สงครามครั้งสุดท้าย “ชวน หลีกภัย”

เจาะเบื้องลึกผลโพลความนิยม "จุรินทร์" สวนทางกระแสพรรคประชาธิปัตย์ที่ดีวันดีคืน พร้อมบทพิสูจน์ "ชวน หลีกภัย" กับการเป็นเสาหลักนำทัพประชาธิปัตย์ที่อาจเป็นสงครามครั้งสุดท้ายหรือไม่ ย้อนเส้นทางการเมืองกว่า 50 ปี นายหัวชวนผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของหัวหน้าพรรคค่ายสีฟ้า

การเมืองภายในประชาธิปัตย์ในช่วงก่อนการลือกตั้งเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองชนิดห้ามกระพริบตา โดยเฉพาะประเด็นจุดขายในเรื่องความนิยมของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคที่ดูจะเป็นรองบรรดาแคนดิเดดนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองต่าง ๆ อยู่พอสมควร ทั้งที่ความจริงนายจุรินทร์ เป็นคนมุ่งมั่นทำงานมีความสามารถรู้ความสามารถระดับสูงที่พรรคประชาธิปัตย์วางใจให้ถือธงนำในตำแหน่งหัวหน้าพรรค พร้อมการันตีด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีหลายสมัย

ล่าสุดนิด้าโพลเปิดเผยผลสำรวจของพี่น้องชาวจังหวัดสงขลาถึงบุคคลที่คนสงขลาจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้พบว่า นายจุรินทร์ หล่นไปอยู่อันดับ 6 โดยอันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 2 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย ) อันดับ 3 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อันดับ 4 (ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้) และอันดับ 5 นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

ขณะที่พรรคการเมืองที่คนสงขลามีแนวโน้มจะเลือกเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย ส่วนพรรคการเมืองที่คนสงขลามีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย

เมื่อย้อนผลโพลนิด้าของคนเมืองคอนโดยบุคคลที่คนนครศรีธรรมราชให้เป็นนายกรัฐมนตรีพบว่า นายจุรินทร์ อยู่ในอันดับ 5 โดย อันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ อันดับ 2 น.ส.แพทองธาร อันดับ 3 ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 4 นายพิธา

สำหรับพรรคการเมืองที่คนนครศรีธรรมราชมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจ ส่วนพรรคการเมืองที่คนนครศรีธรรมราชมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพบว่า อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจ

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คะแนนนิยมส่วนตัวของนายจุรินทร์ยังไม่ค่อยเข้าตาพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะการสำรวจความนิยมจากโพลค่ายต่าง ๆ ยิ่งพบว่า ความนิยมส่วนตัวของนายจุรินท์สวนทางกับความนิยมในตัวพรรคประชาธิปัตย์ที่พุ่งสูงอย่างสิ้นเชิง

ความนิยมของนายจุรินทร์สร้างความแปลกใจกับ “นายชวน หลีกภัย” ถึงขนาดตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใดนายจุรินทร์ไม่ได้รับควมนิยมจากผลสำรวจของโพลค่ายต่าง ๆ

“ในความเห็นผมนายจุรินทร์ ซึ่งเคยเป็นเลขาฯ ผมมาก่อน เป็นคนเก่งคนหนึ่งแต่ผมแปลกใจว่าเวลามีการหยั่งเสียง และผลโพลที่ออกมา ทำไมนายจุรินทร์ จึงอยู่ในลำดับท้ายๆ แม้ตอนนี้จะขยับขึ้นมาหน่อย ดังนั้นเมื่อมาถึงจุดนี้เราต้องมาช่วยกัน เมื่อมีการยุบสภาแล้วผมจะช่วยเต็มที่” นายชวน กล่าว

น่าสนใจยิ่งนักกับความเคลือบแคลงของนายชวนต่อกระแสความนิยมของนายจุรินทร์ เพราะในเส้นทางการเมืองกว่า 30 ปี ของนายจุรินทร์เติบโตมาอย่างแข็งแรงได้ดีเป็นหัวหน้าพรรคได้แรงส่งจากชายชื่อชวน หลีกภัย มาตั้งแต่แรกเริ่มโดยในปี 2531 นายชวนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุขก็มีนายจุรินทร์นั่งเป็นเลขารัฐมนตรี

