รฟม.โต้รัว ขู่ฟ้อง “ชูวิทย์” แฉปมทุจริตประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม

รฟม.โต้รัว ขู่ฟ้อง “ชูวิทย์” แฉปมทุจริตประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม

สืบเนื่องจากกรณีเมื่อช่วงบ่าย วันนี้ (21 ก.พ.66 ) ที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานกพ. ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ตั้งโต๊ะเปิดฉากอภิปรายข้างทำเนียบรัฐบาลนำข้อมูลการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐในหลายกระทรวง เข้าร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านนายประทีป กีรติเรขา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

 

 

 

 

โดยนายชูวิทย์ ได้มีการกล่าวถึงเรื่อง การทุจริต การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เริ่มจากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ TOR ทั้งที่ปิดการซื้อขายไปแล้ว ทำให้จากเดิมที่รัฐต้องจ่ายเงิน 7,000 ล้านบาท รัฐกลับต้องจ่ายเป็น 70,000 ล้านบาท ถัดมาเป็นการทุจริตที่มีการฟ้องร้องในศาลปกครอง โดยศาลชั้นต้นไม่ให้เปลี่ยนหลักเกณฑ์ แต่กลับมีการวิ่งเต้นทำให้ที่ประชุมมติเปลี่ยนหลักเกณฑ์ นำมาสู่การฮั้วให้บริษัทเพียงแห่งเดียวที่เข้าหลักเกณฑ์ ต่อมาเป็นการทอนเงิน มีการโอนเงินนับหมื่นล้านบาทที่ประเทศสิงคโปร์ ท้ายสุดเป็นการเปิดประมูลรอบ 2 และกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ ลดสเปคต่างๆ จนเหลือบริษัทแห่งเดียวที่สามารถประมูลได้ ซึ่งขบวนการทั้งหมดล้วนเป็นการระดมหาทุนสู้ศึกเลือกตั้ง ที่นายกได้เตรียมประกาศยุบสภาช่วงเดือนมีนาคมนี้

 

 

 

ล่าสุดเมื่อเวลา 17.30 น. ที่ผ่านมา นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งเทศไทย(รฟม.) ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ผ่านทางระบบ Zoom Meeting ชี้แจงกรณี นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ตั้งข้อสังเกตต่อการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระบุว่า ตามที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้แถลงข่าวที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลเกี่ยวกับการดำเนินการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566

 

 

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
1. ประเด็นการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินข้อเสนอในการคัดเลือกเอกชนครั้งที่ 1
– รฟม. ได้ปรับปรุงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เฉพาะวิธีการประเมินข้อเสนอ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการเสนอผลตอบแทนให้แก่ภาครัฐตามที่นายชูวิทย์ฯ กล่าวอ้างแต่อย่างใด และได้ขยายระยะเวลาการยื่นซองข้อเสนอออกไปอีก 45 วัน

– ประเด็นนี้มีคดีฟ้องร้องในศาลปกครอง โดยมีความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ศาลปกครองสูงสุดได้นั่งพิจารณาคดีครั้งแรก โดยตุลาการผู้แถลงคดีมีความเห็นว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) และ รฟม. ดำเนินการแก้ไขเอกสาร RFP เพิ่มเติมครั้งที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่ทำให้ผู้ยื่นข้อเสนอได้รับความเสียหาย และไม่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ใด ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างรอศาลปกครองสูงสุดพิพากษา

– สำหรับประเด็นที่นายชูวิทย์ฯ ได้พูดพาดพิงถึงมติที่ประชุมศาลปกครองสูงสุดนั้น ถือเป็นกระบวนการภายในของศาลปกครองที่ไม่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอก ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรต้องรอให้ปรากฏในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

 

2. ประเด็นการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนครั้งแรก
– ประเด็นนี้มีคดีฟ้องร้องในศาลปกครอง โดยมีความคืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ตุลาการผู้แถลงคดี ศาลปกครองสูงสุด ได้แถลงสรุปว่า การยกเลิกการคัดเลือกเอกชนฯ ครั้งแรก ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว และเป็นการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชน โดยเห็นควรให้ยกฟ้อง อย่างไรก็ตาม คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

 

3. ประเด็นการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่มีการล็อกสเปค

– ประเด็นนี้มีคดีฟ้องร้องในศาลปกครอง โดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ศาลปกครองกลาง พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การดำเนินการคัดเลือกดำเนินการตามกฎหมาย มีการเปิดกว้างให้เอกชนเข้าร่วมในการคัดเลือกมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น และไม่มีลักษณะเป็นการตัดสิทธิหรือกีดกันผู้ใดมิให้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอ จึงมีคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว

 

4. ประเด็นการดำเนินการของ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง และเป็นการปฏิบัติโดยไม่ชอบ หรือไม่

– ประเด็นนี้มีคดีฟ้องร้องในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า ผู้ว่าการ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้แก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใด และกรณีที่มีการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ไม่มีการกลั่นแกล้งผู้ใดหรือกระทำนอกขอบเขตของกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

