ไขข้อสงสัย เป็น “มะเร็ง” ควรงดเนื้อสัตว์ไหม มีคำตอบให้แล้ว

มะเร็ง หลอดอาหาร, มะเร็ง ต่อมน้ำ ลาย, มะเร็ง ใน ช่อง ปาก, มะเร็ง ต่อ ม ลูกหมาก, มะเร็ง, เนื้อสัตว์, เซลล์มะเร็ง, รักษามะเร็ง, งดอาหาร, สารอาหาร, มะเร็งลำไส้ใหญ่, เนื้อแดง, เนื้อที่ผ่านการแปรรูป, เนื้อแปรรูป, การสลายโปรตีน,​ โปรตีน

ไขข้อสงสัย หากป่วยเป็นโรค "มะเร็ง" ต้องงดกินเนื้อสัตว์ไหม พร้อมให้คำแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

แพทยสภา ไขข้อสงสัย หากเป็น “มะเร็ง” มะเร็ง หลอดอาหาร มะเร็ง ต่อมน้ำ ลาย มะเร็ง ใน ช่อง ปาก มะเร็ง ต่อ ม ลูกหมาก ควรงดรับประานเนื้อสัตว์ไหม? มีคำตอบให้แล้ว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

หลายคนมีความเชื่อที่ว่าเนื้อสัตว์หรือแม้กระทั่งสารอาหารต่าง ๆ จะไปกระตุ้นให้เซลล์มะ เร็งเจริญเติบโต ถึงกับมีการงดอาหารเพื่อรักษามะ เร็ง ในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้มารองรับอย่างเพียงพอ เนื่องจาก เซลล์มะ เร็งมักจะทำตัวเป็นกาฝาก คอยรับสารอาหารจากร่างกาย ถึงแม้เราจะงดอาหาร เซลล์มะ เร็งก็สามารถกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสลายสารอาหารต่าง ๆในร่างกายมาใช้ได้

 

 

 

ในทางตรงกันข้าม การงดอาหารจะทำให้เซลล์ร่างกายอื่น ๆ ที่ยังมีความต้องการสารอาหารได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลง

  • ติดเชื้อได้ง่าย
  • แผลหายช้า
  • และเพิ่มภาวะแทรกซ้อนจากการรักษามะ เร็ง
  • ทั้งจากการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง

ดังนั้น สมาคมโภชนาการของยุโรป (European Society for Clinical Nutrition and Metabolism หรือ ESPEN) จึงให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วย “มะเร็ง” ควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และไม่ควรงดอาหารโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือมีภาวะทุพโภชนาการ เช่น ผู้ป่วยที่กินได้น้อย มีน้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ

 

 

 

มะเร็ง หลอดอาหาร, มะเร็ง ต่อมน้ำ ลาย, มะเร็ง ใน ช่อง ปาก, มะเร็ง ต่อ ม ลูกหมาก, มะเร็ง, เนื้อสัตว์, เซลล์มะเร็ง, รักษามะเร็ง, งดอาหาร, สารอาหาร, มะเร็งลำไส้ใหญ่, เนื้อแดง, เนื้อที่ผ่านการแปรรูป, เนื้อแปรรูป, การสลายโปรตีน,​ โปรตีน

 

 

หลายท่านอาจเคยได้ยินว่าองค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลไว้ว่าการรับประทานเนื้อแดง (red meat) เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อที่ผ่านการแปรรูป (processed meat) เช่น แฮม ไส้กรอก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะ เร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่าการรับประทานเนื้อที่ผ่านการแปรรูปเพิ่มขึ้นทุก ๆ 50 กรัม/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงของมะ เร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 17 และการรับประทานเนื้อแดงเพิ่มขึ้นทุก ๆ 100 กรัม/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงของมะ เร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 18

 

 

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้คือการเพิ่มความเสี่ยงในคนทั่วไปที่ยังไม่ได้เป็นมะ เร็งและยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอในผู้ป่วยมะ เร็งโดยตรง นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นต้องงดการรับประทานเนื้อแดงโดยสิ้นเชิง

 

 

 

มะเร็ง หลอดอาหาร, มะเร็ง ต่อมน้ำ ลาย, มะเร็ง ใน ช่อง ปาก, มะเร็ง ต่อ ม ลูกหมาก, มะเร็ง, เนื้อสัตว์, เซลล์มะเร็ง, รักษามะเร็ง, งดอาหาร, สารอาหาร, มะเร็งลำไส้ใหญ่, เนื้อแดง, เนื้อที่ผ่านการแปรรูป, เนื้อแปรรูป, การสลายโปรตีน,​ โปรตีน

