“ตัวตนออนไลน์” 7 ข้อ เพิ่มความปลอดภัย ไม่ให้หลุดเป็นสาธารณะ

ตัวตนออนไลน์

เช็คด่วน 7 ข้อ เพิ่มความปลอดภัย "ตัวตนออนไลน์" ไม่ให้หลุดเป็นสาธารณะ โดนคุกคามโดยโฆษณาออนไลน์ แฮกเกอร์ขโมยข้อมูล

TOP News ห่วงใย “ตัวตนออนไลน์” นำ 7 ข้อ เพิ่มความปลอดภัย จาก กสท โทรคมนาคม เพื่อไม่ให้หลุดเป็นสาธารณะ โดนคุกคามโดยโฆษณาออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม รวมถึงถูกแฮกเกอร์ขโมยข้อมูล

ข่าวที่น่าสนใจ

เพิ่มความปลอดภัย “ตัวตนออนไลน์” ไม่ให้หลุดเป็นสาธารณะ ดังนี้

ตั้งรหัสผ่านที่เดายาก ไม่ใช้ซ้ำ และหมั่นเปลี่ยนอยู่เสมอ

  • รหัสควรมีความยาวอย่างน้อย 12 – 14 ตัวอักษร ประกอบไปด้วย ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรเล็ก ตัวเลข และไม่ควรใช้ซ้ำกับ Online Account อื่น ๆ ที่สำคัญควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำทุก 3 – 6 เดือน เพื่อป้องกันกรณีที่มีการรั่วไหลของข้อมูลโดยที่เราไม่รู้ตัว

หมั่น Update ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์

  • การที่เราหมั่น Update แพทช์ ก็จะช่วยปิดช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถเข้ามายังระบบได้ และ เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้มีความปลอดภัยระบบมากขึ้น หรือหากระบบปฏิบัติการผิดพลาดจนไม่สามารถใช้งานได้ เราจะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ

  • ทางที่ดีควรใช้อินเทอร์เน็ตเครือข่ายมือถือของตัวเอง หากไม่มีทางเลือกควรใช้ VPN (Virtual Private Networks) ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมออนไลน์ทั้งหมดจะปลอดภัยตั้งแต่ ธนาคารออนไลน์ไปจนถึงข้อความส่วนตัว

อย่าแชร์ทุกอย่างที่คิด ก่อนแชร์ให้คิดก่อนเสมอ

  • การแชร์ข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดแบบสาธารณะ แชร์ Location ที่อยู่อาศัยของตัวเอง ฯลฯ อาจเป็นการแบ่งปันข้อมูลให้กับแฮกเกอร์ หรือ คนแปลกหน้าก็ได้ ทางทีดีควรคิดก่อนแชร์เสมอ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง

จดบันทึกประวัติการใช้งานทางการเงิน

  • การจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงแม้จะเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น เพื่อป้องกันยอดเงินแปลก ๆ ที่หักเงินในบัตรเครดิตเราแบบที่ไม่รู้ตัว และที่สำคัญไม่ควรผูกเลขบัตรเครดิต เลขบัญชีธนาคารลงในเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ หรือ เว็บไซต์ Social ต่าง ๆ เพราะหากโดนแฮกบัญชี สิ่งพวกนี้คือเป้าหมายแรกของแฮกเกอร์ในการขโมยข้อมูล

ตรวจสอบประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตเสมอ

  • เพื่อป้องกันการติดตามต่าง ๆ และป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลบนโลก Social (ข้อมูลส่วนตัวที่คุณโชว์ไว้บน Profile Digital ต่าง ๆ) ของเราเพื่อรักษาตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดตามออนไลน์ที่ถูกคุกคามโดยโฆษณาออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม

ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อออนไลน์

  • ถ้าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ชิ้นนั้น สามารถออกสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้ ต้องป้องกันทั้งหมด เพราะทุกการเชื่อมต่อมีภัยแฝงเสมอ การเลือกระบบรักษาความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ

Anti-Fake News Center Thailand

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทรัมป์" พร้อมพูดคุย "สี จิ้นผิง" หลังสั่งฟันภาษีสูงโด่ง 125%
เจ้าหน้าที่อาวุโสของจีนเข้าเฝ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ
“ประธาน กกต.” แจงคดีฮั้วเลือก สว. คืบหน้า 30% แล้ว
มท.1 เปิดศูนย์ ศปถ. เฝ้าระวัง 7 วันอันตราย ช่วงสงกรานต์ 68 ตั้งเป้าลดสูญเสียบนท้องถนน
ในหลวง-พระราชินี พระราชทานสิ่งของแก่ ทีมสุนัข K9 กู้ตึกสตง. เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
"ปาล์มมี่" อดีตแฟน ”ไฮโซเก๊“ แฉหมดเปลือก โดนหลอกเอาทรัพย์สิน ซ้ำกล้าอ้างเบื้องสูงมาข่มขู่
"นายกฯ" บอกไม่ติดใจ "ไชยชนก" ค้านกาสิโน "อนุทิน" โร่ขอโทษต่อหน้าสื่อ
"ยูเครน" โวยอีกมีชาวจีน155คนช่วยรัสเซียรบซัด "ปักกิ่ง" รู้เห็นเป็นใจ
กระทรวงอุตสาหกรรม แถลงความคืบหน้า ตรวจสอบเหล็กเส้น "ตึกสตง." ถล่ม จ่อเก็บตัวอย่างเหล็กเพิ่ม 11 เม.ย.นี้
เช็กที่นี่ได้เลย ขึ้นทางด่วนฟรี "สงกรานต์ 2568" มีเส้นทางไหนบ้าง รวมมอเตอร์เวย์ M6 หินกอง-โคราช ด้วย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น