นายกฯกำชับสถานศึกษา ควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ดูแลเข้มงวด

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ห่วงใยสุขภาพอนามัยนักเรียน กำชับสถานศึกษาปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ดูแลป้องกันนักเรียนป่วยช่วงสอบปลายภาค เน้นย้ำอนามัยส่วนบุคคล ผู้ปรุงอาหาร ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” เป็นสำคัญ

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วงที่เกิดในสถานศึกษาขณะนี้ สาเหตุจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ และเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน ทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย จึงเกิดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน เกิดอาการท้องเสียในกลุ่มเด็กนักเรียนในทุกระดับชั้น โดยนายกรัฐมนตรีได้กำชับกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้สถานศึกษาปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำอนามัยส่วนบุคคล ผู้ปรุงอาหาร ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” เพื่อช่วยป้องกันโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงได้

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอนุชา กล่าวว่า ตามรายงานสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในประเทศไทยของกรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 10,755 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 0-4 ปี 15-24 ปี และ 25-34 ปี โดยโรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือการปนเปื้อนสารพิษต่าง ๆ เป็นต้น แต่สาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยครั้งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รองลงมาคือไวรัส นอกนั้นพบได้บ้างประปราย ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของโรคอาหารเป็นพิษส่วนใหญ่มักเกิดในสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มรับประทานอาหาร เช่น ในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถานเลี้ยงเด็ก กิจกรรมเข้าค่าย กิจกรรมทัศนศึกษา ดังนั้น กรมควบคุมโรคจึงขอเน้นย้ำให้มีการใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพิษที่ผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาทุกระดับนำไปปฏิบัติได้ ดังนี้

1. จัดระบบโรงอาหารในโรงเรียน ให้ผู้ประกอบการดำเนินตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัด 2. มีการตรวจรับนมโรงเรียนตามเกณฑ์ คำนึงถึงความปลอดภัยในการเก็บรักษานมอย่างถูกวิธี ให้มีคุณภาพดีก่อนแจกจ่าย 3. มีการควบคุมดูแลผู้ทำหน้าที่ในการปรุงประกอบอาหาร หรือสัมผัสกับอาหารต้องยึดหลักสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล 4. ผู้ปรุงประกอบอาหารควรเลือกใช้วัตถุดิบจากร้านค้าที่สะอาดได้มาตรฐาน 5. วัตถุดิบและอุปกรณ์ปรุงประกอบอาหาร ต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาใช้งาน 6. ปรุงอาหารด้วยความร้อนให้ทั่วถึง 7. เมื่อปรุงอาหารเสร็จแล้วต้องเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด 8. อาหารที่ใส่กล่องไม่ควรราดบนข้าวโดยตรง ควรแยกบรรจุกับข้าวในถุงพลาสติกต่างหาก และ 9. สถานศึกษาควรมีความพร้อมในการดูแลรักษาเบื้องต้น ทั้งการประสานส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจนความพร้อมในการสื่อสารความเสี่ยงเมื่อพบนักเรียนป่วย หรือเกิดเหตุการณ์ระบาดในโรงเรียนเพื่อลดผลกระทบหรือความรุนแรงจากโรคอาหารเป็นพิษ

 

นายอนุชา กล่าวว่า ตามรายงานสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในประเทศไทยของกรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 10,755 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 0-4 ปี 15-24 ปี และ 25-34 ปี โดยโรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือการปนเปื้อนสารพิษต่าง ๆ เป็นต้น แต่สาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยครั้งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รองลงมาคือไวรัส นอกนั้นพบได้บ้างประปราย ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของโรคอาหารเป็นพิษส่วนใหญ่มักเกิดในสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มรับประทานอาหาร เช่น ในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถานเลี้ยงเด็ก กิจกรรมเข้าค่าย กิจกรรมทัศนศึกษา ดังนั้น กรมควบคุมโรคจึงขอเน้นย้ำให้มีการใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพิษที่ผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาทุกระดับนำไปปฏิบัติได้ ดังนี้

1. จัดระบบโรงอาหารในโรงเรียน ให้ผู้ประกอบการดำเนินตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัด 2. มีการตรวจรับนมโรงเรียนตามเกณฑ์ คำนึงถึงความปลอดภัยในการเก็บรักษานมอย่างถูกวิธี ให้มีคุณภาพดีก่อนแจกจ่าย 3. มีการควบคุมดูแลผู้ทำหน้าที่ในการปรุงประกอบอาหาร หรือสัมผัสกับอาหารต้องยึดหลักสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล 4. ผู้ปรุงประกอบอาหารควรเลือกใช้วัตถุดิบจากร้านค้าที่สะอาดได้มาตรฐาน 5. วัตถุดิบและอุปกรณ์ปรุงประกอบอาหาร ต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาใช้งาน 6. ปรุงอาหารด้วยความร้อนให้ทั่วถึง 7. เมื่อปรุงอาหารเสร็จแล้วต้องเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด 8. อาหารที่ใส่กล่องไม่ควรราดบนข้าวโดยตรง ควรแยกบรรจุกับข้าวในถุงพลาสติกต่างหาก และ 9. สถานศึกษาควรมีความพร้อมในการดูแลรักษาเบื้องต้น ทั้งการประสานส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจนความพร้อมในการสื่อสารความเสี่ยงเมื่อพบนักเรียนป่วย หรือเกิดเหตุการณ์ระบาดในโรงเรียนเพื่อลดผลกระทบหรือความรุนแรงจากโรคอาหารเป็นพิษ

