“สาวิทย์” ฉะเดือดป้ายสถานีบางซื่อ 33 ล้าน ซัดพิรุธ”ร.ฟ.ท.”ทำไมต้องรีบ

"สาวิทย์" ฉะเดือดป้ายสถานีบางซื่อ 33 ล้าน ซัดพิรุธร.ฟ.ท.ทำไมต้องรีบ

ถือเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายฝ่ายติดตาม กับความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นกับการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากนายเติมพงษ์ เหมาะสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ ได้ทำหนังสือถึง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2565

แจ้งกรณี UNIQ ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มูลค่าโครงการสูงถึง 33,169,726.39 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เกี่ยวกับการใช้งบประมาณและความคุ้มค่าที่เกิดขึ้น

 

 

 

 

 

ขณะที่การตรวจค้นเพิ่มเติมของ Top News พบว่า “โครงการจ้างปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และ ตราสัญลักษณ์ของการถไฟแห่งประเทศไทย” อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายโครงการพิเศษและการก่อสร้าง การรถไฟฯ และมีการเผยแพร่อยู่ในเว็บไซด์ระบบจัดซื้้อจัดจ้าง ของการรถไฟฯ รหัสโครงการ EGP ๖๕๑๒๐๐๒๖๑๐๓ ลงวันที่ 21 ธ.ค. 2565 เวลา 13.44 น. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร 34 ล้านบาท

และเมื่อตรวจสอบเพิ่มเติม จากแบบ บก.01 หรือ ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและราคากลางในงานก่อสร้าง พบว่ามีการแสดงลักษณะงาน ไว้ดังนี้ “ประเภทงานอาคาร ปรับปรุงป้ายสถานีฯ บริเวณโดมด้านหลังของสถานีกลางบางซื่อ ทั้งในฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยกำหนดป้ายชื่อตัวอักษรภาษาไทย ขนาดสูง 3 เมตร กว้าง 2.6 เมตร หนา 80 เซ็นติเมตร ชื่ออักษรภาษาอังกฤษ ขนาดสูง 2.1 เมตร กว้าง 2.2 เมตร หนา 40 เซ็นติเมตร”

ส่วนรูปแบบของโครงการ ประกอบด้วย 1.งานโครงสร้างวิศวกรรรม 2. งานสถาปัตยกรรม 3. งานออกแบบ 4. งานติดตั้งและรื้อถอนวัสดุปิดแทนกระจกระหว่างใช้งาน โดยมีการคำนวณราคากลาง ณ วันที่ 7 ธ.ค. 2565 เป็นจำนวนเงิน 33,169,726.39 บาท

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้จากประเด็นปัญหา Top News ได้สอบถามความเห็นจาก นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) และ ที่ปรึกษา สมาพันธ์แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ระบุว่า เบื้องต้นจากการพูดคุยกับประธานสหภาพการรถไฟฯ ข้อมูลป้ายสถานีกลางบางซื่อ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง มีจำนวนตัวอักษร ฝั่งละ 35 ตัว รวมเป็น 70 ตัว เฉลี่ยเท่ากับตัวละ 5 แสน รวมตราสัญลักษณ์ ทั้ง ๆ ที่ราคาจริงไม่ควรเกิน 1 แสนบาท

 

แบบคิดแพงสุด ๆ แล้วก็ตาม หรือ คิดยอดรวมไม่ควรเกิน 10 ล้านบาท ดังนั้นกรณีที่เกิดขึ้นทำให้ทางสหภาพฯรถไฟฯ ตัดสินใจทำหนังสือด่วน เรียกร้องให้ผู้ว่าการรถไฟฯ ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด

