เด็กไทยสุดเจ๋ง คิดนวัตกรรม "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" ไฉไลกว่าเดิม ผสมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง ลดโซเดียมและขยะจากเปลือกกุ้ง ตอบโจทย์ Zero Waste ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ข่าวที่น่าสนใจ
สุดปลื้ม เด็กไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก หลังทีมนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หลักสูตรวิศวกรรมผลิตภัณฑ์นมและเครื่องดื่ม ปี 4 ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรมใหม่ “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ในคอนเซปต์ใหม่ ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยส่วนผสมของไคโตซานจากเปลือกกุ้ง ลดโซเดียม และ Zero Waste ได้ในถ้วยเดียว
โชว์ศักยภาพขั้นสุดจนสามารถคว้า 2 รางวัล ในการแข่งขัน SCG Bangkok Business Challenge และการแข่งขัน PTTEP Teenergy Innovation Challenge เป็นอีกหนึ่งอาหารทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ สลัดภาพ Junk food เดิม ๆ ที่เต็มไปด้วยแป้งและโซเดียมที่หลายคนคุ้นเคยไปได้เลย เพราะ น้อง ๆ ได้พลิกโฉมเมนูติดบ้านเดิม ๆ ด้วยการ
- ลดปริมาณโซเดียม
- เสริมสารสกัดไคโตซาน จากเปลือกกุ้ง
พร้อมกลิ่นรส อีกทั้งยังคงรสชาติที่อร่อยในราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
โดยไคโตซานจากเปลือกกุ้ง มีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพ ดังนี้
- ช่วยในการดูดจับไขมันในเส้นทางเดินอาหารได้สูง 8-10 เท่าของน้ำหนักตัวมันเอง
- ลดระดับไขมันในเลือด
- ช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินในด้านกระบวนการผลิตบะหมี่
เพราะ น้องเลือกใช้วิธีการอบแทนการทอด นอกจากจะดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิมแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะเปลือกกุ้งจากอุตสาหกรรมประมง ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานระดับชาติที่น่าชื่นชม ตอบโจทย์ Zero Waste รักษ์โลกได้ในถ้วยเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง