“ดร.สามารถ” เปิด “5 เสาหลัก อนาคตพลังงานไทย” พร้อมดัน “สุดยอดเทคโนโลยีพลังงาน”

"ดร.สามารถ" เปิด “5 เสาหลัก อนาคตพลังงานไทย” พร้อมดัน “สุดยอดเทคโนโลยีพลังงาน”

วันที่ 28 ก.พ. 66 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นโชว์วิสัยทัศน์ “5 เสาหลัก อนาคตพลังงานไทย” พร้อมผลักดัน “สุดยอดเทคโนโลยีพลังงาน” ในวงเสวนา “พรรคการเมืองตอบประชาชน อนาคตพลังงานไทย” ซึ่งจัดโดยเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

โดย ดร.สามารถ ระบุว่า เมื่อพูดถึงพลังงาน จำเป็นต้องพูดให้ครบทุกด้าน เพราะแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน ดังนั้นจะได้พูดถึง 5 เสาหลักของพลังงาน ซึ่งประกอบด้วย ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน พลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน โดยพรรคประชาธิปัตย์มีแนวนโยบายด้านพลังงานทั้ง 5 เสาหลัก ดังนี้

เสาหลักที่ 1 : ไฟฟ้า

1. สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. ส่งเสริมการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าทันสมัย (Grid Modernization) โดยบริหารจัดการไฟฟ้าด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ซึ่งนำเทคโนโลยีหลากหลายประเภทมาทำงานร่วมกันได้อย่างชาญฉลาด มีความสามารถมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน หรือที่เรียกว่า “เทคโนโลยี CCUS” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้ในทางอุตสาหกรรม หรือเก็บไว้ใต้พื้นดิน ไม่ปล่อยเป็นมลภาวะออกสู่บรรยากาศ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เสาหลักที่ 2 : ก๊าซธรรมชาติ

ส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโรงงานหนาแน่น เพื่อลดการปล่อยมลพิษ

เสาหลักที่ 3 : น้ำมัน

ส่งเสริมการเปลี่ยนการใช้น้ำมันมาใช้ไฟฟ้าในภาคขนส่ง เช่น ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นต้น เพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เสาหลักที่ 4 : พลังงานทดแทน

1. สนับสนุนพลังงานทดแทนเพื่อการขนส่ง
(1) สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีจุดชาร์จไฟสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าอย่างกว้างขวาง
(2) ส่งเสริมให้รถราชการและรถโดยสารสาธารณะใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดมลพิษทางอากาศ

2. ส่งเสริมการใช้การใช้พลังงานทดแทนในโรงงาน และนิคมอุตสาหกรรม
3. สนับสนุนการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน เช่น ระบบการผลิต ระบบกักเก็บพลังงาน เป็นต้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตพลังงานทดแทน
4. ส่งเสริมให้ชุมชน ครัวเรือนเป็นผู้ผลิตและบริหารจัดการพลังงาน ด้วยทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น เช่น ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากพลังงานชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ เป็นต้น

 

เสาหลักที่ 5 : การอนุรักษ์พลังงาน

1. ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แอปพลิเคชันบริหารจัดการเครื่องปรับอากาศอัจฉริยะผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น เนื่องจากค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศในสำนักงานต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีสัดส่วนสูงถึง 70-80% ของค่าไฟฟ้าทั้งหมด แอปนี้จะช่วยลดค่าใช้ไฟฟ้าในสถานที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดีกว่าใช้คนคอยเปิด-ปิดด้วยรีโมท แอปนี้สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศได้ไม่จำกัดจำนวน ปรับอุณหภูมิ บันทึกประวัติการใช้งาน ตรวจสอบและติดตามการใช้งานแบบเรียลไทม์
2. สนับสนุนนวัตกรรมการออกแบบและก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. บรรจุหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานในสถานศึกษา
4. ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และภาคประชาชนในการอนุรักษ์พลังงาน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ญี่ปุ่นเสนอร่วมโครงการวางท่อก๊าซกับสหรัฐ
มาเลเซียเรียกร้องอาเซียนผนีกกำลังต้านภาษีทรัมป์
โดนหนักแน่ “เอกนัฏ” จ่อฟัน “ซินเคอหยวน” เป็นคดีพิเศษเพิ่ม ลุยสอบซุกฝุ่นแดงมหาศาล
ทรัมป์พร้อมเจรจานานาชาติปมภาษีตอบโต้
สิงคโปร์ส่งแมลงสาบไซบอร์กกู้ภัยแผ่นดินไหวเมียนมา
UNEX EV เปิดตัว'ระบบสลับแบตเตอรี่'ในไทยใช้เวลา 3 นาที
นักวิชาการแนะนำเข้าเนื้อหมูสหรัฐ ควรพิจารณารอบด้าน หวั่นเจอผลกระทบระยาว ย้ำไทยมีการเลี้ยงได้มาตรฐานสากล
จับตา "ทรัมป์" พร้อมเจรจานานาชาติปมภาษีนำเข้า หลังตลาดหุ้นสหรัฐและทั่วโลกดิ่งต่อเนื่อง
"หนุ่มไฮโซเก๊" เครียดหนักโดนแฉ หลอก "คะน้า" ดาราดัง โดดระเบียงชั้น 3 ตกลงมาเจ็บหนัก นำตัวส่งรพ.
"ทูตแรงงานเมียนมา" เยี่ยมศูนย์พักผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม เร่งตรวจสอบเยียวยา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น