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมาปี 35 นายชวนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนายจุรินทร์ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จากนั้นปี 2540 นายชวนดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สอง นายจุรินทร์ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

กว่า 5 ทศวรรษที่ผ่านมานายชวน ถือเป็นผู้มีบทบาทอย่างสูงในประชาธิปัตย์ และถือเป็นบุคคลที่ยึดมั่นในหลักการเหนือสิ่งอื่นใด และหากใครยังจำกันได้นายชวนเคยให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญก่อนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 51 ว่า ช่วงที่พลังประชาชนถูกยุบพรรค นายเนวิน ชิดชอบ พาส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินออกจากพรรพลังประชาชนมาสนับสนุนประชาธิปัตย์ เพื่อรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล โดนตอนนั้นนายเนวิน และพรรคการเมืองต่างๆ ตั้งเงื่อนไขให้นายชวนต้องเป็นนายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่นายชวนปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงว่า “ใครเป็นหัวหน้าพรรคต้องเป็นนายกรัฐมนตรี”

“ตอนที่คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ คุณเนวินมาหนุน คนเหล่านั้นมีเงื่อนไขกับเราว่าให้คุณชวนเป็นนายกฯ ทำให้ต้องประชุมต่างหากมีคุณสุเทพ คุณบัญญัติ คุณนิพนธ์ เชิญผมไปด้วย ทุกท่านเล่าความจริงว่า จะตั้งรัฐบาลร่วมกัน มีข้อแม้ว่า คุณชวนต้องเป็นนายกฯ ผมเลยบอกว่าถ้าอย่างงั้นไม่ต้องเสียเวลามาก ใครเป็นหัวหน้าพรรค คนนั้นคือนายกฯ ให้บอกว่าผมปฏิเสธ”

นี่คือหนึ่งในวลีเด็ดในอีกหลากหลายเรื่องราวสำหรับนายชวนที่ยึดถือหลักการมากกว่าชีวิต ซึ่งคำปฏิเสธในครานั้นส่งผลให้นายอภิสิทธิ์ ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีที่ 27 ในทันที

บทบาทการเมืองภายในพรรคประชาธิปัตย์นายชวน และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคถือว่ามีบทบาทอย่างสูง และอาจกล่าวได้ว่าการเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนที่ 8 ของนายจุรินทร์ได้แรงส่งจากนายชวน นายบัญญัติ และนายอภิสิทธิ์ที่คอยผลักดันอยู่ในเบื้องลึก

ทั้งนี้การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในวันที่ 15 พฤษภาคม ปี 2562 พรรคประชาธิปัตย์จัดประชุมใหญ่เพื่อให้ ส.ส. และสมาชิกพรรคเลือกหัวหน้าพรรค ประกอบไปด้วย 1.นายกรณ์ จาติกวณิช, 2.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 3.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ 4.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการต่อสู้กันอย่างหนักระหว่างนายจุรินทร์ นายกรณ์ และนายพีระพันธุ์ ซึ่งตอนนั้นมีข่าวว่า กลุ่มของนายอภิสิทธิ์ ผลักดันนายกรณ์ให้เป็นหัวหน้าพรรค ส่วนนายจุรินทร์มีแรงหนุนจากนายชวน และนายบัญญัติ แต่ในช่วงสุดท้ายกลุ่มนายอภิสิทธ์พลิกขั้วหันไปสนับสนุนนายจุรินทร์ ส่งผลให้นายจุรินทร์ชนะคู่แข่งขาดลอยด้วยคะแนน 160 เสียง

 

อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งครั้งนั้นกล่าวกันว่าเหตุที่นายอภิสิทธิ์พลิกขั้วไปสนับสนุนนายจุรินทร์เป็นเพราะกำลังภายในของนายชวน และนายบรรญัติที่หนุนนายจุรินทร์อย่างเต็มตัว และที่สำคัญเหตุการณ์ครั้งทำให้ความสัมพันธ์ของนายกรณ์และนายอภิสิทธิ์แทบจะกลายเป็นเส้นขนานจนถึงวันนี้

