“นายกฯ”แจงลดค่าครองชีพ ช่วยปชช. ลุยนโยบายลดเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา

“นายกฯ”แจงลดค่าครองชีพ ช่วยปชช. ลุยนโยบายลดเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทุกท่านครับ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (17 ม.ค. 66) ผมมีความยินดีที่จะขอแจ้งว่า ครม.ได้เห็นชอบให้ขยายมาตรการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้สูงเกินไป จนเป็นภาระค่าใช้จ่าย-ค่าครองชีพแก่ภาคครัวเรือน รวมทั้งภาคการผลิตในภาพรวม จากการขาดเสถียรภาพราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงผันผวน และเราไม่สามารถควบคุมเองได้ โดยการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 5 บาทต่อลิตร ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 4 เดือน (21 ม.ค. – 20 พ.ค. 66)

นอกจากเรื่องค่าครองชีพแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผม นั่นคือเรื่องการศึกษา ซึ่งตั้งแต่ผมได้เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้มุ่งมั่นดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษามาตลอด ด้วยการดูแลนักเรียน-นักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ด้อยโอกาส ผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ มีผลการดำเนินงานสำคัญ ดังนี้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

1. สร้าง “ระบบหลักประกันโอกาสการศึกษา” เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนกว่า 3.5 ล้านคน ไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา อีกทั้งมี “ระบบส่งต่อ” ให้ได้รับการศึกษาสูงกว่าภาคบังคับ จนถึงอุดมศึกษา หรือสายอาชีพ ซึ่งจะเป็นการขจัดวงจรความยากจนข้ามรุ่นให้หมดสิ้นไป

2. ช่วยเด็กและเยาวชนนอกระบบกว่า 40,000 คน ให้ได้กลับเข้าสู่การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะชีวิต และเสริมสร้างทักษะอาชีพ ที่ตอบโจทย์ชีวิตตามศักยภาพและความถนัดเป็นรายบุคคล เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ทุกคน โดยมีงานทำเป็นหลักแหล่ง มีอาชีพที่มั่นคง ลดภาวะการพึ่งพิง และสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้

3. เชื่อมโยงข้อมูลนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อ ผ่านระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่พบว่าเด็กที่ได้รับความช่วยเหลือจากการคัดกรองนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษของ กสศ.นี้ เมื่อปีการศึกษา 2561 ยังคงได้รับการศึกษาต่อเนื่อง และยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบ TCAS ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 20,018 คน กระจายอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 75 แห่ง ทั่วประเทศ

สิ่งที่น่าสนใจคือ รายงานของสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ได้จัดทำแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ และประเมินว่า นักศึกษาทั้ง 20,018 คนนี้ เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะเกิดประโยชน์เฉพาะตัวในทันที คือ การมีอาชีพและสร้างรายได้เลี้ยงชีพ-เลี้ยงครอบครัว ซึ่งจะต่อยอดไปสู่ประโยชน์ในภาพรวมของประเทศ โดยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นถึง 66,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 3.3 ล้านบาทต่อคน เกิดโอกาสหารายได้ที่สูงขึ้นกว่าการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายอย่างมาก

ซึ่งถ้าหากจะคำนวณต้นทุนในการศึกษาจนสำเร็จระดับปริญญาตรีโดยเฉลี่ยแล้ว จะอยู่ที่ประมาณ 8,200 ล้านบาท หรือคิดเป็น 410,000 บาทต่อคน แต่ได้ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจมากกว่า 7 เท่า ซึ่งนับว่าสูงมาก เทียบเคียงได้กับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้า แต่ที่ผมเห็นว่าสำคัญกว่านั้นคือความคุ้มค่าในเชิงสังคม เพราะนอกจากจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขจัดมรดกความยากจนข้ามรุ่นแล้ว ยังเสริมสร้างสมรรถะทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้สูงขึ้น ตอบโจทย์การพัฒนาในอนาคตอีกด้วย นี่คือสิ่งที่ผมมุ่งมั่นผลักดันนโยบายต่างๆ มาตลอด ทั้งหมดก็เพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลานของเราครับ

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน และ ข้อความ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น