เปิดแผลเน่า “ระบอบทักษิณ” ย่ำยีการบินไทย

เปิดแผลเน่า "ระบอบทักษิณ" ย่ำยีการบินไทย

ติดตามต่อเนื่องจากการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติให้แจ้งข้อกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี , นายพิเชษฐ สถิรชวาล อดีตรมช.คมนาคม ยุครัฐบาลไทยรักไทย ,นายทนง พิทยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย และนายกนก อภิรดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสแบบ A340-500 และแบบ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547 และเป็นเหตุทำให้ บมจ.การบินไทย ได้รับความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

ขณะที่ประเด็นใหญ่ที่หลายคนตั้งคำถามว่า 1 ในผู้ถูกกล่าวหาชั้นไต่สวน อย่าง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม ทำไมถูกป.ป.ช.ตีตกข้อกล่าวหา และเหตุผลว่าเพราะ นายสุริยะไม่เกี่ยวข้องการอนุมัติจัดซื้อ เป็นข้อเท็จจริงมากน้อยขนาดไหน หลากหลายข้อสงสัยเหล่านี้ยังคงรอคำอธิบายชัด ๆ จากผู้เกี่ยวข้อง ด้วยเพราะต้องย้ำว่าด้วยการเผยแพร่เอกสารอ้างอิงว่า มีชื่อ นายสุริยะ ปรากฏอยู่ในเอกสาร เป็นผู้ลงนามนำเสนอครม.ยุครัฐบาลทักษิณ เพื่อขออนุมัติจัดซื้อเครื่องบิน 2 ล็อตใหญ่ให้กับบมจ.การบินไทย

และเพื่อให้ชัดเจนว่าทำไมเรื่องนี้ ถึงได้รับความสนใจอย่างมาก ต้องย้อนกลับไปดูผลการสอบสวนของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ในช่วงปี 2563 ที่มี พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช เป็นประธาน จากการแต่งตั้งโดย นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ในขณะนั้น

เริ่มจาก 1.การจัดซื้อเครื่องบินแบบพิสัยไกลพิเศษ รุ่นแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ มูลค่าตามบัญชี ณ วันส่งมอบ มียอดเงินจำนวน 53,043.04 ล้านบาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2.เครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 ใช้งานได้เพียง 6-10 ปี จากค่าเฉลี่ยอายุการใช้งานเครื่องบินโดยทั่วไปที่กำหนดไว้ 20 ปี โดยมีภาวะด้อยค่า หลังจากการปลดระวาง และจอดรอจำหน่าย ไม่ต่ำกว่า 22,943.97 ล้านบาท

 

 

3. เครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่นดังกล่าว เริ่มทำการบินตั้งแต่เดือน ก.ค.2548 ถึง 7 ม.ค.2556 ทั้งเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก ,กรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และเส้นทางอื่นๆ รวม 51 เส้นทาง และประสบปัญหาขาดทุนในทุกเส้นทาง รวมมูลค่าไม่น้อยกว่า 39,859.52 ล้านบาท

 

 

4.ตัวเลขภาวะขาดทุน แยกเฉพาะเป็นเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก และกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส มีมูลค่ารวม 12,496.55 ล้านบาท เนื่องจากแอร์บัส A340-500 และ A340-600 เป็นเครื่องบินแบบพิสัยไกลพิเศษ ใช้เครื่องยนต์ 4 เครื่องยนต์ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานสูง แต่ในช่วงเปิดทำการบินมีจำนวนผู้โดยสารน้อย

5.สรุปผลขาดทุนเฉพาะจากการจัดซื้อและการบริหารจัดการเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ ยอดรวมไม่ต่ำกว่า 62,803.49 ล้านบาท

6.ผลการตรวจสอบฯ บมจ. การบินไทย มีภาระค่าใช้จ่ายเรื่องการดูแลรักษาสภาพเครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่น ในช่วงจอดรอจำหน่ายเป็นจำนวนเงินอีก 1,344.87 ล้านบาท แยกเป็นค่าใช้จ่ายจากการเข้าร่วมโครงการ Total Care Agreement (TCA) ในกรณีที่มีการติดตั้งเครื่องยนต์ Trent-500 มากับเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2550 และมีระยะซ่อมบำรุงระหว่างปี 2548-2558 มูลค่า 1,129.60 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงระหว่างปี 2559-2560 (ณ เดือน ม.ค.2560) อีก 215.27 ล้านบาท