สำหรับนายชวน หลีกภัย เป็น ส.ส.มาถึง 16 สมัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงสองสมัย และเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงต่าง ๆ มากมาย โดยตลอดชีวิตเส้นทางการเมืองกว่า 50 ปี นายชวนถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ล่อเลี้ยงประชาธิปัตย์ทั้งในยามสุข และทุกข์ และในภาวะที่ประชาธิปัตย์อยู่ในยุคที่ตกต่ำประสบปัญหาเลือดไหลไม่หยุด ในฐานะผู้อาวุโสที่เป็นเสาหลักจึงจำเป็นต้องฝืนสังขารมาร่วมกอบกู้พรรคให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง โดยยืนยันว่าหลังการยุบสภาจะช่วยนายจุรินทร์ และส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ลงพื้นที่หาเสียงอย่างเต็มที่ แม้ก่อนหน้านี้นายชวนคิดจะวางมือทางการเมือง

“ผมมาเป็นหัวหน้าพรรคได้ไม่ได้ร่ำรวยอะไร แต่ระบบพรรคประชาธิปัตย์ที่ยอมรับเสียงข้างมากว่า คนไหนเหมาะสม ผมใช้เวลาพิสูจน์ 22 ปี ก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นหัวหน้าพรรคได้ เมื่อชนะเลือกตั้ง ผมได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้จ่ายเงินสักบาท บุญคุณเหล่านี้ ในชีวิตนี้ใช้ไม่หมด การที่มาจากเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงิน บุญคุณที่มีกับชาวบ้านในชีวิตนี้ก็ใช้ไม่หมด ผมจึงคิดว่าในช่วงปลายของชีวิตผม จะเดินทางไปเยี่ยมเพื่อขอบคุณคนที่เคยช่วยเหลือผมที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อเป็นการตอบแทนผ่านการทำงานอย่างซื่อสัตย์ และสุจริต ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คนในพรรคต้องระลึกว่า คุณได้อะไรไปจากพรรคบ้าง ”

บทพิสูจน์จากคำประกาศของนายชวนจะนำพาประชาธิปัตย์ไปในทิศทางใดคงต้องมาดูกัน ภาพนายชวนถือกลองสะบัดชัยเปรียบเสมือนการประกาศความพร้อมในการนำพลพรรคประชาธิปัตย์ลงสู่สนามลือกตั้ง และนี่อาจสงครามครั้งสุดท้ายของชายชื่อ “ชวน หลีกภัย” ก็เป็นไปได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดช้ำ หลังคำพิพากษาศาลฎีกา พ่อแม่ น้องหลิว 8 ปี ที่รอคอย โอดครวญ คงตายก่อนเยียวยา ไม่เคยได้รับการเยียวยา จากจำเลย หลังศาลฎีกา ตัดสิน จำคุกจำเลย ตลอดชีวิต คดี ผอ.โรงเรียน ฆาตกรรมลูกสาว สาวโรงงาน
พ่อเลี้ยงหื่น! มอมเหล้าลูกเลี้ยง วัย 16 ปี จนขาดสติก่อน ลวนลาม ขณะแม่อยู่ด้วยก็ไม่เว้น เครียดหนักเคยคิดสั้นฆ่าตัวตาย สุดอึ้ง!! เอาเรื่องไปบอกแม่ กลับไม่เชื่อ
พล.ต.ท.ธนายุตม์ ยื่นสำนวนคดี “แอม ไซยาไนด์” ให้อัยการด้วยตัวเอง 14 รายการ
ราชกิจจาฯเผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้ชื่อใหม่ "เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี"
“แม่สามารถ” เครียดจัด ผูกคอคาห้องขังดีเอสไอ จนท.ช่วยระทึก ห่วงลูกจะอดข้าวประท้วง ขอความเป็นธรรม
เคราะห์ร้าย ! หนุ่มวัย 18 ปี ขี่จยย. ถูกกันสาดหล่นใส่หัวเจ็บสาหัส
ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น