ราชกิจจาฯ ประกาศหลักเกณฑ์แบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. 2 ฉบับ จำนวนราษฎรเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน และหลักเกณฑ์แบ่งเขตเลือกตั้ง 400 เขต

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2 ฉบับ ฉบับแรก ได้แก่ เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งส.ส.เป็นการทั่้วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ. 2564 โดยสาระสำคัญคือ

1.การกำหนดจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีจำนวน 66,090,475 คน

2.จำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 165,226 คน ต่อ ส.ส. หนึ่งคน

3.แจ้งจำนวนส.ส.และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ทั้ง 77 จังหวัด

ประกาศ กกต.ฉบับที่สอง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566

มีสาระสำคัญ ดังนี้ เมื่อกกต. ประกาศจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดแล้ว ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งภายใน 3 วัน โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกัน แล้วประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อย 3 รูปแบบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดเป็นเวลา 10 วันนับแต่วันปิดประกาศ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยแต่ละรูปแบบ ประกอบด้วย 1.รายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอ หรือตำบลเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขต 2.จำนวนราษฎรแต่ละเขตเลือกตั้ง จากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.หนึ่งคนในจังหวัดนั้น ทั้งนี้ผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของจำนวนเฉลี่ยต่อส.ส.หนึ่งคนในจังหวัดนั้น เว้นแต่เป็นกรณีมีความจำเป็นเพื่อให้ราษฎรในชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกันสามารถเดินทางได้สะดวก 3.เหตุผลประกอบการเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้ง 4. แผนที่แสดงรายการของพื้นที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยให้ติดประกาศไว้ ณ สำนักงานกกต.จังหวัด ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และให้เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงานกกต.จังหวัดรวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชนิดต่างๆ

 

 

อย่างไรก็ตาม ภายใน3 วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนให้ผอ.กกต.จังหวัดนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพรรคการเมือง และประชาชนในจังหวัดประกอบการพิจารณาเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัด แล้วรวบรวมสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดพร้อมผลการพิจารณาข้อเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดอย่างน้อย 3 รูปแบบเรียงลำดับความเหมาะสม เสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันถัดไป เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับแล้วและดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษา อย่างไรก็ตามเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งส.ส.เป็นการเลือกตั้งทั่วไปใช้บังคับ ให้กกต.ประกาศกำหนดส.ส.แบบแบ่งเขตที่แต่ละจังหวัดพึงมีและจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มค้างค่าเช่าหลักหมื่น ทิ้งขยะกองโตท่วมห้องไว้ให้เจ้าของหอดูต่างหน้า
"ศาลอุทธรณ์" ยืนโทษคุก 8 เดือน "สมบัติ ทองย้อย" อดีตการ์ดเสื้อแดง โพสต์หมิ่น "พล.อ.ประยุทธ์" 2 ข้อความ
สพฐ. ชูศึกษานิเทศก์ทั้งประเทศ กลไกขับเคลื่อน "เรียนดี มีความสุข" สร้างคุณภาพสู่ห้องเรียน
“เต้ อาชีวะ” เดือด! จัดหนัก UN ปล่อยต่างด้าวล้นรพ.รัฐ แย่งคิวคนไทย
ปัตตานีระทึก คนร้ายชักปืน จี้ "พนง.ร้านสะดวกซื้อ" ชิงเงินสด 1.2 ล้าน หนีลอยนวล
เตรียมพบเทศกาลนานาชาติ พลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 "จันทบุรีนครอัญมณี" ปีที่ 5 ชูเอกลักษณ์เมืองจันท์ อัญมณีอันเลื่องชื่อ
“สมศักดิ์” นำร่อง “ตู้ห่วงใย” บริการแพทย์ทางไกลเชิงรุกในชุมชน ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ 
"พงษ์ศักดิ์" ยื่นร้องกกต. ขอระงับรับรองผลเลือกตั้งนายกอบจ.ขอนแก่น ชี้พบเหตุหาเสียงส่อผิดกม.
“กฤษอนงค์” ไร้เงาคนยื่นประกัน นอนคุกคืนแรก ด้าน “บอสพอล” มอบทีมกม.ยื่นค้านประกันตัว
‘ทะเลสาบน้ำเค็ม’ โผล่กลางทะเลทรายในมองโกเลียใน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น