เช็ค “ฝุ่น” pm 2.5 ค่า ฝุ่ น pm 2.5 ค่า ฝุ่ น pm 2.5 วัน นี้ ค่า มาตรฐาน ฝุ่ น pm 2.5 ค่าฝุ่ นเมืองกรุงพุ่ง มลพิษติดอันดับ 12 ของโลก จากไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และเผาในพื้นที่เกษตรใกล้เคียง และฝุ่นข้ามแดน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News
ข่าวที่น่าสนใจ
รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร เผยว่า วันนี้ในช่วงเช้าค่า “ฝุ่น” พิษ PM2.5 (สารก่อมะเร็งกลุ่ม 1) เกินค่าแนะนำ 24 ชั่วโมงขององค์การอนามัยโลกเกือบ 6 เท่าในกรุงเทพฯ และภาคกลาง ขณะหลายพื้นที่ในภาคเหนือ ตะวันออก ตะวันตก และอีสานก็มีค่าฝุ่ นมลพิษสูงเช่นกัน
โดยสาเหตุหลักของฝุ่ นในแถบกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออก และตะวันตก มาจากความเร็วลมที่ลดลง เกิดภาวะฝาชีครอบต่ำ
จากข้อมูลที่รายงานโดย GISTDA พบจุดความร้อน 615 จุด โดยจุดความร้อนมากจากภาคเกษตร 46.5% ภาคป่าไม้ 46.5% และอื่น ๆ 6.99% ของจำนวนจุดความร้อนทั้งหมด
นอกจากนั้น ฝุ่ นข้ามแดนมาจากกัมพูชา เมียนมาร์ และ สปป.ลาว ซึ่งมีจุดความร้อนจำนวน 1158 จุด 999 จุด และ 403 จุด ตามลำดับ รวมจุดความร้อนใน 4 ประเทศอาเซียนตอนบน เผากันสิริรวม 3,586 จุด ถ้าดูจากทิศทางลม พบว่า ฝุ่ นพิษเกิดจากการเผากันเองภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นภาคเหนือและอีสานตอนบนที่มีฝุ่ นพิษข้ามพรมแดน
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งสถานการณ์ “ฝุ่น” ละออง PM2.5 พร้อมประสานงานแต่ละจังหวัดแก้ไขจุด Hotspots โดยระบุว่า เนื่องด้วยสภาพอากาศปิด อยู่ในช่วงฤดูหนาว ความกดอากาศสูง เพดานอากาศต่ำ จึงทำให้ฝุ่ นที่ถึงแม้จะมีเท่าเดิม แต่ความหนาแน่นจะมากขึ้น
โดยแหล่งกำเนิดฝุ่ นส่วนใหญ่มาจาก 2 แหล่ง คือ
ในส่วนของจุดความร้อน Hotspots (จุดหรือบริเวณที่มีค่าความร้อนมากผิดจากปกติบนผิวโลกที่เกิดจากการเผาไหม้) มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่วนในกรุงเทพฯ ไม่ค่อยมี Hotspots แต่ฝุ่ นละออง PM2.5 อาจมาจากที่อื่นได้ เช่น ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่กรุงเทพฯ เนื่องจาก อยู่ในช่วงการทำเกษตรกรรม
ดังนั้น กทม. อาจต้องทำหนังสือไปถึงจังหวัดข้างเคียง เพื่อขอความร่วมมือให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ขอแนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัย และควรตรวจสอบสภาพอากาศในเว็บไซด์
สำหรับขณะนี้ กทม.ได้พยายามอย่างเต็มที่ โดยกำจัดต้นตอของสาเหตุให้ได้มากที่สุด ลดควันดำจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความเข้มงวดมากขึ้น แต่สภาพอากาศที่ปิดเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯเท่านั้นแต่ต่างจังหวัดทางตอนเหนือขึ้นไปก็มีสภาพอากาศที่คล้ายคลึงกัน จึงต้องขอความร่วมมือจากเกษตรกรในต่างจังหวัดและจังหวัดเพื่อนบ้าน ให้ช่วยกันลดแหล่งกำเนิดของฝุ่ นไปด้วยกัน
ข้อมูล : กรุงเทพมหานคร และ Witsanu Attavanich
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น