logo

รู้จัก “เม่นหมวกกันน็อค” เม่นหมวกเหล็ก สัตว์ทะเลหายากในไทย

เม่นหมวกกันน็อค, เม่นหมวกเหล็ก, หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา, สัตว์ทะเลหายาก, หอยเม่น

ทำความรู้จัก "เม่นหมวกกันน็อค" หรือเม่นหมวกเหล็ก บางทีรู้จักกันในชื่อ หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา สัตว์ทะเลหายากในประเทศไทย

ทำความรู้จัก “เม่นหมวกกันน็อค” หรือเม่นหมวกเหล็ก เม่นทะเลหายากในไทย กับความสามารถสุดปัง สามารถต้านทานแรงปะทะของคลื่นทะเลได้มากถึง 27.5 เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นแรงที่สามารถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้นเลยทีเดียว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ให้ความรู้ประชาชน ชวนทำความรู้สิ่งมีชีวิตในทะเลหายากในไทย อย่างเม่นทะเล เม่นหมวกกันน็อค” หรือเม่นหมวกเหล็ก บางทีรู้จักกันในชื่อ หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา กับภาพลักษณ์แปลกตา ไม่มีขนหนามอันเป็นเอกลักษณ์อีกต่อไป

 

 

 

เม่นหมวกกันน็อค, เม่นหมวกเหล็ก, หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา, สัตว์ทะเลหายาก, หอยเม่น

 

 

เพราะ เม่นชนิดนี้เป็เม่นทะเล ที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มผิวลำตัวเป็นหนาม (Echinoderm) เช่นเดียวกับ

  • ดาวทะเล
  • ดาวขนนก
  • ดาวเปราะ
  • ปลิงทะเล

จัดเป็นสัตว์ทะเลหายากในประเทศไทย

 

 

 

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Colobocentrotus atratus รูปลักษณะที่แตกต่างจาก หอยเม่นทั่วไปก็คือ

  • เนื้อตัวที่เกลี้ยงเกลาดุจมุงด้วยกระเบื้อง
  • ไร้ซึ่งหนามแหลมแม้แต่อันเดียว

เพราะว่า หอยเม่น หมวกกันน็อคปรับตัวให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่อาศัยเนื่องจากถิ่นที่อยู่ของพวกมันมีคลื่นลมรุนแรง ทำให้มีนักล่าน้อยนักที่จะเข้าถึงตัวพวกมันได้ ประกอบกับการที่อยู่ในพื้นที่มีคลื่นลมรุนแรง หนามแหลมอาจทำให้พวกมันถูกซัดหลุดจากโขดหินที่อยู่อาศัย และเมื่อไม่มีผู้ล่าหนามแหลมที่ใช้ป้องกันตัวจึงหมดความจำเป็นไป

 

 

 

เม่นหมวกกันน็อค, เม่นหมวกเหล็ก, หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา, สัตว์ทะเลหายาก, หอยเม่น

 

 

 

ถิ่นอาศัย

  • สามารถพบได้ทั่วไปในเขต อินโด-แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย
  • ในประเทศไทยจะพบได้ยากมาก
  • จากงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบแรงยึดเกาะของเม่นหมวก กันน็อค Santos & Flammang (2007) พบว่า เม่นหมวก กันน็อคสามารถต้านทานแรงปะทะคลื่นได้ตั้งแต่ความเร็ว 17.5 เมตรต่อวินาที ไปจนถึง 27.5 เมตรต่อวินาที
  • หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพความเร็ว 27.5 เมตร/วินาที ซึ่งเป็นแรงที่สามารถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้นเลยทีเดียว

 

 

 

เม่นหมวกกันน็อค, เม่นหมวกเหล็ก, หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา, สัตว์ทะเลหายาก, หอยเม่น

 

 

 

เม่นหมวก กันน็อคพบครั้งแรกในปี 2530 โดย ดร.สมชัย บุศราวิช จากโครงการ First PMBC/DANIDA Training course and workshop on taxonomy, biology and ecology of echinoderms และมีรายงานการพบครั้งล่าสุดในปี 2547 โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ในรายงาน Putchakarn.S and Sonchaeng.P (2004). Echinoderm Fauna of Thailand: History and Inventory Reviews. ScienceAsia 30 (2004): 417-428 ซึ่งทั้ง 2 ครั้งพบที่เกาะราชา จ.ภูเก็ต

 

 

 

ข้อมูล : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ – Mu Ko Surin National Park

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
น่าห่วง "แม่น้ำยม" สายหลักพิษณุโลก เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทุกหมู่บ้านแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น