พนง.การท่าเรือฯ จี้ “ดีเอสไอ” รับคดีทุจริตกองทุนฯ 4 พันล้าน เป็นคดีพิเศษ

พนง.การท่าเรือฯ จี้ "ดีเอสไอ" รับคดีทุจริตกองทุนฯ 4 พันล้าน เป็นคดีพิเศษ

นายกฤษฎา อินทามระ ทนายความ พร้อมพนักงานการท่าเรือที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกว่า 100 คน เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อเร่งรัดการสืบสวนสอบสวนของศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรณีตรวจสอบเส้นทางการเงินจำนวนกว่า 4 พันล้านบาทของของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีนายสมเกียรติ เพชรประดับ ผู้อำนวยการส่วนพิจารณาสำนวนร้องทุกข์ ดีเอสไอ.เป็นตัวแทนรับหนังสือ

นายกฤษฎา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเดือนกรกฎาคม 2565 ตนเองซึ่งเป็นทนายความของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือต่ออธิบดีดีเอสไอ ร้องเรียนการบริหารงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้าข่ายความผิดฐานฟอกเงินซึ่งเป็นเงินประเดิมและบำเหน็จตกทอดของสมาชิกกองทุนมูลค่าความเสียหายกว่า 4,000,000,000 บาท (สี่พันล้านบาท)

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมา วันที่ 22 กันยายน 2565 อธิบดี DSI ได้อนุมัติให้ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทางอาญาเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินการสืบสวน เรื่องสืบสวนที่ 190/2565 เนื่องจากปมปัญหาเดียวกันนี้ทนายกฤษฎาก็ได้พาผู้เสียหายหลายคนไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารระดับสูงกับพวกในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เกี่ยวกับเงินประเดิมและเงินบำเหน็จตกทอดมูลค่ากว่า 4,000,000,000 บาท(สี่พันล้านบาท) อีกทางหนึ่งด้วย โดยแจ้งความไว้ที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ( บก.ปปป.)

กระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2565 กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ปปป.ส่งเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. พิจารณาเห็นควรให้ตั้งเรื่องกล่าวหาเป็นคดีและมีคำสั่งให้ผู้กล่าวหาไปให้ถ้อยคำต่อพนักงานไต่สวนในวันที่ 5 เมษายน 2566

ด้าน นางเพ็ญนภารัตน์ ปานสมัย อายุ 67 ปี อดีตหัวหน้าแผนกกีฬา การท่าเรือฯ ถูกหลอกเข้ากองทุนฯ ตอนออกกลับไม่ได้รับเงินตามที่แจ้งไว้ เงินประเดิมแรกเข้าประมาณ 2 ล้านบาท ส่วนบำเหน็จตกทอด 30 เท่าเงินเดือน 6.9 หมื่นบาท คำนวนหายไปกว่า 4 ล้าน ได้รับจริงหลังเกษียณแค่ 2 ล้าน รวมแล้วถูกโกงไปกว่า 4 ล้าน หลังจากที่รู้ว่าถูกโกง จึงได้สอบถามไปที่กองทุนฯ ขอดูเอกสารการนำส่งเงินประเดิมบำเหน็จตกทอดว่าส่งให้เราเมื่อใด ได้รับคำตอบว่า เงินบำเหน็จตกทอดได้จ่ายให้ครบหมดแล้ว ส่วนหลักฐานเอกสารได้ทำลายไปหมดอ้างว่าเกิน 10 ปี จึงได้ทำลายทิ้งไปหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม ทนายความและกลุ่มผู้เสียหาย มองว่าคดีสืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคดีกล่าวหาของสำนักงาน ป.ป.ช.เป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดมีความเชื่อมโยงกัน จึงมาขอให้อธิบดีดีเอสไอ เร่งพิจารณา และส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษว่าจะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เพื่อจะได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินและป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดไปทำลายพยานหลักฐานอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่
เมืองคอนน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ หากผลไม่หยุดตกคืนนี้ตัวเมืองอ่วมอรทัยแน่นอน-ในเบื้องต้นนายอำเภอ,นายกเล็กฯจับมือศูนย์ข่าวนคร 24 ชั่วโมงสมาคมสื่อมวลชนและชมรมรถจิ๊ปลุยช่วยชาวบ้านแล้ว-เรียกร้องเจ้าพนักงานที่ดินเด้งตรวจสอบนายทุนถมลำคลองปิดกั้นทางน้ำว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โซเชียลถามกลับ “พรรคส้ม” รู้ยังมีทหารไว้ทำไม? หลังเกิดเหตุการณ์ "กลุ่มว้าแดงและทหารไทย"
ผบ.สอ.รฝ.ประดับเครื่องหมายเลื่อนยศ นักรบต่อสู้อากาศยาน 46 นาย
‘สามารถ’ คอตกศาลไม่ให้ประกัน เตรียมส่งเข้าเรือนจำ ส่วน ‘แม่’ วางเงิน 5 แสนบาท ได้รับปล่อยตัว
"กองทัพภาคที่ 3" แถลงข่าวแจงพื้นที่ "กองกำลังว้าแดง" ตั้งฐานปฏิบัติการลุกล้ำไทย ยังไม่มีการสำรวจ หรือปักปันเขตแดน
ตึงเครียด! “ว้าแดง” บุกประชิดชายแดนไทย “บิ๊กอ้วน” พูดแล้ว รบ-ไม่รบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น