BTS จี้รัฐเร่งตัดสินใจแก้หนี้รถไฟฟ้า แจงภาระหนัก แบกดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่ม

BTS จี้รัฐเร่งตัดสินใจแก้หนี้รถไฟฟ้า แจงภาระหนัก แบกดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่ม

ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม สำหรับปัญหาภาระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวกว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจนจากภาครัฐ และกทม. จนทำให้เกิดคำถามว่า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในฐานะภาคเอกชน จะทนแบกรับภาระหนี้สะสมไปได้นานแค่ไหน ภายใต้ความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ใช้บริการหลายแสนคนต่อวัน

 

ล่าสุด วันนี้(11 ม.ค.66) นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ได้ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOPNEWS ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า สำหรับภาระหนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ขณะนี้อยู่ที่กว่า 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของสัญญาจ้างเดินรถที่มีด้วยกัน 2 สัญญา คือ ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 รวมเป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท และ ในส่วนของค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลที่ 20,000 ล้านบาท

โดยในส่วนของสัญญาจ้างเดินรถนั้น ทาง BTSC ได้มีการยื่นฟ้องศาลปกครองกลางไปเมื่อประมาณปี 2564 และศาลปกครองกลางได้มีการตัดสินให้กรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคม ร่วมกันชำระหนี้ก้อนดังกล่าว แม้ภาระหนี้จะอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยพบว่ายังคงเดินอยู่ทุกวัน ซึ่งในส่วนของภาระหนี้ดังกล่าวในวันที่มีการยื่นฟ้อง คือ เดือน พ.ค. 62 ถึงเดือน พ.ค. 64 และยื่นฟ้องในเดือน ก.ค. 64 วงเงินอยู่ที่ประมาณ 12,000 ล้านบาท จวบจนมาถึงปัจจุบันนี้ ( ม.ค.66) และเมื่อเดือน พ.ย. 65 ทางด้าน BTSC ได้มีการยื่นฟ้องเพิ่ม ซึ่งการยื่นฟ้องดังกล่าวถือเป็นหน้าที่ของบริษัท เพราะเมื่อมียอดหนี้เพิ่มขึ้นมา บริษัทมีหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น ที่จะต้องทวงถามหนี้ และเมื่อทวงถามไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง โดยการยื่นฟ้องครั้งนี้มียอดเงินอยู่ที่กว่า 1.1 หมื่นล้านบาท จากสัญญาค่าจ้างเดินรถของส่วนต่อขยายที่ 1 และ ส่วนต่อขยายที่ 2

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับในส่วนสัญญาค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล วงเงิน 20,000 ล้านบาท ขณะนี้ อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารเอกสารทั้งหมด ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และที่ผ่านมาได้มีการทวงถามทางด้านบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT ไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับคำตอบใดๆ ซึ่งสุดท้ายแล้ว ทางบริษัท อาจจะต้องยื่นฟ้องศาลหรือไม่ ยังไม่แน่ใจ เพราะอยู่ในส่วนของขั้นตอนการพิจารณาและเตรียมเอกสารทั้งหมด

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงทางด้านความคืบหน้าที่ทาง กรุงเทพธนาคม จะมีการเชิญ BTSC ไปร่วมเจรจาเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ร่วมกันหรือไม่ นายสุรพงษ์ ระบุว่า หากจำได้ ทาง BTSC เคยเข้าไปที่กรุงเทพธนาคมครั้งหนึ่ง โดย ผู้บริหารชุดใหม่ได้เชิญบริษัท ไปหารือร่วมกับคณะกรรมการบริษัท และหลังจากนั้น ก็รอว่าเมื่อไหร่ทางด้าน กทม. หรือ กรุงเทพธนาคม จะเรียกทาง BTSC ไปหารือ หรือเจรจาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งบริษัทก็อยากให้มีการชำระหนี้โดยเร็วที่สุด

 

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด"

 

 

 

 

ส่วนในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ BTSC ต้องแบกรับจากภาระหนี้ที่เกิดขึ้นนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนั้น ตามคำสั่งศาล หรือ ตามสัญญาก็ยังมีอยู่ โดยเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ผูกกับดอกเบี้ย MLR+1 ตามสัญญา และเมื่อใดที่ทางด้านของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือธนาคารพาณิชย์ มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยที่ทางกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพธนาคม จะต้องจ่ายให้ BTSC

ขณะเดียวกัน ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. หรือ แบงค์พาณิชย์ ก็มีผลกระทบกับบริษัท เช่นเดียวกัน เนื่องจากบริษัทได้มีการไปกู้เงิน ก็มีดอกเบี้ยเช่นกัน เมื่อมีการปรับอัตราดอกเบี้ย บริษัทก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

แต่สิ่งที่บริษัทมีความเป็นห่วง คือ ในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่ม ที่จะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายต่างๆให้เพิ่มขึ้น เป๋นภาระกับบริษัทหนักขึ้น ก็อยากให้มีการดำเนินการในส่วนของภาระหนี้ที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้น ยกตัวอย่างคือ มูลหนี้ทั้งหมดประมาณ 4 หมื่นกว่าล้านบาท หากอัตราดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 1% ต่อปี ใน 1 ปีจะเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 400 ล้านบาท คิดเป็นมูลหนี้เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น 1% ต่อปี วันละประมาณกว่า 1 ล้านบาท หรือหากจะแยก เป็นในส่วนของค่าจ้างเดินรถที่ 2 หมื่นล้านบาท ดอกเบี้ย 1% จะอยู่ที่ ประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี

