“ทักษิณ” สลบ “สุริยะ” รอด-ป.ป.ช.ฟันโกงซื้อเครื่องบินยักษ์

เปิดพฤติกรรม "ทักษิณ-บริวาร" สูบเลือดการบินไทยวินาศสันตะโรหลัง ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาทุจริตจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส 10 ลำเจ๊งยับกว่า 6 หมื่นล้าน สูบคอมมิชชั่นกว่า 2 พันล้าน พร้อมถอดรหัส "สุริยะ" รอดโดนสอดรับไม่ทิ้งลุงป้อมในวันที่เส้นทางสามมิตรถึงวันแยกทาง

เป็นประเด็นใหญ่ทางการเมืองเมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติแจ้งข้อกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายพิเชษฐ สถิรชวาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม ,นายทนง พิทยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย และนายกนก อภิรดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสแบบ A340-500 และแบบ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547 ทำให้ บมจ.การบินไทย ได้รับความเสียหาย

ส่วนนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รมว.คมนาคม หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป เนื่องจากในขณะที่มีการอนุมัติให้มีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสทั้งสองรุ่นนั้นนายสุริยะ ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบและกำกับดูแล บมจ.การบินไทย แต่เป็นนายพิเชษฐ ในฐานะ รมช.คมนาคม ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล บมจ.การบินไทย ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาในคดีดังกล่าวมีทั้งสิ้น 5 คน ได้แก่ นายทักษิณ ,นายพิเชษฐ ,นายทนง,นายกนก และนายสุริยะ

สำหรับขั้นตอนภายหลังหลังมีมติดังกล่าว ป.ป.ช. จะทำหนังสือแจ้งข้อกล่าวหากับนายทักษิณ ,นายพิเชษฐ ,นายทนง และนายกนก อย่างเป็นทางการ จากนั้นเรียกผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 รายมาชี้แจงต่อไป อย่างไรก็ตามเนื่องจากขั้นตอนนี้เป็นเพียงการแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น ดังนั้นบุคคลทั้ง 4 ยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่

ทั้งนี้เครื่องบินแอร์บัส รุ่น A340-500 และรุ่น A340-600 จำนวน 10 ลำ ถูกระบุว่าเป็นภาระใหญ่ที่ทำให้การบินไทยมีหนี้สะสมเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล โดยเครื่องบินทั้ง 10 ลำจัดซื้อในช่วงปี 2546-2547 และมีมูลค่าตามบัญชี ณ วันส่งมอบ 53,043 ล้านบาทนั้น โดย เครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่นดังกล่าว เริ่มบินตั้งแต่เดือน ก.ค.2548 ถึง 7 ม.ค.2556 ในเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก ,กรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และเส้นทางอื่นๆ รวม 51 เส้นทาง แต่ประสบปัญหาขาดทุนในทุกเส้นทางที่ทำการบินไม่น้อยกว่า 39,859.52 ล้านบาท จึงปลดระวางเครื่องทั้งหมดในปี 2557-2558 ทั้งๆที่ยังเหลือเวลาใช้งานอีก 5-6 ปี

