สรุปชัด ๆ สาระสำคัญ “กฎหมายลูกเลือกตั้ง 2 ฉบับ” หลังมีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 โดยกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ขณะที่สาระสำคัญของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีทั้งการกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน รวมถึงการออกเสียงลงคะแนนให้ใช้บัตรเลือกตั้งส.ส.แบบละ 1 ใบ ซึ่งต้องมีลักษณะแตกต่างที่สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 โดยกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมืองนั้นก่อนหน้านี้ สภาได้ส่งมาถึงรัฐบาล โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับขึ้นทูลเกล้าฯแล้ว ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.2565 หลังจากนี้จะอยู่ในพระราชอำนาจ 90 วัน ตั้งแต่วันที่ทูลเกล้าฯไป

จากกรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566

สำหรับสาระสำคัญของ ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดการแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 เขต เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยมีส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน โดยมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

ส่วน วิธีการคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จะนำเอาคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองทั้งหมดมาหารด้วยจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน เพื่อหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคตามสัดส่วนคะแนน

ส่วน ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ) มีสาระสำคัญ คือ ค่าบำรุงพรรคการเมืองประเภทรายปีจากหนึ่งร้อยบาทเป็นยี่สิบบาทและประเภทตลอดชีวิตจากสองพันบาทเป็นสองร้อยบาท แก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อการผ่อนคลายให้สิทธิเสรีภาพมากยิ่งขึ้น

พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งในจังหวัดใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดในจังหวัดนั้น
กรณีที่พรรคการเมืองใดมีสาขาพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งสาขาหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดมากกว่าหนึ่งตัวแทนในจังหวัดใด ให้พรรคการเมืองนั้นกำหนดว่าจะให้สาขาพรรคการเมืองสาขาใดหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดใดในจังหวัดนั้น เป็นสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด

การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อเพื่อส่งให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด โดยต้องคำนึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง และแก้ไขเรื่องการทำระบบไพรมารีโหวตในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มค้างค่าเช่าหลักหมื่น ทิ้งขยะกองโตท่วมห้องไว้ให้เจ้าของหอดูต่างหน้า
"ศาลอุทธรณ์" ยืนโทษคุก 8 เดือน "สมบัติ ทองย้อย" อดีตการ์ดเสื้อแดง โพสต์หมิ่น "พล.อ.ประยุทธ์" 2 ข้อความ
สพฐ. ชูศึกษานิเทศก์ทั้งประเทศ กลไกขับเคลื่อน "เรียนดี มีความสุข" สร้างคุณภาพสู่ห้องเรียน
“เต้ อาชีวะ” เดือด! จัดหนัก UN ปล่อยต่างด้าวล้นรพ.รัฐ แย่งคิวคนไทย
ปัตตานีระทึก คนร้ายชักปืน จี้ "พนง.ร้านสะดวกซื้อ" ชิงเงินสด 1.2 ล้าน หนีลอยนวล
เตรียมพบเทศกาลนานาชาติ พลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 "จันทบุรีนครอัญมณี" ปีที่ 5 ชูเอกลักษณ์เมืองจันท์ อัญมณีอันเลื่องชื่อ
“สมศักดิ์” นำร่อง “ตู้ห่วงใย” บริการแพทย์ทางไกลเชิงรุกในชุมชน ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ 
"พงษ์ศักดิ์" ยื่นร้องกกต. ขอระงับรับรองผลเลือกตั้งนายกอบจ.ขอนแก่น ชี้พบเหตุหาเสียงส่อผิดกม.
“กฤษอนงค์” ไร้เงาคนยื่นประกัน นอนคุกคืนแรก ด้าน “บอสพอล” มอบทีมกม.ยื่นค้านประกันตัว
‘ทะเลสาบน้ำเค็ม’ โผล่กลางทะเลทรายในมองโกเลียใน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น