ขณะเดียวกันเมื่อสอบถามว่าเคยเกิดเหตุการณ์ส่อทุจริตในลักษณะนี้มาก่อนหรือไม่ นายสาวิทย์ ระบุว่า เคยเกิดขึ้นกับการจัดซื้อจัดจ้างประเภทพวกป้ายของการถไฟฯ โดยแอบแฝงกาารทุจริตอยู่ในรูปแบบของการประมูลทั่วไป โดยการบวกตัวเลขผลประโยชน์ เข้าไปรวมอยู่ในสัญญาจ้างดำเนินโครงการก่อสร้างห้องน้ำ ซึ่งตนทำหน้าที่กรรมการสอบสวนแล้ว พบการทำป้ายเล็ก ๆ แสดงที่่ตั้งห้องน้ำมีราคาสูงเกินจริง ถึงป้ายละ 30,000 บาท ต่างจากกับครั้งนี้ที่เป็นสัญญาการจัดทำป้ายสถานีอย่างเดียว และถึงแม้ว่าจะอ้างว่าเป็นป้ายขนาดใหญ่ แต่ในสายตาประชาชนทั่วไป เห็นตรงกันว่ามีราคาแพงเกินกว่าควรจะเป็น

 

 

 

ประเด็นสำคัญคือป้ายสถานีรถไฟกลางบางซื่อ ไม่ควรนำประเด็นชื่อพระราชทาน มาเป็นเรื่องที่ต้องเร่งรีบดำเนินการการจัดจ้างทำป้ายสถานี เพื่้อเปิดใช้สถานีให้ทันตามกำหนด แล้วทำให้เกิดครหาเรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะทุกวันนี้ก็มีการเดินรถไฟจากหัวลำโพงมาสถานีบางซื่อเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่เหตุที่ควรนำมาอ้างว่า ต้องเร่งรัดให้ทุกอย่างเสร็จภายในวันที่ 19 ม.ค. 2566

หลังจากก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ กระทรวงคมนาคม มีกำหนดเปิดให้บริการขบวนรถไฟทางไกล ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป โดยการเดินขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ ในเวลา 13.19 น. เป็นขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ KIHA เพื่อการท่องเที่ยว เริ่มต้นทางสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางสถานีอยุธยา

ส่วนขบวนรถโดยสารเที่ยวแรก ที่จะออกจาก สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คือ ขบวนรถเร็วที่ 171 กรุงเทพ – สุไหงโกลก

นอกจากนี้ นายสาวิทย์ ย้ำด้วยว่า การจัดซื้อจัดจ้างในลักษณะพิเศษ หรือ เฉพาะเจาะจงที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องไม่สมควร ไม่สมเหตุสมผล ต่างกับวิธีปฏิบัติอื่น ๆ เช่น ภารกิจนั้นมีความจำเป็นเร่งด่วน หรีอ การประมูลในบางประเภท เมื่อขายซองประกวดราคาไปแล้ว ไม่มีบริษัทเอกชนรายหนึ่งรายใดสนใจ จึงมึความจำเป็นต้องดำเนินการด้วยวิธีพิเศษ เจาะจงจัดซื้อจัดจ้างบริษัทเอกชนที่เคยทำงานร่วมกับการรถไฟฯมาก่อน เพื่อทำให้งานนั้นเดินหน้าต่อไปได้โดยไม่มีปัญหา หรือ กรณีเกิดความเร่งด่วนต้องรีบจัดการ แก้ไข เฉพาะหน้า เช่น ระบบรางรถไฟมีปัญหา ต้องเร่งจัดการขนย้ายผู้โดยสารโดยด่วน แต่สำหรับเรื่องป้ายสถานีรถไฟกลางบางซื่อ ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วน แล้วต้องใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างแบบนี้

 

 

 

 

“ที่สำคัญจากการพูดคุยกับพรรคพวกที่ทำป้ายประชาสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากเป็นบริษัทที่การรถไฟฯเลือกเฉพาะเจาะจง ให้มารับงานในลักษณะนี้บ้าง เพราะถ้าได้รับงานคงสามารถทำกำไรตั้งตัวได้เลย และนี่้ก็คงสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกชองประชาชนทั่้วไป ที่เห็นว่าราคาจัดจ้างทำป้ายสถานีแพงเกินไป รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้มีการแสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า ทำไมต้อง 33 ล้านบาท แถมเป็นการว่าจ้างที่ใช้เวลาเร่งรัด เร่งรีบมากในช่วงเวลาไม่กี่วัน”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น