5. ประเด็นมีเงินทอน 3 หมื่นล้านบาท ผ่านบัญชีธนาคาร
– รฟม. ขอเรียนว่า หากนายชูวิทย์ฯ มีหลักฐานเอกสารตามที่กล่าวอ้าง ก็ขอให้นำมาแสดงให้สาธารณชน และส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเพื่อเป็นที่ประจักษ์ด้วย ว่าเป็นการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมายหรือไม่

ทั้งนี้การดำเนินการประกาศเชิญชวนฯ และคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ และ รฟม. ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในมาตรา 35 ถึงมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาร่วมลงทุนตามาตรา 41 เรียบร้อยแล้ว สำหรับในขั้นตอนต่อไป รฟม. จะรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีที่ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ถูกฟ้องคดี มาประกอบเรื่องเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัด และคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป

 

 

 

นายภคพงศ์ ระบุด้วยว่า ทางรฟม.ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาในเรื่องของนายชูวิทย์ โดยที่บอกว่ามีเอกสารหลักฐาน เลยขอให้นำหลักฐานที่ว่ามีการโอนเงินกัน 3 หมื่นล้านบาท มาแสดง และส่งหลักฐานไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบเรื่องการฟอกเงิน หรือการโอนเงินผิดกฎหมาย ก็ขอให้นำเอกสารหลักฐานมา ถ้าเป็นเท็จ ท่านที่ถูกพาดพิง หรือปรากฏในเอการ ซึ่งไม่แน่ใจว่าทำเทียมขึ้นมาหรือเปล่า ก็คงจะต้องมีการดำเนินคดีกัน

“ในส่วนของรฟม.เอง ถ้าคุณชูวิทย์ ไม่สามารถนำเอกสารหลักฐานดังกล่าวมาแสดงได้ ก็ถือว่าเป็นการพูดในเชิงที่ทำให้รฟม.เสื่อมเสีย ก็คงจะมีการพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป”

 

 

 

นายภคพงศ์ ยืนยันว่า ในส่วนของเงิน 3 หมื่นล้านดังกล่าว ไม่มี และการดำเนินการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศาลฯ ได้มีการพิจารณาเอกสารทั้งหมด และเห็นว่า รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 ไม่ได้มีการเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายใด รวมถึงไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง หรือ ดำเนินการนอกอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

 

 

 

โดยประเด็นต่าง ๆ ที่นายชูวิทย์ แถลงข่าวต่างก็เป็นประเด็นที่มีการฟ้องคดีในศาลปกครองทั้งสิ้น ซึ่งรฟม. จะรอคำพิพากษาศาลปกครอง ซึ่งใกล้จะมีคำพิพากษาตกออกมาแล้ว เพราะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ได้มีการนั่งพิจารณาครั้งแรกแล้ว และมีการแถลงคดีโดยตุลาการผู้แถลงคดีทั้ง 2 คดีเรียบร้อยแล้ว ก็คาดเดาได้ว่า ใกล้ที่จะมีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดตกลงมาแล้ว ก็คงจะนำมาประกอบเรื่องเพื่อเรียนข้อเท็จจริงทั้งหมด เสนอไปที่รมว.คมนาคม และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มบุกช่อง 3 สาวหมัดใส่ “พระปีนเสา” กลางสถานี หน้าเจื่อน-จีวรแทบหลุด ด้านต้นสังกัดเรียกกลับวัดด่วนใน 7 วัน
"โคราช" หมอกลงจัด ปกคลุมหลายพื้นที่ ทัศนวิสัยแย่ มองไม่เห็นเส้นทาง สัญญาณอากาศหนาวมาเยือนแล้ว
ห้ามพลาด ลงทะเบียน-เช็กเงื่อนไข ใช้สิทธิประกันสังคม "กู้ซื้อบ้าน" ธอส.ดอกต่ำ 5 ปีแรก
ดีเดย์ "BRT" เริ่มเก็บค่าโดยสาร 15 ตลอดสาย ผู้สูงอายุ 11 บาท
"นิพิฏฐ์" โพสต์เดือด "ทนายความหรือปีศาจ" ชี้ขนาดทนายดัง ยังมีคดีอิรุงตุงนัง
“ดิ ไอคอน” ประกาศปิดสำนักงานชั่วคราว หลังดีเอสไอ รับเป็นคดีพิเศษ
ฝนยังไม่หมด กรมอุตุฯ เตือน 28 จว. รับมือฝนตกหนัก กทม.ก็ไม่รอด
ฮาโลวีนแปดริ้วผีแดนซ์และเหมือนจนเด็กร้องกรี๊ด
ผบช.ทท. สั่งการ ตำรวจท่องเที่ยวพัทยา คุมเข้ม ดูแล นทท. คืนปล่อยผี พร้อมแจกอมยิ้มสร้างสีสัน
“พิชัย” เร่งเจรจา FTA ไทย-ยูเรเซีย เปิดการค้าการลงทุน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น