มื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์คำสั่งรับคำร้องไว้วินิจฉัย ในคดีที่ศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งของ นายทศพร สุวานิช ผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ว่า พ.ร.ป.ว่าด่วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 มาตรา 98 วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาตรา 99 และมาตรา 101 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคห้า หรือไม่ โดยให้แจ้งศาลปกครองทราบ และอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 27 วรรคสาม ให้เลขาธิการ ป.ป.ช. , เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน , อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น , เลขาธิการวุฒิสภา และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา จัดทำความเห็นตามประเด็นที่ศาลกำหนด และจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ
ศาลรธน.รับวินิจฉัย 3 มาตราพ.ร.ป.ป.ป.ช. ขัดรธน.หรือไม่ สั่ง 5 หน่วยงานชี้แจงภายใน 15 วัน
ข่าวที่น่าสนใจ
ส่วนในประเด็นที่นายทศพร ร้องว่า มาตรา 98 วรรคสอง วรรคสี่ และวรรคห้า ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนั้น ศาลเห็นว่า คำโต้แย้งของนายทศพรไม่ได้แสดงเหตุผลประกอบว่าขัดหรือแย้งอย่างไร กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 วรรคหนึ่งประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยที่ 21/2556 แล้วว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 มาตรา 92 วรรคสอง ไม่ขัดเลยแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 30
ซึ่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 มาตรา 92 วรรคสอง มีหลักการเดียวกันกับ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 มาตรา 98 วรรคสอง และรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 30 บทบัญญัติที่มีหลักการเดียวกันกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 27 เป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ในส่วนมาตรา 3 และมาตรา 4 เป็นบทบัญญัติในหมวด 1 บททั่วไปมิได้มีข้อความที่เป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพไว้เป็นการเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้รับวินิจฉัยในส่วนนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง