“พระบรมราชโองการ” เลื่อนบังคับใช้ ม.22-25 ก.ม. ทรมาน-อุ้มหาย

พระบรมราชโองการ

ราชกิจจานุเบกษา "พระบรมราชโองการ" แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566

TOP News รายงาน เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผลแพร่ “พระบรมราชโองการ” ล่าสุด พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ความว่า

ข่าวที่น่าสนใจ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย

พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมตัวและการบันทึกข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการตราพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566”

มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป”

มาตรา 4 ในระหว่างที่มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการควบคุมตัวตามมาตรา 22 และมาตรา 23 เร่งเตรียมการให้มีความพร้อมรองรับการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายมีมาตรการและกลไกที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยเร็ว

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชกำหนดนี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

สำหรับมาตราที่ได้มีการขยายเวลาการบังคับใช้ออกไป มีสาระสำคัญ ดังนี้

  • มาตรา 22 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับ และควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว
  • มาตรา 23 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว
  • มาตรา 24 การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว
  • มาตรา 25 การไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว กรณีอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย ละเมิดต่อความเป็นส่วนตัว เกิดผลร้ายต่อบุคคล หรือเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนสอบสวน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ผบก.ภ.จว.สงขลา" ปล่อยแถวปราบปรามอาชญากรรม-ดูแล นทท. สร้างความมั่นใจ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 68
ระทึก ฝนตกหนัก พายุถล่มเมืองพัทลุง ต้นไม้ล้มทับเต็นท์-แม่ค้าหนีตายวุ่น
วธ.ชวนอนุรักษ์ สืบสาน "ประเพณีสงกรานต์ของไทย" แพร่คุณค่า สาระ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ฯ ของยูเนสโก ปี66
"ผู้ช่วยรมว.วธ." เปิดงาน "สลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองนครลำปาง" ยกย่อง Soft Power ล้านนาไทย
"ผบ.เหล่าทัพ - ผบ.ตร." ตบเท้าเข้ารดน้ำอวยพร "บิ๊กอ้วน" เทศกาลสงกรานต์
"บิ๊กต่าย" ย้ำ 5 มาตรการ ดูแลความปลอดภัยประชาชน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 68
"กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับ 3 เตือน พายุฤดูร้อนถล่ม ฝนตกหนัก ลมแรง ลูกเห็บตก ฟ้าผ่า 12-14 เม.ย.นี้ จว.ไหนบ้างเช็กเลย
13 เม.ย.นี้ "ขสมก." มอบสิทธิพิเศษให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ขึ้นรถเมล์ฟรีทุกเส้นทาง
"ผบช.สตม." สั่งการ ตม. ปล่อยแถวพร้อมกันทั่วประเทศ ดูแลความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นเทศกาลสงกรานต์ 68
อียูสั่งชลอภาษีตอบโต้ทรัมป์ 90 วันเท่ากัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น