สถานบำบัดรักษา "สุขภาพจิต" มีที่ไหนบ้าง ล่าสุด 2566 กระทรวงสาธารณสุข ประกาศ เพิ่มโรงพยาบาล - สถาบัน รวมเป็น 118 แห่ง
ข่าวที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ เรื่อง รายชื่อสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพ จิต พ.ศ. 2565 ซึ่งประกาศได้เผยแพร่ใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 และมีผลบังคับในวันถัดจากวันประกาศ หรือ 13 ม.ค. 66 เป็นต้นไป โดยสาระสำคัญของประกาศเป็นการปรับปรุงรายชื่อสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพ จิต เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ครอบคลุมการให้บริการตรวจ รักษา บำบัดสุขภาพ จิต ของประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งการออกประกาศล่าสุดนี้ ทำให้มีโรงพยาบาลที่เป็นสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพ จิต รวม 118 แห่ง โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงปี 2551 ที่พระราชบัญญัติสุขภาพ จิต พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกำหนดสถานบำบัดรักษาสุขภาพ จิต ซึ่งในขณะนั้น ทั่วประเทศมีให้บริการ 41 แห่ง ซึ่งสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพ จิต ทั้ง 118 แห่ง ตามประกาศล่าสุดนี้ ประกอบด้วย
- โรงพยาบาลหรือสถาบันในสังกัดกรมสุขภาพ จิต กระทรวงสาธารณสุข 20 แห่ง
- โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งส่วนใหญ่คือโรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลประจำอำเภอ ที่มีความพร้อม รวม 86 แห่ง
- โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ รวม 7 แห่ง
- โรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์
- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในกำกับกรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลอานันทมหิดล สังกัดกรมการแพทย์ทหารบก
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
- โรงพยาบาลตุลาการเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม
นอกจากนี้ การขยายหน่วยให้บริการบำบัดรักษา ดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาช่องทางให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ จิต อาทิ สายด่วนกรมสุขภาพ จิต 1323 การให้ความรู้ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 1323 ปรึกษาปัญหาสุขภาพ จิต การเพิ่มฟังก์ชั่น ตรวจสุขภาพใจ ในแพลตฟอร์มหมอพร้อม เป็นต้น สำหรับผู้ต้องการตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาล/สถาบัน ซึ่งเป็นสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต สามารถตรวจสอบได้จากประกาศล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง