สภาฟาด “2ป.” หลังส.ส.-ส.ว.ไม่ร่วมประชุมพิจารณากม.ควบคุมสื่อ “มัลลิกา” ติง ควรเอากลับไปทบทวน

สภาฟาด "2ป." หลังส.ส.-ส.ว.ไม่ร่วมประชุมพิจารณากม.ควบคุมสื่อ "มัลลิกา" ติง ควรเอากลับไปทบทวน

สภา ฟาด 2 พลเอก ประยุทธ์-ประวิทย์ ส.ส.กับส.ว.ไม่ร่วมประชุมพิจารณากฎหมายควบคุมสื่อ “มัลลิกา” ติง ควรเอากลับออกไปทบทวน

 

 


วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.30 น. ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 8 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2 เป็นพิเศษบรรุจุวาระวันอังคาร ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 นั้น เป็นการที่ทั้งสองสภาจะต้องพิจารณาพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ…. ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอและเป็นการค้างมาจากการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565

โดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่เสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อบรรจุนั้นลงลายมือเสนอโดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และเป็นร่างพระราชบัญญัติที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบให้กรมประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลเป็นเจ้าภาพดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 บัดนี้ผ่านเข้าสู่ปีที่ 6 แล้วก็นำเข้าสู่การพิจารณาอย่างรวบรัดทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอย่างกว้างขวางรวมทั้งแวดวงสื่อมวลชนด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

” ที่เห็นได้ชัดคือสมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย ออกมาคัดค้านกฎหมายนี้และเรียกว่ากฎหมายควบคุมสื่อ ส่วนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยก็ออกแถลงการณ์เสนอให้ถอนร่างนี้ออกไปและให้เอาไปชี้แจงต่อสาธารณะเสียก่อนด้วย

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่และสมาชิกจำนวนมากแสดงออกอย่างชัดเจนโดยการไม่เข้าร่วมประชุมส่วนด้านนอกสภาก็มีการออกแถลงการณ์ ก็ชัดเจนว่าการนำเสนอกฎหมายฉบับนี้ของรัฐบาลนั้นเป็นเรื่องนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวางไม่ตกผลึกทางความคิดที่สำคัญที่สุดคือใช้เวลาร่างที่ยาวนานขณะที่บริบทของสังคมและบริบทของสื่อและนวัตกรรมของสี่อก็เปลี่ยนแปลงไปไกลแล้ว ” ดร.มัลลิกา กล่าว

ส.ส.ดร.มัลลิกา กล่าวด้วยว่า ทุกฝ่ายแสดงความห่วงใยเรื่องนี้รวมทั้งตนด้วยเพราะในฐานะที่เคยประกอบวิชาชีพนักสื่อสารสื่อมวลชน ก็มีความกังวลประเด็นการเปิดช่องให้รัฐใช้อำนาจแทรกแซงความอิสระของสื่อมวลชนและทำลายกลไกการกำกับดูแลกันเอง ซึ่งตรงจุดนี้คือเกียรติยศของนักสื่อสารมวลชนและจุดนี้เองที่เรียกว่าจริยธรรมคุณธรรมแต่ในกฎหมายไม่สามารถนิยามสาระสำคัญนี้ได้ จึงไม่แปลกใจที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะนักสื่อสารมวลชนจะไม่ยอม

โดยเฉพาะที่มาของคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน และที่มาของรายได้สภาวิชาชีพสื่อมวลชน เพราะร่างพ.ร.บ.ระบุในบทเฉพาะกาลให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นคณะกรรมการในวาระเริ่มแรกรวมทั้งให้รัฐบาลจ่ายเงินให้ทุนประเดิมและจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่าย รวมถึงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมปีละไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท ที่มาเหล่านี้ล้วนจะนำไปสู่การเข้าควบคุมสื่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตนจึงเห็นว่าอะไรก็ตามที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งควรจะนุติและกลับไปทบทวน

อย่างไรก็ตามก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับคณะรัฐมนตรีในชุดปัจจุบันด้วยเช่นกันอันเนื่องมาจากว่ากฎหมายฉบับนี้ร่างมาตั้งแต่ปี 2560 คือก่อนที่จะมีรัฐบาลชุดปัจจุบันแล้วร่างมาต่อเนื่องทะลุมิติจนถึงรัฐบาลนี้ ขณะที่ผู้รับผิดชอบหลัก คือ นายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้เซ็นเสนอมาตอนที่เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น