ทำความรู้จักอาการ "ตาบอดกลางคืน" หรือมองเห็นไม่ชัดในที่แสงสลัว พร้อมเปิด 4 สาเหตุสำคัญที่มาของอาการใกล้ตัวที่หลายคนไม่เคยรู้
ข่าวที่น่าสนใจ
โรค “ตาบอดกลางคืน” (Night Blindness) คืออะไร
- ภาวะตาบอด กลางคืนจะพบปัญหาการมองเห็นในที่มืด ซึ่งเป็นอาการที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาจทำให้การขับรถในเวลากลางคืนมีความลำบากในการมองเส้นทางและอาจเกิดอันตรายได้
- อาจทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องการขับรถในเวลากลางคืนควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตน์วนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า วิธีดูแลตนเองที่ดีที่สุด เมื่อมีปัญหาทางการมองเห็น
- ควรพบจักษุแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อการรักษาแต่เนิ่น ๆ
- เพราะ ปัญหาในการมองเห็นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ และอาจมีโรคร่วมแทรกซ้อนได้
- ซึ่งส่วนใหญ่ มักเป็นโรคที่รักษาได้ถ้าพบแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่มมีอาการ เช่น สายตาสั้น ต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา รวมทั้งอาการตาบอด กลางคืน หรือการมองเห็นในที่มืด
- การดูแลตนเองที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำให้ถูกต้อง ครบถ้วนเสมอ พบแพทย์ตามนัด และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไป
นายแพทย์อาคม ชัยวีระวัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวว่า ภาวะ “ตาบอดกลางคืน” หรือปัญหาการมองเห็นในที่มืด แสงสลัว จะพบว่าผู้ป่วยจะมีความลำบากในการทำกิจวัตรในที่แสงมืดหรือสลัว หรือต้องใช้เวลาปรับตัวในการเข้าในที่มืดนานกว่าปกติ
ลักษณะอาการ
- พบปัญหาการมองในสถานที่ที่มีแสงสลัว หรือที่มีแสงสว่างน้อย โดย
- มักจะเกิดอาการขณะที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนการมองจากที่ที่มีแสงสว่างมาก ไปยังที่แสงสลัว เช่น การเดินจากภายนอกอาคารเข้ามาในตัวอาคารการเข้าชมภาพยนต์ หรือการขับรถตอนกลางคืนที่มีแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ
- อาการตาบอด กลางคืนถือเป็นอาการสำคัญของโรคที่อาจทำให้มีความเสี่ยงเรื่องการขับรถในเวลากลางคืน ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
ตาบอด กลางคืน (Night blindness) ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่มองเห็นไม่ชัดในที่แสงสลัว หรือในเวลากลางคืน พบได้ในโรคของจอตาหลายโรค กล่าว คือ ในคนปกติภายในจอตาจะมีเซลล์รับรู้การเห็น (Photoreceptor cells) 2 ชนิด
1. Rod (เซลล์รูปแท่ง)
- Rod จะกระจายอยู่ทั่วไป แต่จะมีปริมาณมากบริเวณริม ๆ ของ จอตา (Peripheral retina) เป็นส่วนใหญ่
- ทำหน้าที่ในการมองเห็นในที่แสงสลัว
2. Cone (เซลล์รูปโคน)
- มีการกระจุกตัวอยู่บริเวณจอตาส่วนอยู่ตรงกลาง (Central retina) โดยเฉพาะที่เรียกว่า จุดภาพชัด (Macula)
- ทำหน้าที่ในการมองเห็นตรงกลางและในที่มีแสงสว่าง
- หากมีความผิดปกติของจอตาส่วนอยู่ตรงกลาง โดยเฉพาะในบริเวณจุดภาพชัด ความชัดเจนลดลง ร่วมกับการเห็นสีที่เปลี่ยนไป
- แต่ถ้ามีความผิดปกติของจอตาบริเวณริม ๆ โดยมีการทำลายหรือสูญเสียหน้าที่หรือมีการตายของ Rod จะทำให้ตามัวลงเวลากลางคืนหรือที่มีแสงสลัว ซึ่งเรียกว่า ตาบอด กลางคืน (Night blindness)
ภาวะมีการสูญเสียหน้าที่หรือการตายของ Rod พบได้ในหลายโรค อาทิเช่น
- การขาดวิตามิน A : ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการมองเห็น ขาดสังกะสี โดยวิตามิน A จำเป็นต้องทำงานร่วมกับสังกะสี
ดังนั้น จึงต้องกินสังกะสีให้เพียงพอ ซึ่งสามารถหาได้จากการกินถั่วเปลือกแข็ง เนื้อวัว หรือสัตว์ปีก
- ปัญหาสายตา : เช่น สายตาสั้น ต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา หรืออาจจะเกิดการผิดปกติที่จอประสาทตา
- ความบกพร่องทางพันธุกรรม : เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม (Retinitis Pigmentosa) ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้
- การใช้ยาบางชนิด : เช่น ยารักษาต้อหินบางชนิดที่ทำให้รูม่านตาหดตัวลง ยาในกลุ่มโคลิเนอร์จิก เอเจนท์
อาการตาบอดกลางคืน
- ในระยะแรกจะมีการสูญเสียลานสายตาส่วนริม และเมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น จะเริ่มมีการสูญเสียลานสายตาส่วนกลาง
- จนกระทั่งเหลือลานสายตาที่แคบมาก และจะมีการสูญเสียความสามารถในการปรับตัวในการมองเห็นในที่มืด
วิธีการรักษา
- electroretinography (ERG) ซึ่งจากการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว จะพบว่า มีการลดลงหรือสูญเสีย amplitude ของ waveform ทั้งที่มาจาก rod และ cone cell แม้ว่ายังพอสามารถมองเห็นได้ก็ตาม
- ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคให้หายขาดได้ จักษุแพทย์จะให้คำแนะนำเรื่องการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคและการรักษาแบบประคับประคองหรือการส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาเลือนราง เพื่อให้ใช้สายตาที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดได้
- การผ่าตัดฝังจอประสาทตาเทียม ก็จะสามารถทำให้มีระดับการมองเห็นเพียงพอที่จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
ดังนั้น ควรตรวจติดตามกับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินภาวะสายตาอย่างสม่ำเสมอ
การป้องกันตาบอด กลางคืน
- บางสาเหตุป้องกันได้ เช่น การขาดวิตามิน Aโดยการกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกมื้ออาหาร เช่น น้ำมันตับปลา เครื่องในสัตว์ ไข่แดง แครอท บร็อคโคลี่ ฟักทอง หรือกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาทะเลน้ำลึก เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว
- แต่บางสาเหตุ เช่น จากกรรมพันธุ์ เป็นโรคป้องกันไม่ได้
- แต่การพบจักษุแพทย์แต่เนิ่น ๆ แพทย์จะมีวิธีรักษาที่อาจช่วยชะลอการเสื่อมของจอตาให้ช้าลงได้
- การพบจักษุแพทย์ยังช่วยวินิจฉัยโรคร่วมที่ทำให้การมองเห็นลดลง และรักษาควบคู่กันไป เช่น ต้อกระจก ซึ่งยังพบได้ในผู้ป่วย RP (Retinitis Pigmentosa) เป็นต้น
ข้อมูล : กรมการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง