“ง่วงหลังกินข้าว” รู้จักฟู้ดโคม่า 4 สาเหตุ ตลกร้ายหลังกินอิ่ม

อาการฟู้ดโคม่า, ง่วงหลังกินข้าว, กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน, ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น, วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว, กินอิ่ม, ทริปโตเฟน, กลูโคส, กินอาหาร, ฮอร์โมนอินซูลิน, ง่วงหลังท้องอิ่ม, โคลีซิสโตไคนิน

เปิด 4 สาเหตุชัด ๆ ทำไมถึง "ง่วงหลังกินข้าว" หรือฟู้ดโคม่า พร้อมแนะวิธีป้องกันอาการยอดฮิต ไม่ให้กินอิ่มแล้วง่วงหนักมาก

ทำความรู้จักที่มาของ อาการ “ง่วงหลังกินข้าว” กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น รู้จักกันในชื่อ ฟู้ดโคม่า พร้อมแนะวิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ทำความรู้จักอาการฟู้ดโคม่า หรืออาการ “ง่วงหลังกินข้าว” อาการยอดฮิตที่หายคนต้องเผชิญ กินอิ่มทีไร เป็นอันหนังตาหย่อนทุกที ยิ่งเจอแอร์เย็น ๆ ยิ่งเบลอยกใหญ่ เปิด 4 สาเหตุชัด ๆ ทำไมอาการนี้ถึงเกิดขึ้นทุกครั้งหลังกินเสร็จ มีคำตอบให้แล้ว

อาการของฟู้ดโคม่า

  • ขณะที่เรารับประทานอาหารในแต่ละมื้อที่มักประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อผ่านระบบการย่อยอาหารแล้วร่างกายจะกลั่นกรองน้ำตาลหรือกลูโคส ที่สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดนำไปใช้เป็นพลังงานในการใช้ชีวิตประจำ
  • แต่ก็ยังมีกรดอะมิโนที่ชื่อ ทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งสารนี้จะเข้าสู่สมองและระบบประสาท ทำให้ลดความตึงเครียด และทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้

อาการฟู้ดโคม่า, ง่วงหลังกินข้าว, กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน, ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น, วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว, กินอิ่ม, ทริปโตเฟน, กลูโคส, กินอาหาร, ฮอร์โมนอินซูลิน, ง่วงหลังท้องอิ่ม, โคลีซิสโตไคนิน

4 สาเหตุ ตลกร้ายที่ทำให้เกิดอาการฟู้ดโคม่า

1. ระบบประสาทแปรปรวน

  • เพื่อส่งต่ออาหารที่เรากินเข้าไปลงสู่กระเพาะและลำไส้เล็ก ร่างกายจะปรับตัวด้วยการเพิ่มการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเท­­ติก
  • ในขณะที่ลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก การเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันนี้ ส่งผลให้ร่างกายปรับเข้าสู่โหม­­ดพักผ่อนโดยอัตโนมัติ
  • ดังนั้น หากเรากินอาหารเข้าไปมาก แน่นอนว่าคงหลงอยู่ในภวังค์ความง่วงงุนนานกว่าปกติ เผลอ ๆ อาจสัปหงกและหลับไปไม่รู้ตัวเลยก็ได้

2. ดัชนีน้ำตาลปั่นป่วน

  • เมื่อร่างกายรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมาก น้ำตาลเหล่านี้จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด เปลี่ยนน้ำตาลที่กินให้เป็นกลูโคส เพื่อสะสมเอาไว้เผื่อร่างกายจ­­ะเรียกใช้เป็นพลังงาน
  • ทว่าเมื่อระดับกลูโคสในเลือดมีอยู่สูงเกินไป ร่างกายจะส่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเก็บกวาดส่วนเกินของกลูโคสทิ้­­งไปโดยอัตโนมัติ
  • เท่ากับว่าฮอร์โมนอินซูลิน ณ ขณะนั้นจะสูงเกินปกติ ส่งผลให้สมองหลั่งเซโรโทนินและเมลาโทนินออกมา
  • โดยทั้ง 2 ฮอร์โมนสื่อประสาทเหล่านี้ล้วนมีคุณสมบัติกล่อมให้ร่างกายรู้สึกง่วงงุน จนในที่สุดก็ผล็อยหลับไปได้ง่าย ๆ

อาการฟู้ดโคม่า, ง่วงหลังกินข้าว, กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน, ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น, วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว, กินอิ่ม, ทริปโตเฟน, กลูโคส, กินอาหาร, ฮอร์โมนอินซูลิน, ง่วงหลังท้องอิ่ม, โคลีซิสโตไคนิน

3. ทริปโตเฟนออกอาละวาด

  • เมื่อร่างกายมีกลูโคสสูง แถมฮอร์โมนอินซูลินยังหลั่งออกมามากกว่าปกติ ร่างกายจะเพิ่มความเข้มข้นของกรดอะมิโนทริปโตเฟน เพื่อให้สามารถ­­ดูดซึมกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ ได้มากขึ้น
  • ซึ่งทริปโตเฟนตัวนี้ เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่สมองจะทำให้รู้สึกง่ว­­งงุนได้
  • อีกทั้งผลการวิจัยยังเสริมด้วยว่า หากรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง จะยิ่งกระตุ้นกลูโคสในร่างกายได้ง่ายและเยอะขึ้นอีกหลายเท่า
  • ดังนั้น หากไม่อยากรู้สึกง่วงหลังท้องอิ่ม แนะนำให้กินคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและข้าวให้น้อย ๆ หน่อย

4. ฤทธิ์ของโคลีซิสโตไคนิน

  • ระหว่างที่กระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้น ร่างกายจำเป็นต้องหลั่งฮอร์โมนโคลีซิสโตไคนินออกมาด้วย เพราะ ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกอิ่ม และยังมีส่วนกระตุ้นสมองให้รู้สึกง่วงได้อีกต่างหาก
  • ดังนั้น หลังจากที่กินอิ่มไปสักพักและอยู่ในช่วงย่อยอาหาร อาการง่วงซึมจึงเข้ามาเยือนคุณเป็นประจำนั่นเอง

อาการฟู้ดโคม่า, ง่วงหลังกินข้าว, กินข้าวเสร็จแล้วง่วงนอน, ง่วงนอนหลังกินข้าวเย็น, วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว, กินอิ่ม, ทริปโตเฟน, กลูโคส, กินอาหาร, ฮอร์โมนอินซูลิน, ง่วงหลังท้องอิ่ม, โคลีซิสโตไคนิน

วิธีป้องกันอาการฟู้ดโคม่า

  • กินอาหารแต่พอดี เพื่อระบบประสาทจะได้ทำงานเป็นปกติ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขัดสี ขนมปังขัดสี เป็นต้น
  • เคี้ยวช้า ๆ และพยายามลดสปีดการรับประทานอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้รสอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น คราวนี้ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนโคลีซิสโตไคนินออกมาในระดับที่พ­­อดีกับความต้องการใช้งานในกระบวนการย่อย
  • ผลการวิจัยในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition เผยว่า ชินนาม่อนมีส่วนช่วยให้ร่างกายรู้สึกอิ่มนาน ซึ่งก็เท่ากับว่าเราจะไม่รู้สึกหิวบ่อย ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดก็อยู่ในเกณฑ์ปกติสม่ำเสมอ แม้ในช่วงที่กินอาหารอิ่มแล้ว

ข้อมูล : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น