วันที่ 6 ก.พ.66 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” ระบุข้อความว่า สายพันธุ์ย่อยโควิดปี 2566 เป็นปีสดใส แล้ว ควรจะเป็นปีที่สดใสในเรื่องที่เกี่ยวโยงกับโควิดที่เราเผชิญมาตลอดสามปี
ทั้งนี้ การประเมินไม่ได้อยู่ที่ตัวไวรัสอย่างเดียว อย่างที่ได้จากข้อมูลของหลอดทดลองทางห้องปฏิบัติการหรือสัตว์ทดลอง ซึ่งสามารถทำให้เกิดความรุนแรงในด้านการติดและการเกิดอาการหนัก
แต่ต้องควบรวมกับปัจจัยในมนุษย์ และจะเห็นได้ว่าในยุคของโอไมครอน ตั้งแต่ต้นปี 2565 เป็นต้นมา จนกระทั่งมีโอไมครอนสี่และห้าในกลางปี จนกระทั่งมีสายพันธุ์ย่อย แต่ตัวเลขของการที่ต้องเข้าโรงพยาบาลที่มีอาการหนักและตัวเลขของการเสียชีวิตนั้นไม่ได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับในยุคก่อน (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) ทั้งๆที่ในช่วงสาม ถึงสี่เดือนหลังของปี 2565 จะมีการใช้ชีวิตเกือบหรือเป็นปกติแบบสมัยก่อนโควิด ในแทบทุกประเทศทั่วโลก
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มนุษย์ปลอดภัยขึ้นหรือคุ้มครองให้ไม่มีอาการหนักหรือเสียชีวิต ยกตัวอย่าง เช่น
1.ผลดีสะสมของวัคซีน ทั้งเชื้อตายและ แอสตรา และ mRNA ทั้งนี้ ร่วมกับ
2.ผลของการติดเชื้อโควิดตามธรรมชาติ ที่ไม่ได้ประเมินจากระดับแอนติบอดีในเลือด แต่เป็นการเตรียม พร้อมของระบบภูมิคุ้มกันที่ออกฤทธิ์ทันที เช่น โดยเซลล์นักฆ่า
3.อีกประการสำคัญที่กำหนดความรุนแรงคือ “ต้นทุนสุขภาพ” ไม่ว่าจะอายุเท่าใด โดยไม่อ้วน ออกกำลังสม่ำเสมอ ไม่มีหรือมีโรคประจำตัว แต่ควบคุมได้เต็ม 100 และกินอาหารที่เป็นผักผลไม้กากใยเป็นประจำ แป้งไม่มาก เนื้อสัตว์น้อยมาก แต่ ปลา กุ้ง หอย ปู ได้
รวมทั้งอาจมีผลจากการที่ได้รับเชื้อโรค ต่างๆทีละเล็กทีละน้อย มาเป็นเวลานาน หรือพูดง่ายๆว่า สัมผัสกับ “ความสกปรก” อยู่บ้าง ทั้งยังมีแดดเป็นตัวส่งเสริมให้สุขภาพดีและมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต้านทานเชื้อ ไม่ใช่แต่ไวรัสอย่างเดียว แต่เป็นเชื้อทุกอย่าง และเป็นไปได้ที่มีการสัมผัสเชื้อไวรัสที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ข้ามกลุ่มไปต่อสู้กับโควิดได้ ตัวอย่างก็คือ ในประเทศแถบแอฟริกา เช่น ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการฉีดวัคซีนน้อยมาก แต่การติดโควิดและอาการหนักและเสียชีวิตน้อย รวมทั้งประเทศอินเดีย และในประเทศจีนเองซึ่งใช้วัคซีนเชื้อตายแต่เมื่อมีการระบาดของโอไมครอน ถึงแม้ว่าจะมีผู้ติดเชื้อมากมาย แต่ผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลนั้น มีจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับประชากร และสามารถ รักษาให้หายได้โดยเร็ว (จากข้อมูลของประเทศจีนโดยตรง)
4.การที่ต้องรักษาทันที โดยเฉพาะในประเทศ ไทย ด้วยฟ้าทะลายโจร ตั้งแต่เริ่มไม่สบายไม่ต้องรอขึ้นสองขีด เพราะจะขึ้นช้ามาก จะพลาดโอกาสทอง และต้องกินให้ถูกขนาดตามปริมาณของตัวออกฤทธิ์
แอนโดรโฟร์ไลท์ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นเวลาห้าวัน โดยในการรักษาโควิดนั้น กินตามข้างซองยาไม่ได้ เพราะขนาดจะไม่เท่ากัน โดยต้องใช้มากขึ้นเมื่อใช้กับโควิด (ยาต้านไวรัสที่ใช้ทั้งหมด ไม่ใช่แต่ฟ้าทะลายโจร ต้องใช้รวดเร็วตั้งแต่ต้นและอาการน้อยจึงจะได้ผล) โดยต้องตระหนักว่า ฟาวิพิราเวียร์เริ่มมีการดื้อตั้งแต่กลางปี 2565 เป็นต้นมา