ปฐมบท “บินไทย” แทบล้มละลายเพราะระบอบทักษิณ

ปฐมบท "บินไทย" แทบล้มละลายเพราะระบอบทักษิณ

ถือเป็นประเด็นใหญ่ในช่วงเริ่มต้นปี 2566 ได้ไม่นาน จากการที่มีรายงานข่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้แจ้งข้อกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี , นายพิเชษฐ สถิรชวาล อดีตรมช.คมนาคม ยุครัฐบาลไทยรักไทย ,นายทนง พิทยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย และนายกนก อภิรดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสแบบ A340-500 และแบบ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547 และเป็นเหตุทำให้ บมจ.การบินไทย ได้รับความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

แต่ประเด็นสำคัญ คือ ในการชี้มูลผู้กระทำผิดครั้งนี้ ป.ป.ช. กลับมีมติตีตกข้อกล่าวหา สำหรับกรณีของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ขณะดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคม หลังจากเคยเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในชั้นการไต่สวน โดยที่ประชุมป.ป.ช.ให้เหตุผลว่า เนื่องจากในช่วงที่มีการอนุมัติให้มีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 ล็อตดังกล่าว นายสุริยะ ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบและกำกับดูแล บมจ.การบินไทย โดยตรง แต่เป็นนายพิเชษฐ ในฐานะ รมช.คมนาคม เป็นมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล บมจ.การบินไทย

 

ขณะที่ นายพิเชษฐ สถิรชวาล อดีต รมช.คมนาคม เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศรา เมื่อเดือน ก.ย.2564 ว่า ในช่วงปี 2545-2546 ขณะที่ตนดำรงตำแหน่งเป็น รมช.คมนาคม กำกับดูแลการบินไทย ไม่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติจัดซื้อเครื่องบิน แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหารการบินไทยเสนอขึ้นมา และเป็นอำนาจของรมว.คมนาคม ในการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม พร้อมเน้นย้ำว่า รมช.คมนาคมไม่มีอำนาจอะไรขนาดนั้น
“ผมไม่รู้เรื่องเลยว่าได้รับเกียรติอันนี้ด้วย แต่เข้าใจว่าเขาคงเห็นชื่อผมเป็น รมช.คมนาคม ที่กำกับดูแลการบินไทยตอนนั้น แต่ รมช. ไม่ได้มีอำนาจอะไรมากขนาดนั้น”

ทั้งนี้ประเด็นการจัดซื้อเครื่องบิน แอร์บัส A340-500 และ A340-600 ซึ่งกำลังเป็นเรื่องใหญ่ กระทบไปทุกวงการนี้ มีข้อมูลว่าเริ่มต้นมาจากการที่ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ในขณะนั้น สั่งการให้มีการตรวจสอบปัญหาที่เป็นผลกระทบทำให้ บมจ.การบินไทย ต้องประสบภาวะขาดทุนถึงขั้นต้องยื่นแผนพื้นฟูกิจการ

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ส.ค.2563 ได้มีแถลงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่องการบริหารกิจการและปัญหาการทุจริตใน บมจ.การบินไทย โดยมีข้อชี้ชัดว่าการขาดทุนเริ่มต้นมาจากการจัดซื้อเครื่องบินแบบพิสัยไกลพิเศษ รุ่นแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ ภายใต้โครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจในช่วงปี 2546-2547

เนื่องจากเครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่น เป็นเครื่องบินแบบพิสัยไกลพิเศษ ใช้เครื่องยนต์ 4 เครื่องยนต์ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานสูง แต่มีจำนวนที่นั่งน้อย ทำให้ช่วงทำการบินตั้งแต่เดือน ก.ค.2548 ถึง 7 ม.ค.2556 ในเส้นทางต่างๆรวม 51 เส้นทาง ปรากฏว่า บมจ.การบินไทย ประสบปัญหาขาดทุนในทุกเส้นทางที่ทำการบินไม่น้อยกว่า 39,859.52 ล้านบาท โดยเฉพาะเส้นทางบินตรง กรุงเทพ-นิวยอร์ก และกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส มีการขาดทุนสูงถึง 12,496.55 ล้านบาท

 

 

ประเด็นสำคัญ มีข้อยืนยันว่า ฝูงเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 มีอายุการใช้งานไม่คุ้มค่า โดยปรากฏว่าสามารถใช้งานได้เพีย ง 6-10 ปี ก่อนปลดระวาง ซึ่งต่ำกว่าอายุการใช้งานเครื่องบินโดยทั่วไปที่กำหนดไว้ 20 ปี ส่งผลทำให้ บมจ.การบินไทย ต้องขาดทุนเป็นรอบที่ 2 จากตัวเลขด้อยค่าเครื่องบินไม่ต่ำกว่า 22,943.97 ล้านบาท ทำให้ผลรวมการขาดทุนจากการทำการบิน และการขาดทุนจากการด้อยค่าจากการจัดซื้อเครื่องบินทั้ง 2 รุ่น ของบมจ.การบินไทย ขาดทุนไม่ต่ำกว่า 62,803.49 ล้านบาท

 

 

 

 

ส่วนประเด็นที่หลายคนสงสัยว่า ทำไม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะรมว.คมนาคม เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร มีข้อมูลเพิ่มเติมจาก สำนักข่าวอิศรา ว่า ตามมติที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2547 หรือในยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร มีชื่อของ นายสุริยะ ปรากฏอยู่ในฐานะผู้ลงนาม หนังสือถึงครม. เพื่อขอให้มีการพิจารณาโครงการจัดหาเครื่องบิน ตามแผนวิสาหกิจปี 2548/2549 – 2552/2553

