“อัษฎางค์” เตือนสาวก 3 นิ้ว อ้างสิทธิตนเอง ละเมิดสิทธิคนอื่นไม่ได้

“อัษฎางค์” เตือนสาวก 3 นิ้ว อ้างสิทธิตนเอง ละเมิดสิทธิคนอื่นไม่ได้

“อัษฎางค์ ยมนาค” เตือนสาวก 3 นิ้ว อ้างสิทธิ์ของตน เพื่อละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเยาวชนหรือประชาชน

 

12 ก.พ. 2566 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟชบุ๊ก ระบุว่า “การอ้างสิทธิ์ของตน เพื่อละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น”ด้วยการอ้างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและรัฐธรรมนูญ

การที่ประชาชนทุกคนมีรัฐธรรมนูญคุ้มครองเรื่องสิทธิเสรีภาพ และเด็กทุกคนยังมีอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิเด็ก มันหมายความว่าประชาชนและเด็กทุกคน สามารถทำผิดกฎหมาย เช่น การละเมิดกฎหมายหรือการละเมิดสิทธิของผู้อื่นได้หรือขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน
สมมุติ (ย้ำว่าสมมุติ) ว่าเด็กอายุ 14 (หรือประชาชนทั่วไป) มากล่าวหาว่าเจี๊ยบมีอะไรที่ผิดศีลธรรมกับคนขับรถของตัวเอง แบบนี้เจี๊ยบถือว่าเป็นสิทธิเสรีภาพของเด็กและประชาชนหรือไม่ พวกเขาหมิ่นประมาทเจี๊ยบแบบนี้ได้หรือไม่ เจี๊ยบจะฟ้องร้องเขาหรือไม่
ถ้าเจี๊ยบตอบว่าทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะมันผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิ เป็นการหมิ่นประมาทเจี๊ยบ

ข่าวที่น่าสนใจ

ดังนั้น เมื่อมีประชาชนหรือเยาวชน ไปกล่าวหาหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ทำไมเจี๊ยบจึงอ้างเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเยาวชนขึ้นมา เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ขโมยของ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือแม้แต่ขับรถยนต์ หรือกล่าวหาใส่ความผู้อื่นได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่
กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหรืออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิคุ้มครองเด็ก คุ้มครองให้เด็กทำผิดกฎหมายได้อย่างนั้นหรือเจี๊ยบ
ม.112 คือกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ การละเมิด 112 คือการละเมิดพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการทำผิดกฎหมาย
รัฐธรรมนูญไทยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกันอย่างสมบูรณ์
แต่การใช้สิทธิและเสรีภาพของตนต้อง….

1. ไม่ไปกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
2. ไม่ไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
3. ไม่ไปกระทบความสงบเรียบร้อยของประชาชน
4. ไม่ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. ไม่กระทบต่อสุขภาพ(หรือก็คือชีวิต)ของคนอื่น
สรุปให้สั้นที่สุดในหนึ่งประโยคได้ว่า
“อ้างสิทธิ์ของตน เพื่อละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเยาวชนหรือประชาชน”
มาดูรายละเอียดที่เป็นข้อกฎหมายแบบยาว ๆ กันหน่อยมั้ย

รัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.๒๕๖๐
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

 

มาตรา ๒๕
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิ
และเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
แปลว่า….
คนไทยทุกคนได้รับการคุ้มครองในเรื่องสิทธิเสรีภาพโดยรัฐธรรมนูญอย่างสมบูรณ์

 

***ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
***และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
แปลว่า….
ทุกคนได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ แต่การใช้สิทธิเสรีภาพนั้น ต้องไม่เป็นการทำผิดกฎหมาย เช่นไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

 

มาตรา ๒๗
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
***หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้
แปลว่า….
ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการกระทำใด ๆ ได้อย่างเสรีและเท่าเทียมกัน แต่การใช้สิทธิเสรีภาพนั้น ต้องไม่ขัดกฎหมาย

 

………………………………………………
มาตรา ๒๘
บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายการจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้
***เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
แปลว่า….
ห้ามมีการจับและการคุมขัง ยกเว้นเป็นคำสั่งศาลให้จับกุมและการคุมขัง

 

………………………………………………
มาตรา ๒๙
บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา
***เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
แปลว่า….
ห้ามลงโทษใคร ยกเว้นคนนั้นทำผิดกฎหมาย

 

………………………………………………
มาตรา ๓๔
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้
แปลว่า….
จะไปห้ามใครให้คิด พูด เขียน โฆษณาหรือการสื่อสาร ไม่ได้

 

**เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะ
***เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ
***เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
***เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน

 

แปลว่า….
จะไปห้ามใครให้คิด พูด เขียน โฆษณาหรือการสื่อสาร ไม่ได้
ยกเว้นใครก็ตามที่ใช้สิทธิเสรีภาพนั้น
1. ไปกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
2. ไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
3. ไปกระทบความสงบเรียบร้อยของประชาชน
4. ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. ไปกระทบต่อสุขภาพ(หรือก็คือชีวิต)ของคนอื่น

………………………………………………
เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง
***แต่การใช้เสรีภาพนั้น”ต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย*”หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น
หน้าที่ของปวงชนชาวไทยคืออะไร?
หน้าที่ของปวงชนชาวไทยคือ การเคารพและไม่ละเมิดกฎหมายกฎหมาย

 

สรุป
รัฐธรรมนูญไทยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกันอย่างสมบูรณ์
แต่การใช้สิทธิและเสรีภาพของตนต้อง…
1. ไม่ไปกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
2. ไม่ไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
3. ไม่ไปกระทบความสงบเรียบร้อยของประชาชน
4. ไม่ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. ไม่กระทบต่อสุขภาพ(หรือก็คือชีวิต)ของคนอื่น
สรุปให้สั้นที่สุดในหนึ่งประโยคได้ว่า

“อ้างสิทธิ์ของตน เพื่อละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเยาวชนหรือประชาชน”
ชัด ครบ จบ ไหมเจี๊ยบและสาวกสามนิ้ว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น