7.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อาทิ ค่าเครื่องยนต์อะไหล่ รุ่น Trent-500 จำนวน 7 เครื่อง สำหรับเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จากการจัดซื้อตั้งแต่ปี 2546 และทยอยส่งมอบอะไหล่ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2557 ถึงเดือนธ.ค.2550 วงเงินรวม 3,523.17 ล้านบาท (อะไหล่เครื่องละ 503.31 ล้านบาท) แต่ปรากฎว่าไม่เคยมีการนำมาใช้งานแต่อย่างใด

 

ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาเครื่องฝึกจำลอง (Flight Simulator) สำหรับ เครื่องบินแบบ A340 จำนวน 1 เครื่อง มูลค่า 688.09 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงเครื่องฝึกบินจำลองให้สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องบินแบบแอร์บัส A-330 และ A-340 อีก 144.61 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 832.7 ล้านบาท

เบ็ดเสร็จคณะกรรมการตรวจสอบ ที่มี พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช เป็นประธาน ระบุว่ามูลค่าความเสียหายจากการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A-330 และ A-340 ได้ทำให้บมจ.การบินไทย เกิดความเสียหาย คิดเป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 68,271.53 ล้านบาท

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนของผลตรวจสอบจากคณะกรรมที่ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ในขณะนั้น แต่งตั้งขึ้น และนำไปสู่การยื่นคำร้องต่อป.ป.ช.เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2563 เนื่องจากแผนการจัดซื้อเครื่องบินในยุครัฐบาลทักษิณ คือ จุดสำคัญทำให้ บมจ.การบินไทย ต้องประสบภาวะการขาดทุนถึงขั้นวิกฤต

เนื่องจากกรณีการจัดซื้อเครื่องบินของบมจ.การบินไทย ในยุคนั้นถือว่าเป็นการอนุมัติให้จัดซื้อเครื่องบินล็อตใหญ่ที่สุด จนบมจ.การบินไทยมีตัวเลขหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และตามมาด้วยปัญหาการทุจริต ผ่ านการจ่ายสินบนของบริษัท โรลส์ – รอยซ์ ถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐและพนักงานการบินไทย วงเงินกว่า 254 ล้านบาท เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มีการจัดซื้อเครื่องยนต์อะไหล่ 7 เครื่องยนต์และการซ่อมบำรุงแบบเหมาจ่าย Total Care Agreement จนกลายเป็นข่าวฉาวระดับโลก

และยังมีการให้ข้อมูลเรื่องการจ่ายเงินสินบนไม่ต่ำกว่า 5% หรือประมาณ 2,652 ล้านบาท ผ่านนายหน้าคนกลางให้กับนักการเมือง เจ้าหน้าที่ และพนักงานการบินไทย แลกกับการจัดซื้อเครื่องบินรุ่น A340 จำนวน 10 ลำ ซึ่งทั้งหมดถูกเชื่อมโยงว่าเกิดขึ้นในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ทั้งสิ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ลุค อิชิคาว่า" นักแสดงลูกครึ่ง ร้องปอท.ถูกใส่ร้ายผ่านโซเชียลฯ สร้างความเสื่อมเสีย วอนชาวเน็ตอย่าเชื่อพวกหิวแสง
แน่นสำนักพม.ขอนแก่น "ผู้พิการ" แห่ต่ออายุ-ทำบัตรใหม่ รอรับเงินหมื่น
สุดเศร้า "สาวใหญ่" ร้องถูก "ผัวตำรวจ" ซ้อมอ่วม ซ้ำพยายามล่วงละเมิดลูกเลี้ยง ยันขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
บริษัทผลิตเพจเจอร์มรณะที่แท้เป็นของอิสราเอล
เลบานอนแบนเพจเจอร์และวอล์กกี้ทอล์กกี้บนเครื่องบิน
“ชนินทร์” จวก “เท่าพิภพ” หยุดเอาดีเข้าตัว ป้ายผู้อื่นเป็นโจรสลัด ชี้ปมร่างสุราก้าวหน้า ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ต้องแสวงหาความร่วมมือ
คุณยายครูเบญเปิดใจทั้งน้ำตา หลังจากที่หลานสาวสอบติดพนักงานราชการแต่ชื่อหาย
"ซีอีโอ TSB" เปิดใจ พัฒนารถเมล์ก้าวสู่ปีที่ 3 พร้อมรับฟัง-นำข้อมูลปรับปรุงทุกจุด ประกาศชัด "รถเมล์คนไทยโตอย่างยั่งยืน"
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกิจกรรมประชุมสภากาแฟครั้งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการ พร้อมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำจำนวน 2 แสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมประมง
"พิพัฒน์-สุรศักดิ์" จับมือ สร้างโอกาส นศ.ทำงานปิดเทอม หมื่นอัตรา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น