รัฐบาลเดินหน้าแก้หนี้ยั่งยืนต่อ หลังมหกรรม “ร่วมใจแก้หนี้” สำเร็จตามเป้า

รัฐบาลเดินหน้าแก้หนี้ยั่งยืนต่อ หลังมหกรรม “ร่วมใจแก้หนี้” สำเร็จตามเป้า

รมว.คลัง เผยรัฐบาลยังดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง หลังมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ได้รับความสนใจ และถือว่าประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลกำหนดให้การแก้ไขหนี้สินภาคครัวเรือนเป็นวาระแห่งชาติ

 

 

 

 

 

7 ก.พ.66 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยถึงผลการจัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ว่า การจัดมหกรรมในรูปแบบสัญจร รวม 5 ครั้ง ในกรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี และสงขลา ได้รับความสนใจจากประชาชนและผู้ประกอบการจำนวนมาก โดยในระยะต่อไปยังเดินหน้าดำเนินการใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่

1. มาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน โดยธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สนับสนุนให้สถาบันการเงินแก้ไขปัญหาหนี้สิน และปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้จนถึงสิ้นปี 2566

2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดช่องทางเสริม เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ทางด่วนแก้หนี้, หมอหนี้เพื่อประชาชน และคลินิกแก้หนี้

3. ธปท. จะเผยแพร่เอกสาร (Directional Paper) ในเดือน ก.พ.66 เพื่อสื่อสารแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

รมว.คลัง ระบุว่า “แม้ว่าการจัดงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” จะจบลงแล้ว แต่การแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ประชาชนยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยลูกหนี้ที่ประสบปัญหาหนี้สินสามารถติดต่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ที่สาขาของสถาบันการเงินทุกแห่งทั่วประเทศ หรือเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการทางด่วนแก้หนี้ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน หรือ โครงการคลินิกแก้หนี้ ได้ตลอดเวลา”

นายอาคม กล่าวว่า จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นนั้น ในกระบวนการแก้ไขหนี้ สถาบันการเงินได้มีการพิจารณาภาระของลูกหนี้แล้ว แม้ว่าที่ผ่านมาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ไม่มาก แม้จะเป็นการเพิ่มภาระให้ลูกหนี้ แต่การเจรจาในกระบวนการแก้ไขหนี้ ได้มีการพิจารณาถึงประเด็นนี้อยู่แล้ว ทั้งเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของสัญญาใหม่ และการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้เงื่อนไขเดิม ขณะที่การปล่อยกู้ใหม่นั้น ก็จะต้องพิจารณาขีดความสามารถในการชำระหนี้ ใช้หลักการผ่อนชำระให้ยาวที่สุดเท่าที่เงื่อนไขของสถาบันการเงินจะทำได้

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า ผลการจัดมหกรรมแก้หนี้ รูปแบบสัญจร 5 ครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี และสงขลา มีประชาชน และผู้ประกอบการ ขอรับบริการมากกว่า 34,000 รายการ คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 24,000 ล้านบาท โดยการขอรับคำปรึกษาด้านการเงินและแนวทางในการประกอบอาชีพ 13,000 รายการ คิดเป็นวงเงิน 2,900 ล้านบาท, การขอแก้ไขหนี้สินเดิม 10,000 รายการ วงเงิน 9,600 ล้านบาท, การขอสินเชื่อเพิ่มเติม 4,000 รายการ วงเงินมากกว่า 8,000 ล้านบาท และการเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การฝากเงิน การตรวจสอบข้อมูลเครดิต เป็นต้น ราว 7,000 รายการ

 

 

โดยเมื่อต้นเดือน ก.พ.66 แม้แบงก์รัฐ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ขึ้นในอัตราเล็กน้อย และได้คำนึงถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ซึ่งปัจจุบันได้มีการแบ่งลูกหนี้เป็น 2 กลุ่ม คือ ลูกค้าปัจจุบัน ซึ่งพิจารณาแล้วว่าดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น จะไม่กระทบกับเงินงวด โดยภาระยังเท่าเดิม แต่ระยะเวลาหนี้ยาวออกไป ส่วนกลุ่มหนี้เสีย ก็มีมาตรการเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น และกลุ่มลูกหนี้ใหม่ที่กำลังขอสินเชื่อ ในส่วนนี้อาจจะได้รับวงเงินสินเชื่อจำกัด แต่ทั้ง 3 กลุ่มแบงก์รัฐได้มีการบริหารจัดการ และให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

