“ดุสิตโพล” ชี้เยาวชนไทยรุ่นใหม่ “กล้าคิด กล้าแสดงออก” แต่น่าห่วงใช้สื่อไม่เหมาะสม

"ดุสิตโพล" ชี้เยาวชนไทยรุ่นใหม่ "กล้าคิด กล้าแสดงออก" แต่น่าห่วงใช้สื่อไม่เหมาะสม

29 ม.ค. 2566 ปัจจุบันมีปัญหาสังคมที่เด็กและเยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องมากขึ้น ทั้งเป็นผู้ก่อเหตุและผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ความรุนแรงทางเพศ การบูลลี่จนถึงแก่ชีวิต หรือเป็นเหยื่อคดีทางการเมือง สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ศูนย์การศึกษาลำปาง จึงได้ทำการศึกษาในหัวข้อ “เยาวชนไทยกับอนาคตการพัฒนาประเทศ” เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแบบผสมผสานระหว่างการสำรวจข้อมูลทางออนไลน์และการเสวนากลุ่ม

โดยผลการสำรวจทางออนไลน์ ได้สำรวจความคิดเห็นในกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น 1,014 คน ระหว่างวันที่ 22-26 มกราคม 2566 พบว่า “เยาวชนไทยคนรุ่นใหม่” ณ วันนี้ มีความเป็นตัวเองสูง มั่นใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ร้อยละ 70.86 จุดเด่นของเยาวชนไทย คือ เก่งเทคโนโลยี การใช้สื่อโซเชียลต่าง ๆ ร้อยละ 74.31 สิ่งที่เป็นห่วง/กังวลเกี่ยวกับเยาวชนไทย คือ การใช้สื่อในทางที่ไม่เหมาะสม ใช้ในทางที่ผิด ร้อยละ 71.70 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเยาวชนไทย คือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว ร้อยละ 76.16 สิ่งที่อยากบอกกับเยาวชนไทย คือ เป็นคนดี ทำในสิ่งที่รักและเป็นสิ่งที่ดี ร้อยละ 47.97 สุดท้ายประชาชนเชื่อมั่นว่าเยาวชนไทย ณ วันนี้จะเป็นอนาคตของชาติ ในการพัฒนาประเทศ ร้อยละ 84.22

ข่าวที่น่าสนใจ

จากผลโพลพบผลที่น่าสนใจว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อมั่นต่อเยาวชนคนรุ่นใหม่สูงถึงร้อยละ 84 สะท้อนให้เห็นว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะฝากอนาคตของชาติไว้ได้ ดังนั้นทุกฝ่ายจึงควรร่วมมือกันในการสนับสนุน และสร้างพื้นฐานอนาคตที่ดีให้กับเขาเหล่านั้น เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเยาวชนในวันนี้คือผู้ใหญ่ที่ต้องแบกภาระในวันหน้า ดังนั้นเขาจึงควรมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมสนับสนุนอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นในมุมมองด้านต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม หรือการเมือง

 

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร แพทย์รัตน์ ผู้จัดการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง จากเวทีเสวนาในหัวข้อ “เยาวชนไทยกับอนาคตการพัฒนาประเทศ” วันที่ 12 มกราคม 2566 พบว่า เยาวชนเป็นรากฐานและอนาคตของประเทศ ความท้าทายคือ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตและครอบครัว ทั้งนี้ครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลสูงสุด ทางด้านความคิด ทัศนคติ ค่านิยม และแนวคิดของเยาวชน ดังนั้น การทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น การส่งต่อความรัก การรับฟังความคิดเห็นและการเป็นแบบอย่างที่ดีจึงเป็นแนวทางการพัฒนาเยาวชนที่สำคัญที่สุด นอกจากนั้น สถาบันการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เยาวชนค้นพบศักยภาพของตนเอง มีทักษะชีวิต ทักษะการทำความดีจนสามารถค้นพบอาชีพที่ดีในอนาคต รวมถึงสร้างกระแสสังคมผ่านโลกออนไลน์เพื่อให้เยาวชนใช้เป็นแบบอย่างและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น