เปิดภาพใหม่จากเจมส์ เวบบ์ พบกลุ่ม "เมฆน้ำแข็ง" ระหว่างดวงดาว ห่างจากโลกไปประมาณ 630 ปีแสง เต็มไปด้วยองค์ประกอบในการสร้างดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และอาจรวมไปถึงสิ่งชีวิตด้วย
ข่าวที่น่าสนใจ
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ตรวจพบ กลุ่ม “เมฆน้ำแข็ง” ลึกลับชื่อว่า Chamaeleon l อยู่ระหว่างดวงดาว ห่างจากโลกไปประมาณ 630 ปีแสง มีลักษณะเย็นและมืดสนิท แต่ด้วยความไวต่อแสงอินฟาเรดที่ตาของมนุษย์มองไม่เห็น พบกับโมเลกุลซับซ้อนมากมาย
- ทั้งแอมโมเนีย
- มีเทน
- เมทานอล
- และคาร์บอนิลซัลไฟด์
องค์ประกอบเหล่านี้สามารถเป็นวัตถุดิบในการสร้างดวงดาว และชีวิตบนโลก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของชีวิต และในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ สรุปได้ง่าย ๆ ว่า บางที มนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้เช่นกันในพื้นที่ห่างออกไป 630 ปีแสงนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบเหล่านี้ไม่ได้เป็นหลักฐานการพบสิ่งมีชีวิตต่างดาว เนื่องจาก ยังมีปัจจัยที่ซับซ้อนอีกมากในการเกิดชีวิต แต่สิ่งที่คอนเฟิร์มได้แน่นอน คือ กลุ่มเมฆหมอกนี้จะรวมตัวกันกลายเป็นดาวฤกษ์
Melissa McClure หัวหน้าทีมวิจัยด้านดาราศาสตร์และผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่ง Leiden Observatory กล่าวว่า “ข้อสังเกตเหล่านี้ เป็นการค้นพบใหม่ที่เกี่ยวกับการก่อตัวของโมเลกุลที่เรียบง่ายและซับซ้อน ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างองค์ประกอบสำคัญของชีวิต เมทานอลถือเป็นโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนที่ง่ายที่สุด โดยความซับซ้อนในที่นี้หมายถึงมีอะตอมมากกว่า 6 อะตอมนั่นเอง”
เป็นเรื่องที่น่ายินดี หากไม่มีกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ก็คงไม่มีทางค้นพบความรู้ทางดาราศาสตร์ครั้งใหม่ เนื่องจากแสงที่ออกมาจากที่ต่าง ๆ ในเอกภพนั้นมักมาถึงโลกในรูปแบบอินฟราเรด อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้เราเปิดเผยถึงมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับจักรวาลมากยิ่งขึ้น
ด้านทีมงานในโครงการ จึงตั้งใจที่จะศึกษาวิวัฒนาการของกลุ่มเมฆ น้ำแข็งเหล่านี้ต่อไป บางทีอาจมีดวงดาวมากมายเกิดขึ้นพร้อมกับส่วนประกอบของชีวิตอย่างอุดมสมบูรณ์ในอนาคตก็เป็นได้
ข้อมูล : iflscience
ข่าวที่เกี่ยวข้อง