“ทวงหนี้แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย” 2566 ทวงที่ทำงานได้ไหม เช็ค

ทวงหนี้แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย

"ทวงหนี้แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย" ทวงหนี้แบบไหนผิดกฎหมาย ทวงหนี้ที่ทํางานได้ไหม ทวงหนี้ผ่านไลน์ ผ่านเฟซบุ๊ก ได้กี่ครั้ง จบทุกคำถามดูเลยที่นี่

“ทวงหนี้แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย” ทวงหนี้แบบไหนผิดกฎหมาย ทวงหนี้ที่ทํางานได้ไหม ทวงหนี้ เสาร์ อาทิตย์ ได้ไหม ข้อห้ามในการทวงหนี้ มีอะไรบ้าง แจ้งความ ทวงหนี้ ร้องเรียนการทวงหนี้ได้ที่ไหน คู่มือ การทวงหนี้ ธนาคารแก่งประเทศไทย รวบรวมข้อควรรู้เกี่ยวกับการ ทวงหนี้ แบบไหนทำได้ แบบไหนทำไม่ได้ กฎหมายคุ้มครองเจ้าหนี้ลูกหนี้เพียงใด ดูทุกคำตอบได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“ทวงหนี้แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย” โดยทางด้าน ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้รวบรวมคำถามและคำตอบเกี่ยวกับการทวงหนี้ มีดังนี้

ใครมีสิทธิทวงหนี้ ?

ผู้มีสิทธิทวงหนี้ คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง)

ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ซึ่งในกรณีผู้รับมอบอำนาจมาทุกกรณี หากลูกหนี้ทวงถามต่อหน้าต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดงด้วย

กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ทวงหนี้ได้ในขอบเขตไหน ?

การทวงหนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของลูกหนี้ กฎหมายจึงกำหนดวิธีการทวงหนี้ไว้ ดังนี้

  1. การติดต่อ: โดยบุคคล หรือไปรษณีย์
  2. สถานที่ติดต่อ: สถานที่ที่ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้ หากลูกหนี้ไม่ได้แจ้ง ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือตามที่คณะกรรมการทวงถามหนี้ประกาศกำหนด
  3. เวลาที่ติดต่อ: สามารถทวงหนี้โดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่าง 8.00 น.- 20.00 น. วันหยุดราชการ 08.00 น.-18.00 น.
  4. ความถี่: สามารถทวงได้ ไม่เกิน 1 ครั้ง/วัน (ถ้า ‘เพื่อนทวงเพื่อน’ ทวงได้เกิน 1 ครั้ง/วัน)

ทวงหนี้แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ทวงหนี้แบบไหนผิดกฎหมาย ทวงหนี้ที่ทํางานได้ไหม ทวงหนี้ เสาร์ อาทิตย์ ได้ไหม ข้อห้ามในการทวงหนี้ มีอะไรบ้าง แจ้งความ ทวงหนี้ ร้องเรียนการทวงหนี้ได้ที่ไหน คู่มือ การทวงหนี้

นับความถี่การทวงอย่างไร ? 

นับการทวงเมื่อลูกหนี้รับโทรศัพท์และรับทราบการทวงอย่างชัดเจน หรือเมื่อลูกหนี้เปิดอ่านไลน์การทวง แต่ถ้าไลน์ไปแต่ไม่ได้เปิดอ่าน โทรหาไม่รับ หรือโทรไปแต่ยังไม่ทันได้พูดเรื่องหนี้ชัดเจน เป็นแค่การทักทายกัน ตามกฎหมายจะไม่นับเป็นการทวงหนี้

เจ้าหนี้ ‘ห้ามทวงหนี้’ แบบไหนบ้าง? 

ลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ดังนั้น เจ้าหนี้จะต้องทวงถามหนี้กับลูกหนี้อย่างสุภาพชน ให้เกียรติ ละเว้นการประจานดูหมิ่นให้ลูกหนี้เกิดความเสื่อมเสียและอับอาย เพื่อปกป้องสิทธิของลูกหนี้ กฎหมายจึงกำหนด ข้อห้ามต่าง ๆ ในเรื่องการทวงหนี้ไว้อย่างชัดเจน ได้แก่

