สังคมประชาธิปไตยต้องเป็น “สังคมแห่งความรู้” ไม่ใช่ “สังคมแห่งความเชื่อ”

สังคมประชาธิปไตยจึงต้องเป็น “สังคมแห่งความรู้” เพราะต้องพูดจาหารือกันด้วยเหตุผล คิดถึงเป้าหมายส่วนรวมหรือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ ไม่ใช่ "สังคมแห่งความเชื่อ" ที่เอาแต่เรื่องที่ต่างคนต่างเชื่อมาพูดกัน เนื่องจากความเชื่อของแต่ละคนนั้นไม่ได้เกิดจากความรู้ แต่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นของตน หรือความรัก โลภ โกรธ หลง อันเป็นอคติ ซึ่งแต่ละคนก็จะนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวหรือของพรรคพวกตัว

ปกรณ์ นิลประพันธ์

ปรัชญาพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ “การใช้เหตุผล” ผลพวงที่ตามมาคือสังคมประชาธิปไตยนั้นเรียกร้องให้มีพื้นที่ให้พูดจาหารือกันก็เพื่อให้ผู้คนจากภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมได้พูดจาหารือ หรือทำความเข้าใจร่วมกันเพื่อให้ได้ “ข้อยุติอันเป็นที่ยอมรับร่วมกัน” ของคนส่วนใหญ่ในประเด็นต่าง ๆ โดยเมื่อสังคมยังมีคนน้อย ๆ ทุกคนก็มีโอกาสแสดงความคิดเห็นด้วยตนเอง แต่พอคนมากเข้า ก็มีการเลือกตัวแทนหรือผู้แทนของแต่ละพื้นที่หรือแต่ละภาคส่วนมาแสดงความคิดเห็นแทน ซึ่งก็เป็นที่มาของการเลือกผู้แทน

การมองประชาธิปไตยจึงมองได้ทั้งในแง่แบบพิธี หรือมีการเลือกผู้แทน นั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่ประชาธิปไตยในแง่เนื้อหานั้น นอกจากจะหมายถึง “การเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง” แล้ว ข้อสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือบรรดาความคิดเห็นที่แสดงกันออกมานั้นต้อง “มีเหตุผล

ดังนี้ สังคมประชาธิปไตยจึงต้องเป็น “สังคมแห่งความรู้” เพราะต้องพูดจาหารือกันด้วยเหตุผล คิดถึงเป้าหมายส่วนรวมหรือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ ไม่ใช่ “สังคมแห่งความเชื่อ” ที่เอาแต่เรื่องที่ต่างคนต่างเชื่อมาพูดกัน เนื่องจากความเชื่อของแต่ละคนนั้นไม่ได้เกิดจากความรู้ แต่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นของตน หรือความรัก โลภ โกรธ หลง อันเป็นอคติ ซึ่งแต่ละคนก็จะนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวหรือของพรรคพวกตัว

อย่างไรก็ดี การสร้างสังคมแห่งความรู้นั้นยากกว่าการสร้างความเชื่อมากมายนัก เพราะกว่าจะได้มาซึ่งความรู้ต้องมีการตั้งคำถาม มีการแสวงหาคำตอบอย่างมีเหตุผล ต้องอ่านตำรับตำราต้องทดลองทดสอบมากมาย ต้องคิดวิเคราะห์ กว่าจะสรุปได้ แต่การสร้างความเชื่อง่ายกว่านั้นมาก เพราะเป็นการเล่นกับ “อารมณ์” หรือ “จริต” ของคนที่ไม่มีความรู้หรือคนซึ่งไม่รู้ การชวนเชื่อจึงไม่จำเป็นต้องมีความรู้อะไรเลย และยิ่งคนในสังคมมีความรู้จำกัดมากเท่าไร การสร้างความเชื่อยิ่งง่ายมากขึ้นเท่านั้น

อย่างเมื่อมีการพูดถึงการปฏิวัติของชาวฝรั่งเศส ก็จะกล่าวถึงเฉพาะแต่สถานการณ์ที่ย่ำแย่ลำเค็ญสมัยพระเจ้าหลุยส์ ที่ 16 เท่านั้น แต่กลับไม่มีใครพูดถึงถึงความยิ่งใหญ่และสมบูรณ์พูนสุขของฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 หรือก่อนหน้านั้นเลย และแทบจะไม่มีการร้อยเรียงต่อไปเลยว่า 10 ปี 6 เดือนเศษต่อมาอันเป็นจุดสิ้นสุดยุคแห่งการปฏิวัติในครั้งกระนั้น สถานการณ์บ้านเมืองของฝรั่งเศส “มืด” ขนาดไหนและเป็นเพราะอะไร ทั้ง ๆ ที่มีตำรับตำราให้อ่านกันมากมายเพียงแต่เป็นภาษาต่างประเทศเท่านั้น

การเลือกที่จะนำเพียงบางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์มานำเสนอราวกับเป็นจุดเริ่มต้นของความรุ่งเรืองรองผ่องใส จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับปรัชญาพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวข้างต้น เพราะไม่ใช่การสร้างความรู้ แต่เป็นการสร้างความเชื่อให้แก่คนซึ่งไม่รู้

การเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของคนไม่รู้โดยใช้กิโยตินเป็นองค์ประกอบเรื่อง ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่อาจจะทำให้ผู้ฟังเร้าใจ ทั้งที่จริงแล้วอุปกรณ์นั้นเป็นตัวแทนของความเกลียดชังและความทารุณโหดร้าย ซึ่งปัจจุบันสากลก็ถือว่าการใช้กิโยตินนั้นป่าเถื่อนอย่างยิ่ง และไปไกลถึงขนาดเรียกร้องให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตกันทั่วโลกกันแล้ว

การสร้างสังคมแห่งความรู้นั้นต้องใช้คนมีความรู้อย่างแท้จริงเป็นผู้สอน ผู้เรียนจึงจะได้ความรู้อย่างแท้จริงสืบต่อไป ถ้าให้คนซึ่งรู้เป็นท่อน ๆ จำมาเป็นตอน ๆ มาเป็นผู้สอน ก็จะได้ความรู้กระท่อนกระแท่นต่อ ๆ กันไป และถ้าผสมความเชื่อหรือมโนภาพของตนเข้าไปในการสอนด้วย ผู้เรียนก็จะซึมซับ “ความเชื่อ” ของผู้สอนไปด้วย ยิ่งถ้าผู้รับสารไม่มีการค้นคว้า หาคำตอบหรือความรู้เพิ่มเติม ก็จะกลายเป็นผู้ถูกขัดเกลาโดยความเชื่อของผู้ส่งสารไปอย่างน่าสงสาร

การอ้างตำราคลาสสิคอย่างพลาโต โซคราเตส อริสโตเติล เป็นอาทิ ในการสอน ผู้สอนก็ควรได้อ่านต้นฉบับเต็ม ๆ ของเอกสารนั้น รวมทั้งต้องเข้าใจบริบทของยุคสมัยด้วย ไม่ใช่อ่านแต่ secondary source ที่อ้างถึงบางท่อนบางตอนหรือบางประโยค แล้วนำมาขยายต่อเองด้วยจินตนาการ

การสร้างสังคมแห่งความรู้นั้นตำรับตำราต้องพร้อมให้เข้าถึง ผู้สอนหรือผู้พูดต้องมีความรู้อย่างแท้จริง ศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่ไม่รู้ต่อเนื่อง เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น และสอนหรือพูดโดยใช้เหตุและผล ไม่ใช่ความเชื่อส่วนตัว ผู้เรียนหรือผู้ฟังต้องรู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ ไม่ใช่สักแต่ว่าเชื่อ

พระสัมมาสัมพุทธะทรงวางหลักการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ไว้กว่าสองพันปีแล้วใน “กาลามสูตร” ความว่า
-มา อนุสฺสวเนน : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะฟังต่อ ๆ กันมา
-มา ปรมฺปราย : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะถือสืบ ๆ กันมา
-มา อิติกิราย : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะเขาเล่าลือกันมา
-มา ปิฏกสมฺปทาเนน : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะเขาอ้างตำราหรือคัมภีร์
-มา ตกฺกเหตุ : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะคิดเอาเอง
-มา นยเหตุ : อย่าปลงใจเชื่อโดยนำเรื่องนั้นเรื่องนี้มาปะติดปะต่อกัน
-มา อาการปริวิตกฺเกน : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะลักษณะอาการที่แสดงออกมาน่าจะเป็นไปได้ หรือเพียงเห็นด้วยตา หรือเพียงได้ยินกับหู เนื่องจากเรื่องราวหนึ่งนั้นมีอะไรมากกว่าเพียงที่เห็นหรือที่ได้ยินมา
– มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะเข้ากันได้จริตหรืออคติในใจตน
-มา ภพฺพรูปตา : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะผู้พูดแลดูน่าเชื่อถือ
-มา สมโณ โน ครูติ : อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะเป็นครูของเรา หรือเป็นคนที่เรานับถือ

เอวังก็มีด้วยกาลฉะนี้.

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดช้ำ หลังคำพิพากษาศาลฎีกา พ่อแม่ น้องหลิว 8 ปี ที่รอคอย โอดครวญ คงตายก่อนเยียวยา ไม่เคยได้รับการเยียวยา จากจำเลย หลังศาลฎีกา ตัดสิน จำคุกจำเลย ตลอดชีวิต คดี ผอ.โรงเรียน ฆาตกรรมลูกสาว สาวโรงงาน
พ่อเลี้ยงหื่น! มอมเหล้าลูกเลี้ยง วัย 16 ปี จนขาดสติก่อน ลวนลาม ขณะแม่อยู่ด้วยก็ไม่เว้น เครียดหนักเคยคิดสั้นฆ่าตัวตาย สุดอึ้ง!! เอาเรื่องไปบอกแม่ กลับไม่เชื่อ
พล.ต.ท.ธนายุตม์ ยื่นสำนวนคดี “แอม ไซยาไนด์” ให้อัยการด้วยตัวเอง 14 รายการ
ราชกิจจาฯเผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้ชื่อใหม่ "เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี"
“แม่สามารถ” เครียดจัด ผูกคอคาห้องขังดีเอสไอ จนท.ช่วยระทึก ห่วงลูกจะอดข้าวประท้วง ขอความเป็นธรรม
เคราะห์ร้าย ! หนุ่มวัย 18 ปี ขี่จยย. ถูกกันสาดหล่นใส่หัวเจ็บสาหัส
ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น