
จับตา "ทรัมป์" พร้อมเจรจานานาชาติปมภาษีนำเข้า หลังตลาดหุ้นสหรัฐและทั่วโลกดิ่งต่อเนื่อง
"หนุ่มไฮโซเก๊" เครียดหนักโดนแฉ หลอก "คะน้า" ดาราดัง โดดระเบียงชั้น 3 ตกลงมาเจ็บหนัก นำตัวส่งรพ.
"ทูตแรงงานเมียนมา" เยี่ยมศูนย์พักผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม เร่งตรวจสอบเยียวยา
ฟ้าพิโรธ! พายุถล่มแพรกษาอ่วม ชาวบ้านขวัญเสีย อยู่ 7 ปีไม่เคยเจอแบบนี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น