  • ห้ามทวงถามหนี้กับคนอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ เว้นแต่บุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้
  • ห้ามบอกความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากกฎหมายไม่ให้ประจานลูกหนี้ หรือทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียง โดยบอกคนที่ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้น (1) เป็นคนในครอบครัวลูกหนี้ เช่น สามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน และกรณีที่บุคคลอื่นถามเจ้าหนี้ว่า ‘มาติดต่อเพราะสาเหตุอะไร’
  • ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมาย หนังสือหรือสื่อใด ๆ ให้(บุคคลอื่น) เข้าใจว่า ติดต่อเพื่อทวงหนี้
  • ห้ามติดต่อ แสดงตนทำให้ผู้ติดต่อด้วยเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้
  • ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น ถือว่ามีความผิด ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย
  • ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น
  • ห้ามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประกาศ

ทวงหนี้แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ทวงหนี้แบบไหนผิดกฎหมาย ทวงหนี้ที่ทํางานได้ไหม ทวงหนี้ เสาร์ อาทิตย์ ได้ไหม ข้อห้ามในการทวงหนี้ มีอะไรบ้าง แจ้งความ ทวงหนี้ ร้องเรียนการทวงหนี้ได้ที่ไหน คู่มือ การทวงหนี้

หากเจ้าหนี้ละเมิดข้อห้ามจะมีผลอย่างไร ? 

หากพบว่ามีเจ้าหนี้หรือผู้ที่ทวงถามหนี้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการทวงหนี้ข้างต้น ถือว่ามีความผิด ประชาชนสามารถแจ้งร้องเรียนเอาผิดได้ โดยคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้สามารถมีคำสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับได้

เมื่อลูกหนี้พบว่าเจ้าหนี้ละเมิดข้อห้ามข้างต้นจะทำอย่างไร ? 

ลูกหนี้หรือประชาชนสามารถร้องเรียนได้ที่ ‘คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้’ ที่มีตั้งแต่ระดับประเทศ และระดับจังหวัด หรือ ‘ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ’ ในท้องที่ เพื่อแจ้งการกระทำความผิดได้

และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ พ.ร.บ. ทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 คุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ และตาม พ.ร.บ. นี้ ถ้าเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่เป็นเท็จ (มาตรา 12) หรือผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม (มาตรา 13) จะได้รับโทษที่หนักขึ้นด้วย สุดท้ายนี้ ทีมงานของธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกหนี้ เพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง

ทวงหนี้แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ทวงหนี้แบบไหนผิดกฎหมาย ทวงหนี้ที่ทํางานได้ไหม ทวงหนี้ เสาร์ อาทิตย์ ได้ไหม ข้อห้ามในการทวงหนี้ มีอะไรบ้าง แจ้งความ ทวงหนี้ ร้องเรียนการทวงหนี้ได้ที่ไหน คู่มือ การทวงหนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กล้าล้วงคองูเห่า!! แก๊งมิจฉาชีพอ้างชื่อผู้การฯเมืองคอนโทรหลอกนักข่าวใหญ่ขอความช่วยเหลือยืมเงิน 36,000 บาท
"เต๋า สมชาย" เล่าความประทับใจ ไปชมโขนพระราชทาน ได้เจอ "บิ๊กตู่" เผยแค่ยืนใกล้ๆก็สุขใจยิ่งนัก
หนุ่มหล่อ อายุน้อย ถูกเลือกเป็น "ผู้ใหญ่บ้าน" ดาวเรือง หมู่ 9 ต.บางทรายน้อย ด้านเจ้าตัวเผยมีความฝันจากปู่ที่สั่งสอนมาตั้งแต่เด็ก
ให้ออกจากราชการทันที "9 ตำรวจ นอกรีต" บุกจัดฉากค้นบ้าน ยัดข้อหา รีดเงินชาวจีน 300 ล้าน
เลือกตั้งสหรัฐ: รัฐนิวแฮมป์เชอร์เปิดเลือกตั้งเป็นรัฐแรก
เลือกตั้งสหรัฐ: โพลนิวยอร์กไทม์สให้แฮร์รีสชนะสวิงสเตท
เลือกตั้งสหรัฐ: รู้จัก 7 รัฐสวิงสเตทกันให้มากขึ้น
"เลือกตั้งสหรัฐ" รัฐนิวแฮมป์เชอร์ เปิดเลือกตั้งเป็นรัฐแรก
"กษิต" แจงยิบสาเหตุ รบ.อภิสิทธิ์ยกเลิก MOU 44 แต่ไม่สำเร็จ หนุนเจรจาต่อ ยึดผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก
"จับผับลับห้วยขวาง" ลอบเปิดให้บริการ จัดเต็มแสง สี เสียง รวบ 26 นักเที่ยวจีนมั่วยา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น