และเป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด จากมติครม.เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2546 ซึ่งอนุมัติให้การบินไทย จัดซื้อเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2545/2546 – 2549/2550 ในการจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม จำนวน 15 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินใช้แล้ว แบบ B747-400 ของสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ จำนวน 7 ลำ , เครื่องบิน แบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และ เครื่องบินแบบ A340-600 จำนวน 5 ลำ

แต่เนื่องจากบมจ.การบินไทย ไม่สามารถรับมอบเครื่องบินใช้แล้วแบบ B747-400 จำนวน 7 ลำ ได้ตามกำหนด จึงมีการเสนอครม.ขออนุมัติ ดำเนินการจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม ตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 – 2552/53 จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกล แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ 340-500 จำนวน 1 ลำ , เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกล แบบ B777-200 ER อีกจำนวน 6 ลำ ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท

 

 

ไม่เท่านั้นยังปรากฏชื่อ ของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะรมว.คมนาคม เป็นผู้เสนอขอที่ประชุมครม. ขอยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบก่อหนี้ประเทศ พ.ศ.2528 เกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน เพื่อชำระค่าจัดหาเครื่องบิน โดยอ้างว่า การบินไทยมีการลงทุนค่อนข้างสูง ตามแผนธุรกิจเชิงรุก ทำให้ต้องจัดหาเครื่องบินใหม่จำนวน 14 ลำ นอกเหนือจากที่ครม.อนุมัติไว้แล้ว 8 ลำ

และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นปัญหา การสืบค้นข้อเท็จจริงที่มาที่ไปของการกล่าวหา บุคคลผู้เกี่ยวข้องการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จนทำให้บมจ.การบินไทย ต้องประสบภาวะขาดทุนอย่างย่อยยับ

โดย นายถาวร อดีตรมช.คมนาคม ในฐานะประธานพรรคไทยภักดี ย้ำว่าเป็นเหตุกรณีเกี่ยวเนื่องกับการที่บมจ.การบินไทยต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีหนี้สะสมมากถึงกว่า 50,000 ล้านบาท

ที่สำคัญมีการตรวจสอบเหตุส่อทุจริต จากการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 แต่ถูกจอดทิ้งไว้ที่สนามบินอู่ตะเภา กลายเป็นภาระของบมจ.การบินไทย ต้องเสียทั้งค่าเช้าพื้นที่จอด ค่าดูแลรักษา และค่าประกัน จากนั้นตนได้นำเอกสารทั้งหมดมาตรวจดู ผลปรากฎว่าเครื่องบินทั้งหมดซื้อในยุคของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ช่วงปี 2545-2546

“จากนั้นตนได้ตั้งคณะทำงานที่มี พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นหัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง จนพบข้อมูลประกอบว่า การจัดซื้อเครื่องบินในขณะนั้น เกิดขึ้นจากผู้บริหารระดับสูงของบมจ.การบินไทย ที่ไม่มีองค์ความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจการบิน และมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องค่าคอมมิชชั่นกว่า 2,000 ล้าน”

และนี่คือฉากแรกของมรดกบาป จากระบอบทักษิณ ทำไว้กับ บมจ.การบินไทย จากการระดมจัดซื้ออภิมหาฝูงบิน ไม่ใช่แค่เครื่องบินแอร์บัส 10 เครื่องที่เป็นประเด็นเอาผิดจากปปช. รวมถึงทำให้สายการบินแห่งชาติหนี้ท่วม จนต้องเลือกทางสุดท้าย โดยการเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ลุค อิชิคาว่า" นักแสดงลูกครึ่ง ร้องปอท.ถูกใส่ร้ายผ่านโซเชียลฯ สร้างความเสื่อมเสีย วอนชาวเน็ตอย่าเชื่อพวกหิวแสง
แน่นสำนักพม.ขอนแก่น "ผู้พิการ" แห่ต่ออายุ-ทำบัตรใหม่ รอรับเงินหมื่น
สุดเศร้า "สาวใหญ่" ร้องถูก "ผัวตำรวจ" ซ้อมอ่วม ซ้ำพยายามล่วงละเมิดลูกเลี้ยง ยันขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
บริษัทผลิตเพจเจอร์มรณะที่แท้เป็นของอิสราเอล
เลบานอนแบนเพจเจอร์และวอล์กกี้ทอล์กกี้บนเครื่องบิน
“ชนินทร์” จวก “เท่าพิภพ” หยุดเอาดีเข้าตัว ป้ายผู้อื่นเป็นโจรสลัด ชี้ปมร่างสุราก้าวหน้า ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ต้องแสวงหาความร่วมมือ
คุณยายครูเบญเปิดใจทั้งน้ำตา หลังจากที่หลานสาวสอบติดพนักงานราชการแต่ชื่อหาย
"ซีอีโอ TSB" เปิดใจ พัฒนารถเมล์ก้าวสู่ปีที่ 3 พร้อมรับฟัง-นำข้อมูลปรับปรุงทุกจุด ประกาศชัด "รถเมล์คนไทยโตอย่างยั่งยืน"
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกิจกรรมประชุมสภากาแฟครั้งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการ พร้อมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำจำนวน 2 แสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมประมง
"พิพัฒน์-สุรศักดิ์" จับมือ สร้างโอกาส นศ.ทำงานปิดเทอม หมื่นอัตรา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น