 

 

 

โดยคำแนะนำการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มักแนะนำให้จำกัดการรับประทานเนื้อที่ผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุดและรับประทานเนื้อแดงไม่เกินประมาณ 300-500 กรัม/สัปดาห์ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหลัก เนื่องจาก มักมีปริมาณเกลือโซเดียม ไขมันอิ่มตัว และสารอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

 

 

 

ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วย “มะเร็ง” จะมีความต้องการโปรตีนที่มากขึ้น เนื่องจาก มีการอักเสบ (inflammation) ที่อาจเกิดจากตัวมะ เร็งเองและการรักษาโรคมะ เร็งด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น

  • การผ่าตัด การอักเสบจะทำให้เกิดการสลายโปรตีนในร่างกายโดยเฉพาะโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
  • เพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้ในระบบต่าง ๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน การซ่อมแซมแผล

 

 

 

มะเร็ง หลอดอาหาร, มะเร็ง ต่อมน้ำ ลาย, มะเร็ง ใน ช่อง ปาก, มะเร็ง ต่อ ม ลูกหมาก, มะเร็ง, เนื้อสัตว์, เซลล์มะเร็ง, รักษามะเร็ง, งดอาหาร, สารอาหาร, มะเร็งลำไส้ใหญ่, เนื้อแดง, เนื้อที่ผ่านการแปรรูป, เนื้อแปรรูป, การสลายโปรตีน,​ โปรตีน

 

 

 

ดังนั้น ผู้ป่วยมะ เร็งควรได้รับโปรตีนมากกว่าคนทั่วไป คือ 1-1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน (คนทั่วไปควรได้รับ 0.8-1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน) ซึ่งเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี การงดเนื้อสัตว์อาจทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ

  • ส่งผลเสียทำให้กล้ามเนื้อลีบ
  • ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง
  • ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
  • เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

 

 

 

สรุป

  • ผู้ป่วยมะ เร็งสามารถรับประทานเนื้อสัตว์ได้ในปริมาณที่เหมาะสม
  • โดยอาจใช้หลักอาหารที่ดีต่อสุขภาพซึ่งถือเป็นทางสายกลาง ได้แก่ ควรรับประทานเนื้อสัตว์และโปรตีนจากแหล่งอื่นที่หลากหลาย ทั้งเนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว นม และไข่
  • รับประทานเนื้อแปรรูปให้น้อย รับประทานเนื้อแดงได้ในปริมาณที่เหมาะสม (ไม่เกิน 300-500 กรัม/สัปดาห์)
  • เหล่านี้จะทำให้ได้รับโปรตีนที่เพียงพอโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ
  • ยิ่งผู้ป่วยที่กินได้น้อย มีน้ำหนักลดเยอะ ยิ่งไม่ควรจำกัดเนื้อสัตว์ เนื่องจาก มักรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพออยู่แล้ว
  • อีกทั้งควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้การดูแลรักษาทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อไป

 

 

 

มะเร็ง หลอดอาหาร, มะเร็ง ต่อมน้ำ ลาย, มะเร็ง ใน ช่อง ปาก, มะเร็ง ต่อ ม ลูกหมาก, มะเร็ง, เนื้อสัตว์, เซลล์มะเร็ง, รักษามะเร็ง, งดอาหาร, สารอาหาร, มะเร็งลำไส้ใหญ่, เนื้อแดง, เนื้อที่ผ่านการแปรรูป, เนื้อแปรรูป, การสลายโปรตีน,​ โปรตีน

 

 

 

ข้อแนะนำ

ผู้ป่วยมะ เร็งควรงดเนื้อสัตว์หรือไม่ ?

  • ผู้ป่วยมะ เร็งไม่จำเป็นต้องงดเนื้อสัตว์ เนื่องจากมีความต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้น การงดอาจทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ
  • ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ คือ 1 – 1.5 กรัม/ น้ำหนักตัว 1 กก./วัน
  • เนื้อสัตว์สุก 2 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ 1 ฟองใหญ่ หรือไข่ขาว 2 ฟอง
  • นม 1 กล่อง
  • = โปรตีนประมาณ 7 กรัม

 

 

ข้อมูล : แพทยสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น