ชาวบ้านตูม ร่วมสืบสานประเพณีโบราณ อัญเชิญพระอุปคุต ในงานบุญเดือนสี่

ชาวบ้านตูม ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมประกอบพิธีอัญเชิญพระอุปคุต อธิษฐานขอความร่มเย็นเป็นสุข ผ่านพ้นภัยแล้ง และร่วมกันแห่ผ้าผะเหวดแบบโบราณ ก่อนเริ่มงานบุญมหาชาติ เพื่อสืบสานงานประเพณีบุญเดือน 4 ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณโบราณสถานโนนบ้านเก่าและศาลปู่หอใต้ บ้านตูม ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ นางละมุล ภักดีนอก ผู้ใหญ่บ้านตูม หมู่ 4 พร้อมด้วยนายบรรเจิด สุธรรมมา พ่อขะจ้ำประจำหมู่บ้าน นำชาวบ้านกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และประกอบพิธีอัญเชิญพระอุปคุต ก่อนร่วมกันแห่ผ้าผะเหวดหรือผ้าพระเวส มาที่วัดโพธิ์ชัยบ้านตูม ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานบุญเดือน 4 ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ ของชาวอีสาน ที่ชาวบ้านได้ร่วมกับคณะสงฆ์ นำพาบุตรหลานสืบทอดมาเป็นประจำทุกปี

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายบรรเจิด สุธรรมมา พ่อขะจ้ำประจำหมู่บ้าน กล่าวว่า ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ก่อนเริ่มงานบุญมหาชาติ จะอัญเชิญพระอุปคุต ที่สถิตอยู่บริเวณสระน้ำตามความเชื่อ มาสถิต ณ บริเวณพิธีทำบุญ ทั้งนี้ จะมีการนำดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าหรือขันแปด มากราบไหว้และประกอบพิธีอัญเชิญ สำหรับสระน้ำของชาวบ้านตูมที่มีความเชื่อว่าพระอุปคุตสถิตอยู่ คือบ่อน้ำ ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับศาลปู่หอใต้ ใกล้กับโบราณสถานโนนบ้านเก่า โดยบ่อน้ำดังกล่าวมีลักษณะเป็นบ่อน้ำซึม มีน้ำขังตลอด ชาวบ้านได้มาตักไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดปี

 

 

นายบรรเจิดกล่าวอีกว่า สำหรับพระอุปคุตนั้น ชาวพุทธยังมีความเชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลความร่มเย็นเป็นสุข สามารถดลบันดาลให้เกิดฝนตกลงมา การอัญเชิญพระอุปคุตและแห่ผ้าผะเหวดในงานบุญเดือน 4 หรือบุญมหาชาติ ชาวบ้านยังได้ร่วมกันอธิษฐานขอพรพระอุปคุต ตลอดทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอความเป็นสิริมงคล ไม่เกิดวิกฤติภัยแล้ง สภาพดินฟ้าอากาศไม่วิปริตแปรปรวน การประกอบอาชีพเจริญก้าวหน้า การทำนา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ค้าขายร่ำรวย

 

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม พิธีอัญเชิญพระอปคุตและแห่ผ้าผะเหวด หรือผ้าพระเวส ก่อนเริ่มงานบุญเดือน 4 หรือบุญมหาชาติ แต่ละชุมชนอาจจะมีรูปแบบการจัดงานแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามความพร้อมของแต่ละชุมชน แต่มีจุดหมายเดียวกันคือการร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานประเพณีตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ โดยชาวบ้านตูมร่วมกันจัดงานแบบโบราณ คือเน้นความเรียบง่าย ไม่มีการจัดขบวนแห่ยิ่งใหญ่ เพื่อความประหยัด พอเพียง จากนั้นร่วมกันฟังเทศน์มหาชาติ และร่วมบริจาคปัจจัย เพื่อทำนุบำรุงศาสนสถานและต่อยอดพระพุทธศาสนาอีกด้วย.

 

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว ชมพิศ ปิ่นเมือง ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.กาฬสินธุ์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น