ชวนชม “ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี” ช่วงหัวค่ำวันนี้-3 มี.ค.นี้

ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม, ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์, วัตถุท้องฟ้า, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเคราะห์

อย่าพลาดชม "ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี" ต้อนรับเดือนมีนาคม ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำของวันนี้-3 มี.ค.นี้ ดูได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เชิญชวนประชาชน อย่าพลาดชม! “ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี” ต้อนรับเดือนมีนาคม ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำของวันนี้-3 มี.ค.นี้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ อัปเดตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต้อนรับเดือนมีนาคม ชวนสายดูดาวชมปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม “ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี” วันนี้-3 มีนาคมนี้ ทางทิศตะวันตก

ผู้สนใจสามารถชมความสวยงามของวัตถุท้องฟ้าดังกล่าวได้ ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณ 2 ทุ่ม สว่างเด่นสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย โดยระบุว่า

 

ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม, ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์, วัตถุท้องฟ้า, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเคราะห์

 

ช่วงวันที่ 1- 3 มีนาคม 2566 จะเกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม ดาวศุกร์ปรากฏเคียง ดาวพฤหัสบดี ทางทิศตะวันตกบริเวณกลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นต้นไป จนถึงเวลาประมาณ 20.00 น. สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

  • วันที่ 1 มีนาคม 2566 : ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏอยู่เหนือดาวศุกร์ ห่างประมาณ 0.8 องศา
  • วันที่ 2 มีนาคม 2566 : ดาวศุกร์จะเปลี่ยนตำแหน่งมาปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดี ห่างกันประมาณ 0.6 องศา
  • วันที่ 3 มีนาคม 2566 : ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่เหนือดาวพฤหัสบดี ห่างกันประมาณ 1.4 องศา และค่อย ๆ ทำมุมห่างออกจากกันมากขึ้นหลังจากนี้

 

ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม, ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์, วัตถุท้องฟ้า, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเคราะห์

ผู้สนใจชมปรากฏการณ์ดังกล่าว สามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองมีความสว่างโดดเด่นมากบนท้องฟ้าในช่วงหัวค่ำ

ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม คืออะไร

  • ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุมไม่เกิน 5 องศา (การวัดระยะเชิงมุมบนท้องฟ้า ชูนิ้วก้อยเหยียดแขนให้สุดขึ้นบนท้องฟ้า ระยะ 1 องศา จะห่างกันประมาณ 1 นิ้วก้อย)

 

ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม, ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์, วัตถุท้องฟ้า, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเคราะห์

 

  • ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจาก ดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อย ๆ ตามแนวสุริยะวิถี

ดังนั้น การที่ดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

 

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รมว.สุดาวรรณ" เปิดงานสืบสานประเพณี แห่พระคันธารราฐ ลอดซุ้มประตูเมือง "มหาสงกรานต์โคราช" มรดกไทย มรดกโลก ตั้งเป้าดึงนทท.ไทย-ต่างชาติ สร้างรายได้ชุมชน
“อนุทิน” กำชับปภ.-ผู้ว่าฯ กระบี่ เกาะติดแผ่นดินไหว ยืนยันไม่กระทบบ้านเรือนปชช. สนามบินเปิดให้บริการปกติ
"ปภ.กระบี่" เร่งตรวจสอบสถานที่สำคัญ-บ้านเรือนปชช. หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
เพจมิตรเอิร์ธ ยืนยัน "แผ่นดินไหวกระบี่" ไม่ทำให้เกิดสึนามิ แต่ต้องโพรง-ถ้ำหินปูนใต้ดินทรุดตัว เตือนปชช.เฝ้าระวัง
เปิดนาที แผ่นดินไหว เขย่ากระบี่ ขนาด 3.5 รับรู้ได้แรงสั่นสะเทือนถึงตึกศาลากลาง
เชียงใหม่คึกคัก! "ปชช.-นทท." เนืองแน่นเล่นสาดน้ำสนุกสนาน รอบคูเมืองรถติดตลอดสาย
เอาจริง ตำรวจจราจร สน.ชนะสงคราม จับรถบรรทุกน้ำเล่นสงกรานต์ แจ้ง 3 ข้อหาเอาผิด
ตร.เตือนเข้ม “เมาแล้วขับ” ถูกจับซ้ำ รับโทษสูงขึ้น ยอดจับกุมช่วงสงกรานต์พุ่ง 11,801 ราย
"ปราชญ์ สามสี" กระตุกเสียงวิจารณ์ รทสช. หนุนเป็นพรรคร่วมฯ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในรัฐบาล
พินาศกลางดึก! “อิสราเอล” สาดขีปนาวุธถล่ม รพ.กาซา จนท.อพยพคนไข้วุ่น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น