“นายกรัฐมนตรีติดตามและห่วงใยสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน เพราะประเทศไทยในช่วงนี้อาจมีสภาวะอากาศสำหรับโรคอาหารเป็นพิษ ประกอบกับเป็นช่วงการสอบปลายภาคของนักเรียนทุกระดับชั้น นายกรัฐมนตรีจึงขอให้ทุกสถานศึกษาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียนเป็นพิเศษ เฝ้าระวังป้องกันไม่ให้นักเรียนป่วยในช่วงสอบปลายภาค โดยยึดหลัก ‘สุก ร้อน สะอาด’ เน้นในส่วนของนมโรงเรียน ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามชนิดของนม ตรวจสอบวันหมดอายุ สุ่มตรวจสอบคุณภาพนม สี กลิ่น รส ไม่ผิดปกติ และไม่เป็นตะกอน ก่อนให้เด็กดื่ม และย้ำหลักการอาหารปลอดภัย ที่ผู้ปรุงอาหาร ประกอบอาหาร และผู้สัมผัสกับอาหารในทุกขั้นตอน ต้องดูแลความสะอาด ใส่ใจอนามัยส่วนบุคคล รวมทั้งให้เด็ก ๆ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อช่วยช่วยลดปัญหา ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงได้” นายอนุชากล่าว

นอกจากนี้ ควบคุมโรคคาดว่าจะพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษสูงต่อเนื่อง เนื่องจากมักพบจำนวนผู้ป่วยสูงในช่วงต้นปี ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกันเกือบทุกปี ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำหรือมีมูกเลือด ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ คอแห้งกระหายน้ำ และอาจมีไข้ได้ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางอุจจาระและอาเจียน ส่วนใหญ่มักเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ในกลุ่มคนที่มีการรับประทานอาหารและน้ำร่วมกัน โดยการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษในเบื้องต้น ควรให้จิบน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น ยังมีอาการถ่ายเหลวต่อเนื่องหรืออุจจาระเป็นมูกปนเลือด ให้รีบส่งตัวไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แนะยุบ กกต.ทิ้ง เทพไท แฉ เลือกตั้ง อบจ.เมืองคอนซื้อเสียงเปิด เผย โวย กกต.นั่งดูตาปริบๆ แนะยุบทิ้งดีกว่ามั้ย
"เชน ธนา" พาสื่อทัวร์โกดัง ยันสินค้าอยู่ครบ ไม่ได้แอบขายเอาเงินไปใช้ตามข่าว ย้ำชัดไม่ได้โกงคู่กรณี
ตร.จ่อเรียก “เอก สายไหมฯ” สอบอีกครั้ง หลังให้การขัดแย้งพยาน
"สปป.ลาว" ออกแถลงการณ์ "เสียใจสุดซึ้ง" ปม นทท.เสียชีวิตดื่มเหล้าเถื่อน ยันเร่งนำตัวคนร้ายมาลงโทษ
บุกจับ ! พ่อค้ายากระโดดระเบียง สูงกว่า 2.5 เมตร หนี คิดว่าจะหนีรอด เพราะ ปลัดหน้าไม่โหด
ไฟไหม้ ! ร้านกาแฟวอดหมดทั้งหลัง เจ้าหน้าที่คาดสาเหตุเบื้องต้นเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรมูลค่าความเสียหายกว่า 700,000 บาท
ทั้งเจ็บ ทั้งจำ หนุ่ม เบญจเพสซวยสองเด้ง ถูกวัยรุ่นทำร้าย ถูกจับพกยาไอซ์ซ้ำ
หนุ่มจิตเวชคลั่ง จุดไฟ-ถือมีดขู่ชาวบ้าน ตำรวจกู้ภัยระงับเหตุทันควัน
ดุเดือดทิ้งทวน.. 2 ตัวเต็งผู้สมัครนายก อบจ.เมืองคอน เปิดเวทีประชันปราศรัยหาเสียงห่างกันแค่ 300 เมตร คนนับหมื่นแห่ลุ้นเชียร์ทั้งสองฝ่าย -"เทพไท"ออกโรงแฉวงจรอุบาทว์จดชื่อซื้อเสียงรายหัว- ชี้หาฝ่ายชื่อเสียงชนะเลือกตั้ง สรุปว่า"กระสุนชนะกระแส" /จวกยับ กกต.มีไว้ทำไม
"ประเสริฐ" ยัน แจกเงิน 10,000 เฟส 2 ไม่หวังผลการเมืองอบจ. แย้มเฟส 3 ระบบแอปฯทางรัฐ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น