อย่างไรก็ตามหลังปลดระวางได้ตั้งค่าใช้จ่ายในการ ด้อยค่าไปแล้วประมาณ 15,000 ล้านบาท และปัจจุบันพบว่าบริษัทฯ ได้ขายเครื่องบินแอร์บัส รุ่น A340-500 จำนวน 1 ลำ ให้กับกองทัพอากาศไทย ส่วนที่เหลืออีก 9 ลำ ได้แก่ รุ่น A340-500 จำนวน 3 ลำ และรุ่น A340-600 จำนวน 6 ลำ มีการประกาศขายเครื่องบินมาแล้ว 8 ครั้ง แต่ปรากฎว่าจนถึงปัจจุบัน บริษัท การบินไทย ยังขายเครื่องบินดังกล่าวไม่ได้ โดยเครื่องบินทั้งหมดจอดรอการขายอยู่ที่สนามบินอู่ตะเภามาแล้ว 5 ปี ที่สำคัญตั้งแต่ปี 2556-2560 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องบิน A340 ทั้ง 9 ลำ ที่จอดรอการขาย ไม่ต่ำกว่าปีละ 27 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าซ่อมบำรุงปีละ 17 ล้านบาท และค่าจอดเครื่องบินปีละกว่า 10 ล้านบาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ปัญหาการทุจริตที่ ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกล่าวหานายทักษิณ และพวกชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลทักษิณมีการโกงกินกันทุกย่อมหญ้าไม้เว้นแม้แต่องค์รกรใหญ่อย่างการบินไทยต้องมาเจ๊งวอดวายล้มละลาย ซึ่งปัญหาการทุจริตเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าว นายถาวร เสนเนียม อดีต รมช.คมนาคม ออกมาเปิดแผลถึงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการบริหารกิจการของบริษัท และปัญหาการทุจริตในการบินไทยอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้รู้ถึงขบวนการงาบเงินส่วนต่างจำนวนหลายพันล้าน

การทุจริตการบินไทยเริ่มมาจากผลประกอบการในปี 2551-2562 ขาดทุนอย่างหนัก ซึ่งนายถาวร ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในการบริการกิจการของการบินไทยสั่งการให้ผู้บริหารระดับสูงของการบินไทยทำแผนธุรกิจการบิน และแผนฟื้นฟูธุรกิจมาเสนอ ผู้บริหารงานการบินไทยทำแผนมาสองแบบ คือ แผนกู้เงิน 54,000 ล้านบาท ปรับโครงสร้างหนี้ และแผนที่สอง เพิ่มหุ้นกู้ในปลายปี 63 83,000 ล้านบาท

ต่อมานายถาวร ตรวจสอบพบว่า การบินไทยมีหนี้สะสม 50,000 ล้านบาท และที่สำคัญยังพบเค้าลางการทุจริตเมื่อพบว่า เครื่องบิน A340-500 และ A340-600 จอดอยู่ที่อู่ตะเภาโดยไม่ได้ใช้งาน ทำให้การบินไทยต้องเสียทั้งค่าจอด ค่าดูแลรักษา และค่าประกันต่อปีสูงถือ 27 ล้านบาท และเมื่อนำเอกสารทั้งหมดมาตรวจดู นายถาวรพบว่าเครื่องบินทั้งหมดซื้อในยุคของ นายทักษิณ เมื่อปี 2545-2546 จึงสั่งให้ตรวจสอบว่า เรื่องดังกล่าวเข้าข่ายทุจริตหรือไม่ โดยตั้งคณะทำงานที่มี พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นหัวหน้าคณะทำงาน

ผลตรวจสอบพบข้อพิรุธมากมาย นายถาวรจึงได้นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 พ.ค. 2563 กระทั่งมีมติให้ผู้เชี่ยวชาญ 33 คนประกอบด้วยนักกฎหมาย นักบริหารธุรกิจการบิน นักบัญชีและนักการเงิน ฯลฯ ตรวจอบ โดยห้ามนักการเมืองและข้าราชการเข้ามายุ่งเกี่ยว

ข้อสรุปการตรวจสอบพบว่า เครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่นที่ซื้อในยุคทักษิณส่อทุจริตประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยการตัดสินใจจัดซื้อในครั้งน้น นายทักษิณไม่ยอมฟังคำทักท้วงของสภาพัฒน์ฯถึงความคุ้มค่า ซึ่งการรวบรัดตัดสินใจในครั้งนั้นทางการเมืองรู้ดีว่า เป็นการซื้อเพื่อรับค่าคอมมิชชั่นจำนวน “2,000 กว่าล้าน” เพราะรู้ดีว่าบริษัทผลิตเครื่องบินมีธรรมเนียมปฏิบัติว่าใครที่มีอำนาจซื้อเครื่องบินจะได้ค่าคอมมิชชั่น