ขณะเดียวกันในส่วนของค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายที่รัฐจะต้องจ่ายก็จะเป็นไปตามอัตราดอกเบี้ย บริษัทก็ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็ไม่มีใครได้ประโยชน์

 

 

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการตัดสินใจของรัฐบาล หากรัฐบาลยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป บริษัทจะแบกภาระหนี้ได้อีกนานแค่ไหนนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในเรื่อง การต่อสัญญานั้นไม่ใช่เป็นบริษัทที่ไปขอให้ต่อสัญญา โดยบริษัทอยากให้มีการชำระหนี้โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ไม่มีภาระเรื่องค่าใช้จ่าย ส่วนเรื่องการต่อสัญญา เป็นเรื่องของรัฐบาลที่แนวทางแก้ไขปัญหา

ส่วนคำถามที่ว่าเราจะอยู่แบบนี้ไปอีกนานไหม อันนี้ก็ตอบอยาก แต่นโยบายของท่านประธาน นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) ได้มีปณิธานออกสื่อไปแล้ว ว่า เราจะไม่หยุดเดินรถ แต่จะทำเมื่อเราไม่ไหวจริงๆ เช่น หาก เราไปกู้เงินธนาคารหรือเราไปออกบอนด์ต่างๆ แล้วไม่มีคนให้ เราไม่มีเงินจะจ่ายพนักงาน ไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันนั้นอาจจะเป็นความจำเป็นไม่สามารถที่จะไม่สามารถให้บริการได้ และคงเป็นสิ่งสุดท้ายที่เราจะทำ

 

ในส่วนของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะกระทบต่อหุ้นกู้ของบริษัทหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า คงไม่กระทบเพราะเราได้มีการออกหุ้นกู้ไปแล้ว และ ดอกเบี้ยคงที่ แต่ในส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกวันอาจทำให้บริษัทมีการออกหุ้นกู้เพิ่ม ซึ่งหากเป็นการดำเนินการเช่นนั้นในส่วนของอัตราดอกเบี้ยใหม่ก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน และค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

 

นายสุรพงษ์ ระบุว่า สำหรับคดีความของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น มีที่ศาลปกครองกลาง ที่ทางด้านของ BTSC ได้ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรุงเทพธนาคม (KT) ในเรื่องของการชำระหนี้ ซึ่งศาลปกครองกลางได้ตัดสินมาแล้ว และอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ของกทม และ KT และอยู่ในขั้นตอนของการที่ศาลส่งคำอุทธรณ์ของแต่ละฝ่ายให้อีกฝ่ายพิจารณาอยู่ แต่ก็ยังไม่มีการนัดและยังไม่มีการนัดพิจารณาครั้งใหม่

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึง การแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวหากยังไม่มีความคืบหน้าหรือการตัดสินใจหรือการใช้หนี้ก่อนการเลือกตั้งใหม่ ทางด้าน BTSC มีความกังวลใจในเรื่องนี้หรือไม่ นายสุรพงษ์ ยอมรับว่า ทางบริษัท ค่อนข้างกังวลใจกับเรื่องนี้ เพราะบริษัทไม่อยากให้เกิดผลกระทบขึ้นกับประชาชน จึงอยากให้รัฐบาลหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เร่งพิจารณาและชำระหนี้มาให้บีทีเอสซี เพราะ หากบริษัทไม่มีเงินนำไปใช้ในจ่ายก็จะเกิดปัญหา ก็อยากจะฝากให้รัฐบาลหรือไม่ก็กทม. เร่งพิจารณาในเรื่องนี้และให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องรีบตัดสินใจเลือกสักทาง และที่สำคัญเรื่องนี้บริษัทได้ให้บริการอยู่ทุกวันก็มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ยังไงชำระได้มากน้อยเท่าไหร่อยากให้มีการดำเนินการ ส่วนจะจ่ายอย่างไรก็ให้มาหารือกัน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สัณหพจน์" เอาจริงลุยตรวจพื้นที่ภูเขาขยะทุ่งท่าลาด จี้หาคนรับผิดชอบ
นายกฯ ถึงไทยแล้ว ดีใจโผกอดลูกชาย-ลูกสาวที่มารอรับ ขณะ‘ผบ.ตร.’ เข้าพบรายงาน
กลุ่มผู้รับเหมาประกาศกฎเหล็กไม่ดำเนินงานต่อโครงการพลังงานสะอาด หาก UJV ไม่ชำระหนี้เก่าทั้งหมด
“ธรรมราช” ออกตัวแรง ช่วย “พระปีนเสา” ฉะ “หลวงพี่น้ำฝน” ระวังเจอสวน
ผ่า "ผังเมืองกรุงเทพ 2567" สีผังเมือง บอกอะไร
CPF - 7-Eleven จับมือพันธมิตร You&I Premium Suki Buffet เปิดตัวเมนูพร้อมทาน 'เกี๊ยวกุ้งทรัฟเฟิลซุปน้ำดำ CP x You&I'
ม.เจ้อเจียง เชื่อมั่น เครือซีพี ผนึกกำลังลงนาม MOU ร่วมพัฒนานวัตกรรมและทรัพยากรมนุษย์สู่อนาคตยั่งยืน
สมุทรสงครามผุดไอเดียเด็ด จัดการปลาหมอคางดำครบวงจร สร้างรายได้ให้ชุมชน
“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ยื่นลาออก พ้นสมาชิกพปชร. หลังมีปมคลิปเสียงหลุด
“ไมค์ ภาณุพงศ์” โผล่ตีรวน โดน Top news ถามไม่ผิดหนีทำไม โบ้ยโทษศาลไม่ยุติธรรม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น