ข่าวดี นักวิทย์สร้างเซลล์สืบพันธุ์ "แรดขาวเหนือ" จากสเต็มเซลล์สำเร็จ ช่วยตัวเมีย 2 ตัวสุดท้ายของโลก
ข่าวที่น่าสนใจ
ปัจจุบัน “แรดขาวเหนือ” (Ceratotherium simum cottoni) เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่เหลือตัวเมียเพียง 2 ตัวสุดท้ายบนโลก นั่นก็คือ นาจิน (Najin) วัย 33 ปีและลูกสาวของเธอ ฟาตู (Fatu) อาศัยอยู่ในศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่า Ol Pejeta Conservancy ในประเทศเคนยา
เมื่อเหลือสปีชีส์ตัวเมียเพียง 2 ตัว เห็นได้ชัดว่าพวกมันไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง ทีมงานกำลังพยายามหาวิธีที่จะช่วยให้แรด ขาวเหนือรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ โดยการใช้เซลล์ผิวหนังของแรดที่ตายแล้ว สร้างสเปิร์มและเซลล์ไข่ แล้วนำตัวอ่อนที่จะฝังลงในแรดขาวใต้
โดยแรดขาว เหนือเพศผู้ตัวสุดท้ายชื่อว่า ซูดาน เสียชีวิตไปในเดือนมีนาคม ปี 2018 ที่ผ่านมา ในปีต่อมา นักวิจัยพยายามรักษาสายพันธุ์นี้โดยใช้สเปิร์มจากแรดขาว เหนือตัวผู้ที่ตายแล้ว รวมทั้งซูดาน เพื่อปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ที่เก็บมาจากนาจินและฟาตู
มาซาฟูมิ ฮายาชิ (Masafumi Hayashi) หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซากะ เผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่สามารถเพาะเลี้ยงเซลล์สืบพันธุ์ในยุคแรกเริ่ม (PGCs) จากเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของของไข่แรดและสเปิร์มที่จำเป็นในการสร้างลูกแรดขาว เหนือตัวใหม่ที่มีชีวิต
และอีกวิธีหนึ่งคือการเก็บเซลล์ไข่จากฟาตู และผสมพันธุ์โดยใช้สเปิร์มแช่แข็งจากแรด ขาวเหนือที่ตายแล้ว แต่โชคร้ายที่ฟาตู ไม่สามารถอุ้มท้องได้ เนื่องจาก ปัญหาด้านเอ็นร้อยหวายจึงไม่สามารถรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ในขณะที่นาจินก็มีอายุมากเกินไปที่อุ้มท้อง และยังมีเนื้องอกในรังไข่ด้วย
ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปที่ท้าทายที่สุด ก็คือการทำให้ PGCs ที่สร้างขึ้นใหม่เติบโตเป็นเซลล์ไข่ที่มีชีวิต ซึ่ง ดร. Vera Zywitza เผยว่า เซลล์ต้นกำเนิดมีขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อเทียบกับเซลล์สืบพันธุ์ที่โตเต็มที่ และที่สำคัญที่สุดมีโครโมโซมเพียง 2 ชุดเท่านั้น ทีมวิจัยจึงต้องหาสภาวะที่เหมาะสมให้เซลล์ได้แบ่งตัวเพิ่มขึ้น เพื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมมากยิ่งขึ้น
ด้าน Thomas Hildebrant ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการสืบพันธุ์ในสัตว์ จากสถาบันวิจัยไลบ์นิทซ์ เผยว่า เนื่องจาก เราเหลือแค่ฟาตูเป็นผู้บริจาคไข่ธรรมชาติ ทำให้ความผันแปรทางพันธุกรรมของลูกหลานที่เกิดขึ้นจะน้อยเกินไปที่จะสร้างกลุ่มประชากรที่มีชีวิตได้ ทีมวิจัยจึงจำเป็นต้องสร้างเนื้อเยื่อรังไข่ขึ้นมาจากสเต็มเซลล์สัตว์ชนิดอื่น อย่างเนื้อเยื่อของม้า เพราะ ม้าเป็นหนึ่งในญาติสนิทที่สุดของแรดจากมุมมองทางวิวัฒนาการ
แม้จะยังมีอุปสรรคทางเทคนิคมากมายที่ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติต้องเผชิญ แต่พวกเขายังคงมีความหวังอยู่เสมอ เพื่อสปีชีส์อันยิ่งใหญ่นี้ หากพวกเขาทำสำเร็จ งานวิจัยในครั้งนี้จะกลายเป็นหนึ่งในผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยสปีชีส์ให้อยู่รอดต่อไปได้
ข้อมูล : newscientist และ iflscience
ข่าวที่เกี่ยวข้อง