คลังมอบของขวัญปีใหม่ปชช.ทุ่ม 1.86 หมื่นล้าน ทำเงินสะพัดกว่า 2.78 แสนล้าน

กระทรวงการคลัง มอบของขวัญปีใหม่ประชาชน ผ่าน 18 มาตรการ 30 โครงการย่อย เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 2.78 แสนล้านบาท จีดีพีเพิ่ม 0.76%

20 ธ.ค.65 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการ ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม, มาตรการและโครงการ ของสถาบันการเงินในกำกับของกระทรวงการคลัง , มาตรการและโครงการของส่วนราชการที่อยู่ในกำกับของกระทรวงการคลัง ซึ่งมี 18 มาตรการ หรือเป็นจำนวน 30 โครงการ

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอาคม กล่าวว่า สำหรับมาตรการทางภาษี การหัดลดหย่อนต่างๆ คิดออกมาแล้ว รายได้รัฐที่จะสูญเสียไป คิดเป็น 18,690 ล้านบาท จะไปช่วยทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยในช่วงไตรมาส 1 และปี 2566 ประเมินจะมีสภาพคล่องและการใช้จ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งการลงทุน กว่า 2.78 แสนล้านบาท ทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และส่งผลต่อจีดีพีเพิ่มร้อยละ 0.76 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ในส่วนของมาตรการ ประกอบด้วย

1.มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม อาทิ มาตรการ ช้อปดีมีคืน ปี 66” เมื่อซื้อสินค้าและบริการ สามารถหักลดหย่อน ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยแบ่งเป็น ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวน 30,000 บาทแรก จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ และค่าซื้อสินค้าหรือบริการ 10,000 บาท ออกใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าสร้างเงินหมุนเวียนในระบบ 42,000 ล้านบาท โดยโครงการนี้ สรรพากรสูญเสียรายได้ 6,200 ล้านบาท

สินค้าที่เข้าร่วมมาตรการ เช่น ค่าซื้อสินค้า และค่าบริการทุกประเภทที่ซื้อจากผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงค่าสินค้า OTOP และค่าเติมน้ำมัน

 

 

โดยไม่รวมถึงสินค้าและบริการ 10 ประการ ดังนี้ ค่าซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ค่าซื้อยาสูบ ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาว ซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 66 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 ก.พ. 66 และค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

สำหรับมาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 66” หวังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อขยายฐานภาษี และสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2566 ถึงวันที่ 15 ก.พ.2566

2.มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2566 โดยลดภาษีให้ในอัตราร้อยละ 15 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปีภาษี 2566 สำหรับการแจ้งประเมินให้ท้องถิ่นแจ้งประชาชนจากเดิมเดือนกุมภาพันธ์ ขยายไปเป็นเดือนเมษายน 66 และให้ประชาชนชำระภาษีไม่เกินเดือนมิถุนายน 66

3.มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม ร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (ทั้งบ้านมือ 1และมือ 2) เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 65 หวังลดภาระให้กับผู้ต้องการมีบ้าน

4.มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ โดยลดอัตราภาษีตามปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบินไอพ่นที่ใช้บินในประเทศ จากลิตรละ 4.726 บาท เหลือลิตรละ 0.20 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2566 จากเดิมครบกำหนดในสิ้นปี 65 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและบริการให้มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและบรรเทาผลกระทบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสายการบินภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 กระทรวงคลังขอความร่วมมือสายการบิน ในช่วงปีใหม่ ขอให้สายการบินลดค่าโดยสาร เพราะค่าโดยสารแพงมาก หรือจัดทำโปรโมชั่นให้กับผู้ซื้อตั๋วล่วงหน้า หลังจากคลังช่วยเหลือสภาพคล่องไปแล้วช่วงที่ผ่านมา

5.มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ตาม พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต 2560 ให้สิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อเนื่อง ณ สถานประกอบการเดิม ประเภทใบอนุญาตเดิม ที่ยื่นคำขอระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องภายหลังสถานการณ์โควิด19 เพื่อช่วยเหลือร้านค้าขายของไม่ได้ช่วงที่ผ่านมา แม้ราคาใบอนุญาตไม่สูงมากนัก แต่ช่วยเหลือรายย่อยได้ถึง 1.45 ล้านใบอนุญาติ

ขณะเดียวกัน ในส่วนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้มีมาตรการและโครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 ดังนี้

1.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จะมีโครงการชำระดีมีคืน ลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือน มาตรการส่งเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟู สำหรับสินเชื่อฟื้นฟู ให้กู้ 10,000 บาทต่อราย ปลอดดอกเบี้ย 1 เดือน

2.ธนาคารออมสิน มี 2 มาตรการใหญ่ ผ่านโครงการวินัยดี มีเงิน โดยมอบเงินรายละ 500 บาท ให้แก่ลูกค้าชำระดี ไม่ต่ำกว่า 3 ปี วงเงินกู้ไม่เกิน 2 แสนบาท ผ่านแอป MyMo ภายใน 25 ธันวาคม 65

3.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ ยกเว้นค่าดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs

4.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ (ธพว.) เช่น ผ่อนดีมีคืน (บัตรกำนันสูงสุด 300 บาท) มาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มอบของขวัญปีใหม่ ให้กับลุกค้าผ่อนชำระสม่ำเสมอได้รับเงินคืน 1,000 บาท ประกอบด้วยลูกค้ารายย่อยเดินบัญชีปกติ วงเงินกู้เงิน 2 ล้านบาท

6. EXim Bank จัดแพ็กเกจของขวัญปีใหม่ เพื่อผู้ส่งออก ผ่านสินเชื่อพลิกฟื้นธุรกิจส่งออก พร้อมคุ้มครองกรณีไม่ได้รับการชำระเงินค่าซื้อสินค้าจากต่างประเทศ พร้อมมาตรการแก้หนี้ รับปีใหม่กระต่าย

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการและโครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง 7 โครงการ ได้แก่

1)มาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 จากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

2)มาตรการของขวัญปีใหม่ปี 2566 ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน/ผู้ค้ำประกัน จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (บสอ.)

3)โครงการเที่ยวปีใหม่สุขใจไปกับพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 ให้แก่ประชาชน จากกรมธนารักษ์

4)โครงการสนับสนุนตลาดทุนและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนลดภาระแก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความสุขที่มั่นคงของทุกภาคส่วน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทัพย์ (ก.ล.ต.)

5)โครงการส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ลงทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี และมีภูมิคุ้มกัน ไม่ถูกหลอกลวง จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทัพย์ (ก.ล.ต.)

6)โครงการกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2566 จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

7)โครงการ “ชม ชิม ช็อป ยาสูบเชียงราย” จากการยาสูบแห่งประเทศไทย เปิดพื้นที่โรงบ่ม จัดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดเชียงราย นำชาวไร่นำสินค้ามาวางขาย ในช่วงฤดูหนาว คาดมีนักท่องเที่ยว 1 แสนราย

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น