ทั้งนี้ในส่วนเอกสารการตรวจสอบนั้น นายถาวรส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะซูเปอร์บอร์ดการบินไทยรับทราบ โดยคณะทำงานฯสรุปว่า เมื่อนำผลขาดทุนจากการจัดซื้อและการบริหารจัดการเครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่นจำนวน 10 ลำ มารวมกัน ทำให้การบินไทย ประสบภาวะการขาดทุนรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 62,803.49 ล้านบาท

น่าหดหู่ใจแทนคนไทยยิ่งนักเมื่อนายถาวรระบุว่า “เมื่อนายทักษิณ ซื้อเครื่องบินเสร็จสิ้นก็ได้รับเงินทอนรวมถึงได้รับเงินทอนในส่วนการว่าจ้างเหมาจ่ายในการซ่อมด้วย ส่วนบินแล้วจะขาดทุนหรือไม่ช่างหัวมัน แต่นายทักษิณมาพูดว่าจะกลับประเทศไทยอย่างเท่ๆ โดยไม่พึ่งพาพรรคการเมือง ส่วนตัวมองว่า นายทักษิณเป็นคนที่น่ากลัว แม้แต่ นายเสนาะ เทียนทอง เคยออกมาพูดถึงการประชุมวางแผนหาเสียงกับคนยากคนจน นายทักษิณใช้คำว่า “คนจนก็เปรียบเสมือนคนตาบอด เจอเสือจึงไม่รู้สึกกลัว เราเขียนอะไรก็ได้ให้เขาเชื่อเราก่อน” นี่คือสิ่งที่ นายทักษิณไม่เคยยอมรับว่าได้ทำอะไรลงไป และมันส่งผลกระทบต่อประชาชนคนไทย หรือแม้จะกระทบกับสายการบินแห่งชาติก็ตาม”

ขณะเดียวกันในการชี้มูลของ ป.ป.ช. ยังมีประเด็นน่าสนใจเมื่อนายสุริยะ หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่โดนตั้งข้อกล่าวหา โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เหตุผลว่า ขณะมีการอนุมัติจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ นายสุริยะ ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบและกำกับดูแลการบินไทย แต่เป็นนายพิเชษฐมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลการบินไทย จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป

 

 

จากประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า คดีนี้ยืดเยื้อมาสิบกว่าปี โดย ป.ป.ช. ขยายเวลาการไต่สวนสอบสวนตลอดมา แต่ผลของการกระทำผิดเพิ่งมาชี้ชัดชัดในช่วงปลายรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ และที่น่าสนใจคือ นายสุริยะ ในฐานะเจ้ากระทรวงคมนาคม และผู้กำกับดูแลโดยตรงกับไม่พบความผิดใด ๆ ซึ่งการรอดคดีอย่างหวุดหวิดทำให้กระแสข่าวนายสุริยะ ถูก พล.อ.ประวิตรจับคล้องโซ่ตีตรวนให้อยู่โยงกับพลังประชารัฐเพื่อแลกกับการพ้นคดีจัดซื้อเครื่องบินยักษ์การบินไทยกระพือขึ้นมาทันที

นอกจากนี้ผลการไม่แจ้งข้อกล่าวหานายสุริยะ ทำให้สังคมจับจ้องการทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยเฉพาะ พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ หรือ บิ๊กกุ้ย ประธาน ป.ป.ช. เพราะเป็นที่ทราบกันดีกว่า พล.ต.อ.วัชรพล เคยนั่งเป็นรองเลขาธิการนายกฯด้วยการสนับสนุนจาก พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในยุครัฐบาลคสช. นอกจากนี้บิ๊กกุ้ยยังเป็นนายตำรวจใกล้ชิด พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ หรือ “บิ๊กป๊อด” อดีตผบ.ตร. น้องชายของบิ๊กป้อมที่ตอนนี้คนในพลังประชารัฐต่างรับรู้ดีว่า พล.ต.อ.พัชรวาท คือ ป.คนที่ 4 และเป็นบุคคลที่กุมอำนาจสั่งการในพรรคพลังประชารัฐในระนาบที่ไม่ด้อยกว่า พล.อ.ประวิตร