 

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. ระบุว่า ผลการจัดมหกรรมแก้หนี้ ในรูปแบบออนไลน์ มีผู้ลงทะเบียนเพื่อขอแก้ไขหรือปรับโครงสร้างหนี้ผ่านระบบออนไลน์ทั้งสิ้น มากกว่า 188,000 ราย คิดเป็นจำนวนรายการสะสมมากว่า 413,000 รายการ โดยในส่วนนี้ ได้มีการให้ความช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้วกว่า 50,000 รายการ และมีลูกหนี้ที่มาลงทะเบียนแต่ไม่สามารถติดต่อได้ราว 100,000 รายการ และไม่เข้าเงื่อนไข, ไม่พบบัญชี, กรอกข้อมูลผิด หรือยกเลิกคำขอ ราว 100,000 รายการ โดยปัจจุบัน ยังเหลือลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนการแก้ไข หรือปรับโครงสร้างหนี้ราว 150,000 รายการ

โดยแบ่งเป็นลูกหนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 35%, ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31% และภาคอื่น ๆ อีกราว 34% ของลูกหนี้ที่ลงทะเบียนทั้งหมด โดยประเภทสินเชื่อที่มีการลงทะเบียนสูงสุด คือ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 75%, สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 6%, สินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ 5%, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 4% และสินเชื่อประเภทอื่น ๆ อีก 10%

ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นนั้น ธปท. ได้กำชับให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือและดูแล โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ดูแลให้การชำระหนี้ให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการชำระหนี้

นายรณดล กล่าวว่า การแก้ไขหนี้ต้องทำอย่างยั่งยืน ครบวงจร ถูกหลัก มีการร่วมมือกันทุกภาคส่วน โดย ธปท. เตรียมเผยแพร่เอกสาร (Directional Paper) เพื่อสื่อสารแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยแบ่งเป็น 2 แนวทางหลัก คือ 1. การปรับโครงสร้างหนี้เดิม ผลักดันลูกหนี้เรื้อรังให้กลับมาเป็นหนี้ปกติ และ 2. ผลักดันหนี้ใหม่ให้มีคุณภาพ โดยการหาแนวทางให้เจ้าหนี้ปล่อยกู้อย่างเป็นธรรม ดูแลลูกหนี้ให้ตอบโจทย์ให้เป็นการก่อหนี้ที่มีคุณภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับลูกหนี้ เพื่อให้เกิดวินัยทางการเงิน และความรับผิดชอบ ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ และต้องมีการวางรากฐานอื่น ๆ ในการพัฒนาฐานข้อมูลให้หลากหลาบเพื่อตอบโจทย์ความเสี่ยงของลูกหนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ธรรมนัส" ยันลงพื้นที่ จ.อุดรธานี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปัดช่วย "ผู้สมัคร" หาเสียงชิ้งเก้าอี้ นายก อบจ.
หิมะขาวตกห่มหิน ราว‘เห็ดหิมะ’ ในจีน
เกาหลีเหนือขู่ขยายกองทัพนิวเคลียร์แบบไร้ขีดจำกัด
“บิ๊กเต่า” พบเส้นเงินใหม่จากบัญชีแม่ ถึงนาย ส.อีก 10 ล้าน จ่อส่งให้ DSI ทำคดีฟอกเงิน
ตำรวจเชิญ “ปานเทพ” ให้ข้อมูลเพิ่ม ฐานะพยาน “คดีทนายตั้ม” รู้เบาะแสแบ่งเงิน 39 ล้าน ให้ใครบ้าง
"ตร.สภ.วังจันทร์" นำตัวผู้ต้องหาฆ่าตัดนิ้วแม่ยายอัยการ ชี้จุดนำทองมาขาย
DSI สอบปากคำ ‘บอสพอล’ ปมคลิปเสียง ‘กฤษอนงค์’ พาดพิงหน่วยงาน อ้างจ่าย 10 ล้าน
คุมตัวผู้ต้องหาทำแผน คดีฆ่าตัดนิ้วนางทั้งสองข้างแม่ยายอัยการ
“อนุทิน” ไม่ไปช่วยหาเสียง "นายกอบจ.สุรินทร์" ชี้ขอวางตัวเป็นกลาง
นรข.สร้างผลงานเด่น จับยาบ้าริมโขง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น