จีนคุมเข้ม “โรงเรียนกวดวิชา” ประถม-มัธยม ห้ามครูในระบบสอน

จีนออกกฎคุมเข้ม "โรงเรียนกวดวิชา" ประถม-มัธยม ห้ามครูในโรงเรียนสอนในสถาบันเหล่านี้เด็ดขาด ตั้งเป้าให้เป็นเพียงส่วนเสริมต่อการศึกษาในโรงเรียนภายในปี 2024

จีนออกแนวปฏิบัติคุ้มเข้ม “โรงเรียนกวดวิชา” สถาบันการศึกษานอกระบบ ห้ามครูในโรงเรียนสอนในสถาบันเหล่านี้เด็ดขาด พร้อมแนวทางอื่น ๆ เพิ่มเติม ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

สำนักข่าวซินหัว รายงาน “โรงเรียนกวดวิชา” จีนออกแนวปฏิบัติ เพื่อเพิ่มการจัดระเบียบบรรดาโครงการกวดวิชานอกโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมและมัธยมศึกษาเอกสารแนวปฏิบัติข้างต้นซึ่งเผยแพร่โดยกระทรวงศึกษาธิการจีนร่วมกับหน่วยงานอีก 12 แห่ง ระบุข้อกำหนดหลายรายการ เช่น

  • โปรแกรมกวดวิชานอกระบบไม่ควรมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระเบียบของโรงเรียน
  • ขณะที่ชั้นเรียนกวดวิชา ม่ควรทับซ้อนกับเวลาเรียนของโรงเรียน
  • การกวดวิชาแบบออนไซต์ควรจบไม่เกินเวลา 20:30 น. ขณะที่หลักสูตรออนไลน์ไม่ควรจบเกิน 21:00 น.

 

 

 

จีน, โรงเรียนกวดวิชา, สถาบันการศึกษานอกระบบ, ค่าเรียน,​ การเรียน, ครู, วุฒิการศึกษา, การศึกษา, กวดวิชานอกระบบ

 

 

 

แนวปฏิบัติกำหนดว่า สถาบันการศึกษานอกระบบ ห้ามเรียกเก็บค่าเรียนสำหรับช่วงเวลาเรียนนานเกินกว่า 3 เดือน หรือสำหรับการเรียนนานเกิน 60 ชั่วโมง หรือเป็นจำนวนเงินมากกว่า 5,000 หยวน (ราว 24,800 บาท)

 

 

นอกจากนี้ พนักงานของสถาบันเหล่านี้จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษาระดับวิชาชีพหรือมีประกาศนียบัตรรับรองคุณสมบัติทางวิชาชีพ อีกทั้งครูที่ทำงานในโรงเรียนในระบบจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสถาบันนอกระบบเหล่านี้

 

 

จีน, โรงเรียนกวดวิชา, สถาบันการศึกษานอกระบบ, ค่าเรียน,​ การเรียน, ครู, วุฒิการศึกษา, การศึกษา, กวดวิชานอกระบบ

 

 

 

เน้นย้ำความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทของการศึกษาในโรงเรียนในฐานะสถาบันหลัก รวมถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการศึกษาที่มุ่งเน้นการสอบ

 

 

 

พร้อมชี้แจงอย่างชัดเจนว่าผลสำเร็จจากโครงการกวดวิชานอกโรงเรียน จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้กับเกณฑ์การรับเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษา

 

 

จีน, โรงเรียนกวดวิชา, สถาบันการศึกษานอกระบบ, ค่าเรียน,​ การเรียน, ครู, วุฒิการศึกษา, การศึกษา, กวดวิชานอกระบบ

 

 

ตั้งเป้ากำหนดกรอบนโยบายพื้นฐานสำหรับโปรแกรมกวดวิชานอกระบบทั่วประเทศภายในกลางปี 2023 พร้อมปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลตามปกติ รวมถึงตั้งเป้าให้ภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การเรียนสถาบันนอกระบบเป็นเพียงส่วนเสริมที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาในโรงเรียนภายในปี 2024

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น