เมื่อจับเรื่องราวมาขมวดรวมกันจะพบว่า การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ชี้มูลนายสุริยะมันมีความเชื่อมโยงที่ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นระบบ จึงไม่น่าแปลกใจที่นายสุริยะจะปักหลักช่วยงานพรรคพลังประชารัฐต่อไป ทั้งที่ก่อนหน้านี้นายสุริยะมีข่าวจะย้ายกลับพรรคเพื่อไทยพร้อมกับนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม โดยจะไม่ตามนายอนุชา นาคาสัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯไปช่วยงานลุงตู่อย่างแน่นอน และที่สำคัญเมื่อ พล.อ.ประวิตร แสดงความจริงใจด้วยการปลดล็อคพันธการจากเงื้อมมือ ป.ป.ช.ก็น่าจะเป็นการซื้อใจนายสุริยะได้ในระดับนึงเช่นกัน

จากนี้ไปนายสุริยะสามารถเดินเด่นเป็นสง่าบนเวทีการเมืองต่อไป โดยปล่อยให้พวกบรรดาเสือโหยอย่างนายทักษิณ และบริวาร เผชิญวิบากกรรมต่อไป เพราะการจัดซื้อเครื่องบินทั้ง 10 ลำ ถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองใหญ่ที่ทำให้การบินไทยล้มละลายอย่างไม่เป็นท่า และนี่คือสิ่งที่นายทักษิณและพวกกระทำต่อประเทศชาติ แต่ยังหน้าไม่วายส่งเสียงตะโกนอวดเบ่งสร้างวาทกรรมการเมืองได้ตลอดเวลา โดยไม่สนว่า บ้านเมืองจะพินาศย่อยยับเพียงใด…..!

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่
เมืองคอนน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ หากผลไม่หยุดตกคืนนี้ตัวเมืองอ่วมอรทัยแน่นอน-ในเบื้องต้นนายอำเภอ,นายกเล็กฯจับมือศูนย์ข่าวนคร 24 ชั่วโมงสมาคมสื่อมวลชนและชมรมรถจิ๊ปลุยช่วยชาวบ้านแล้ว-เรียกร้องเจ้าพนักงานที่ดินเด้งตรวจสอบนายทุนถมลำคลองปิดกั้นทางน้ำว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โซเชียลถามกลับ “พรรคส้ม” รู้ยังมีทหารไว้ทำไม? หลังเกิดเหตุการณ์ "กลุ่มว้าแดงและทหารไทย"
ผบ.สอ.รฝ.ประดับเครื่องหมายเลื่อนยศ นักรบต่อสู้อากาศยาน 46 นาย
‘สามารถ’ คอตกศาลไม่ให้ประกัน เตรียมส่งเข้าเรือนจำ ส่วน ‘แม่’ วางเงิน 5 แสนบาท ได้รับปล่อยตัว
"กองทัพภาคที่ 3" แถลงข่าวแจงพื้นที่ "กองกำลังว้าแดง" ตั้งฐานปฏิบัติการลุกล้ำไทย ยังไม่มีการสำรวจ หรือปักปันเขตแดน
ตึงเครียด! “ว้าแดง” บุกประชิดชายแดนไทย “บิ๊กอ้วน” พูดแล้ว รบ-ไม่รบ
ชาวบ้านเดือดร้อนหนักน้ำท่วมเดือดร้อนแสนสาหัส - หลังนายทุนออกโฉนดที่ดินถมลำคลอง"ห้วยพาน" ปิดกั้นทางน้ำสิ้นเชิง นายกเล็กฯ เบื้องต้นระดมกำลังช่วยเหลือ ที่ร้องเรียนเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบว่าออกจะโดดที่ดินชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แต่กลับ ล่าช้า อึดเหมือนเรือเกลือ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น